23 ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย



หลายๆท่านอาจไม่รู้จักชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งหลังๆมานี้จะมีพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองประเทศไทยมารวมตัวกันมากขึ้น แต่ก่อนหน้าที่ยังไม่ได้เริ่มปีแห่งการจัดการงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 เข้าใจว่า พวกเรารู้จักชนเผ่าไม่กี่กลุ่ม ทีู่่รู้ๆกัน มี ม้ง อ่าข่า ลาหู่ ลีซู เมี่ยน ปวาเกอญอ คะฉิ่น ลัวะ ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าทางภาคเหนือ

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับชนเผ่า 23 ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย

1. ปวาเกอญอ ( ผมชอบเรียกชื่อนี้มากกว่า คำว่า กะเหรี่ยง)
2. ม้ง
3. ลาหู่ (บางที่เขียน ละหู่ แต่ผมว่า คำว่า ลาหู่ ดูดีกว่า)
4. ลีซู
5. อาข่า
6. เมี่ยน ( เพื่อนๆเมี่ยนที่ผมได้เจอ มักจะเรียกตนเองว่า อิ่วเมี่ยน iu-mien)
7. ลัวะ
8. ดาราอาง
9. ขมุ
10. คะฉิ่น
11. บีซู
12. มลาบรี
13. ไทยทรงดำ
14. มอญ
15. ชอง
16. ญัฮกุร
17. โส้
18. กูย
19. แสก
20. ภูไท
21. มอแกน
22. มอแกลน ( คนละเผ่าจากข้อ 21 นะคับ)
23. อุรักละโว้ย

สังเกตเห็นว่า มีหลากหลายชนเผ่าที่หลายๆท่านยังไม่ได้ยินชื่อมาก่อน ผมเองก็ไม่เคยได้ยินชื่อ หรือรู้จักมาก่อนครึ่งหนึ่งของชนเผ่าที่ว่ามานี้ เดี่ยววันหลังผมจะค่อยๆทยอยลงประวัติย่อๆของแต่ละชนเผ่าให้

ปัญหาของพี่น้องชนเผ่ากับการจัดการศึกษาของรัฐ

ปัญหาพี่น้องชนเผ่าืพื้นเมือง
7 ก.ย. 50 ที่หอประชุมอาคารรวมและบัณฑิตศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีกิจกรรมเสวนาเนื่องในงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “การ พัฒนาระบบการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์” โดย มีนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และพี่น้องชนเผ่าเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเสวนา


ความหลากหลายทางภาษาถูกลด ทอน


นหัว ข้อ “สถานการณ์ ทางภาษาไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์” ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้นำการอภิปราย โดย ศ.ดร.สุวิไล ได้บรรยายถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมาทางด้านภาษาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์ในประเทศไทย ที่มีความสัมพันธ์เชิงเชื้อสายหรือตระกูลภาษา โดยประเทศไทยนั้นแบ่งเป็นตระกูลใหญ่ๆ ได้ถึง 5 ตระกูล ได้แก่ตระกูลไท (24) กลุ่ม, ตระกูลออสโตรเอเชียติก (23 กลุ่ม), ตระกูลออสโตรเนเซียน (3 กลุ่ม), ตระกูลจีน-ธิเบต (21 กลุ่ม), และตระกูลม้ง-เมี่ยน (2 กลุ่ม)



ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงทาง นิเวศวิทยาได้สร้างสภาวะวิกฤตของภาษาแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ โดยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ล้วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากโลกาภิวัตน์ ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งมีอิทธิพลจากโลกตะวันตกเข้ามาครอบงำสังคมไทย และเข้าไปแทรกซึมครอบงำสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่สำคัญคือนโยบายการศึกษา ที่ใช้เฉพาะภาษาเดียวคือภาษาราชการเป็นสื่อการเรียนการสอน
ทำให้ภาษาท้องถิ่นหมดความหมายและคนรุ่นใหม่ไม่เห็นประโยชน์ของภาษาท้องถิ่น ตน รวมถึงสื่อสารมวลชนที่มีแต่การนำเสนอข้อมูลข่าวสารและบันเทิงคดีต่างๆ โดยใช้ภาษาราชการภาษาเดียว สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนดให้เกิดสภาวะการดำรงชีวิตแบบใหม่ของกลุ่ม ชาติพันธุ์ ที่คนต้องมุ่งหาโอกาสในการทำงาน, การทำงานตามแหล่งนอกชุมชน ซึ่งทำให้เกิดภาวการณ์ถดถอยในการใช้ภาษาชาติพันธุ์


โดย ศ.ดร.สุวิไล ได้กล่าวแสดงความเป็นห่วงถึงการตายไปของภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เนื่องด้วยเหตุผลที่กล่าวขั้นต้นทำให้คนรุ่นใหม่มองข้ามภาษาถิ่นของตนเอง ทั้งนี้ การจะทำให้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ไม่สูญหายไปจะต้องมีการให้เกียรติภาษานั้นๆ การยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของกลุ่มเจ้าของภาษา มีการยอมรับภาษานั้นในทางกฎหมาย เก็บบันทึกอย่างเป็นระบบ อยู่ในระบบสื่อสารต่างๆ รวมถึงให้จัดอยู่ในการศึกษา


รัฐไทยและการจัดการศึกษา ส่งผลต่อวัฒนธรรมชนเผ่า

ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำอภิปรายในหัวข้อ “การจัดการศึกษาในระบบและผลที่มีต่อ ภาษาชาติพันธุ์”


ดร.ประสิทธิ์ ได้ชี้ให้เห็นถึงอำนาจของการผูกขาดจากส่วนกลางที่ได้พยายามแผ่ขยายไปทำลาย วัฒนธรรมท้องถิ่นในประเทศไทย โดยยัดเยียดวัฒนธรรมไทยกรุงเทพฯ เข้าไปแทนที่ โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือ ทั้ง นี้ในความหมายของการศึกษาในปัจจุบันนั้นนอกจากที่จะเป็นการเปิดโอกาสทางความ รู้ให้กลุ่มคนส่วนใหญ่ และการยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นแล้ว ในอีกแง่หนึ่งนั้นการศึกษาก็เหมือนกับให้มนุษย์คนหนึ่งกลายเป็นทุน

เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

เครือข่ายชนเผ่าืพื้นเมือง
เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (Network of indigenous Peoples in Thailand : NIPT)

ชนเผ่าพื้นเมือง คือ กลุ่มชนที่มีจำนวนประชากรขนาดเล็ก มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ผูกพันและใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างแนบแน่น เน้นระบบการผลิต การตั้งถิ่นฐานและการใช้ทรัพยากรเพื่อการยังชีพเป็นหลัก มีระบบการขัดเกลาทางสังคมและได้บ่มเพาะจนกลายเป็นอัตลักษณ์ วัฒนธรรมและแแบบแผนการดำเนิชีวิตของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ผลพวงจากนโยบาย ความเป็นหนึ่งเดียวทั้งโลกของกระแสการพัฒนาเรศฐกิจของโลก มีผลทำให้วัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองเริ่มสูญสลายตัวตนและอัตลักษณ์

นอกจากเป็นการลดทอนความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศ ยังเ็ป็นการลดทอนปััจจัยพื้นฐานการผลิดในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าชนเผ่าพื้นเมืองจะมิได้สำเหนียกต่อมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากมรดกภูิมิปัญญาของแต่ละชนเผ่าแต่ชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ ยังคงตระหนักถึงคุณค่าของมรดกภูิมิปัญญา วัฒนธรรมของชนเผ่าตนและพยายามสมบสานวัฒนธรรมของตนให้ยังคงอัตลักษณ์ ศักดิ์ศรี และความภาคภูิมิใจไว้ให้ลูกหลานของชนเผ่าสืบไป

ในปี 2550 ด้วยความพยายามของเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มต่างๆในประเทศไทย เช่น ปวาเกอญอ ขมุ คะฉิ่น ชอง ดาราอ้าง ม้ง มบีซู มลาบรี มอแกน มอแกลน มอญ เมี่ยน ญัฮกุร ลาหู่ ลีซู ลัวะ อ่าข่า อุรักละโว้ ฯลฯ ได้ประกาศจัดตั้ง "เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)" และประกาศ "วันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย" ขึ้นอย่างเป็นทางการและร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานภาครัฐที่ทำงานเกี่ยวข้องได้จัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 5-11 กันยายน 2550

การจัดงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสำนักกิจการชาติพันธุ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หลังจากนั้นได้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมืองในแต่ละปีและจัดเวทีสาธารณะมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

บทบาทของ“สื่อ” กับวิถีชีวิตเด็กชนเผ่า

สื่อกับวิถีชีวิตเด็กชนเผ่า
ผลจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ที่ต้องการให้ทุกๆ ชุมชน ทุกๆ พื้นที่ในชนบท รวมถึงชุมชนบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นที่อยู่ของกลุ่มคนชนเผ่า พื้นเมือง ได้มีสาธารณูปโภคครบ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำประปา หรือโทรศัพท์ ทำ ให้ความเจริญได้เข้าถึงชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างรวดเร็ว

ผลจากการพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานของภาครัฐ ที่ต้องการให้ทุกๆ ชุมชน ทุกๆ พื้นที่ในชนบท รวมถึงชุมชนบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นที่อยู่ของกลุ่มคนชนเผ่า พื้นเมือง ได้มีสาธารณูปโภคครบ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำประปา หรือโทรศัพท์ ทำ ให้ความเจริญได้เข้าถึงชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.
2527 เป็นต้นมา และทำให้สื่อต่างๆ เริ่มเข้ามามี บทบาทกับกลุ่มคนชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

สื่อชนิดแรกที่เข้ามีบทบาท ต่อกลุ่มคนชนเผ่าพื้นเมืองคือ สื่อวิทยุ เนื่องจากเป็นสื่อที่ฝ่ายรัฐบาลใช้ เป็นเครื่องมือต่อต้านกลุ่มคอมมิวนิสต์ในช่วงกลางทศวรรษที่ 2500-2510 โดยมี การผลิตรายการวิทยุภาษาชนเผ่า
6 ภาษา (ปัจจุบันมี 7 ภาษา) ซึ่งเนื้อหาของรายการจะเป็นการนำเสนอข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐเป็น หลัก หลังจากนั้นสื่อต่างๆ ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในชุมชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ หรือสื่อสิ่ง พิมพ์ เนื่องจากคนในชุมชนบนพื้นที่สูงต้องมีการพบปะกับคนพื้นราบมาก ขึ้น สาเหตุมาจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตรกับคนพื้น ราบ มาตรการการท่องเที่ยวของภาครัฐ และการศึกษา

ปัจจุบันสื่อต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ดังจะเห็นได้จากปริมาณการเปิดรับสื่อต่างๆ ของเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่เพิ่มขึ้นสูงในปริมาณที่ไม่แตกต่างไปจาก เด็กและเยาวชนโดยทั่วไป ซึ่งอาจมีบ้างในบางพื้นที่ที่ยังมีข้อจำกัดในเรื่อง ของไฟฟ้า และความยากจนที่ทำให้เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองในพื้นที่นั้นมี ปริมาณการเปิดรับสื่อน้อยกว่าเด็กและเยาวชนโดยทั่วไป
โดยภาพรวมสื่อที่เด็กและ เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองมีปริมาณการเปิดรับมากที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ รองลงมาคือ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร/นิตยสาร/เอกสารแผ่น พับ และอินเตอร์เน็ต ตามลำดับ แต่เมื่อแยกกลุ่มเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้น เมืองที่อยู่ในชุมชนเมืองกับชุมชนบนพื้นที่สูงจะพบว่า เด็กและเยาวชนชนเผ่า พื้นเมืองที่อยู่ในชุมชนเมืองจะมีปริมาณการเปิดรับสื่อโทรทัศน์มากกว่ากลุ่ม เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่ในชุมชนบนพื้นที่สูง แต่เด็กและเยาวชน ชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่ในชุมชนบนพื้นที่สูงจะมีปริมาณการเปิดรับสื่อวิทยุ มากกว่าเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่ในชุมชนเมือง

ในเรื่องของเนื้อหารายการที่ เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองชอบดูพบว่า รายการโทรทัศน์ที่เด็กและเยาวชนชน เผ่าพื้นเมืองชอบดูมากที่สุด คือรายการละคร รองลงมาคือ รายการเพลง รายการกีฬา และรายการข่าว รายการวิทยุที่เด็กและเยาวชนชนเผ่า พื้นเมืองที่ชอบฟังมากที่สุด คือรายการเพลง รองลงมา คือรายการที่ให้ความรู้ และรายการข่าว สำหรับคอลัมน์ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ที่เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองชอบอ่านมากที่สุดคือ ข่าวเหตุการณ์ ปัจจุบัน รองลงมาคือ ข่าวบันเทิง และข่าวกีฬา

เด็ก และเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองส่วนใหญ่นั้นไม่มีปัญหาในเรื่องของการเปิดรับ สื่อ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังมีปัญหาในเรื่องของการเปิดรับสื่อ ซึ่ง ปัญหาในการเปิดรับสื่อของเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองคือ การไม่มีโทรทัศน์ การที่โทรทัศน์ไม่สามารถรับสัญญาณได้ครบทุกช่อง การคมนาคมไม่สะดวก ทำให้ไม่ได้รับหนังสือพิมพ์ หนังสือ และข่าวการศึกษา ต่างๆ เป็นต้น

ซึ่งผลจากการเปิดรับสื่อ ต่างๆ ดังที่กล่าวมา ของกลุ่มเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองนั้น ก่อให้เกิด ผลกระทบมากมายแก่เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งผลกระทบนั้นสามารถแยกออก เป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนที่เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองเป็นผู้ที่รับสื่อ จากภายนอกและในส่วนที่สื่อจากภายนอกนำ เรื่องราวของคนชนเผ่าพื้นเมืองไปถ่ายทอดสู่บุคคลอื่นๆ ในสังคม ซึ่งในส่วนที่เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองเป็นผู้ที่รับสื่อจากภาย นอก ก่อให้เกิดผลกระทบใน
2 ด้าน เหมือนเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอ กล่าวคือ ด้านหนึ่งเมื่อสื่อได้เข้ามา มีบทบาทในชุมชนบนพื้นที่สูง ก็นำมาซึ่งความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องขององค์ความรู้ที่ทันสมัย ให้กับเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ไม่ ว่าจะเป็นในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งสื่อมีส่วน สำคัญในการพัฒนาทางด้านสติปัญญาให้กับเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองนอกเหนือ ไปจากการเรียนในสถานศึกษา แต่ในอีกด้านหนึ่งการที่สื่อเข้ามาในชุมชนนั้นก็ ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบแก่เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งในแง่ของ มิติทางสังคม และมิติทางวัฒนธรรม

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในเชิงลบ ของการเปิดรับสื่อจากภายนอกโดยเฉพาะสื่อกระแสหลักในแง่มิติทางสังคม นั้น กล่าวคือ การที่เด็กและเยาวชนมีการเปิดรับสื่อจากภายนอกมากๆ อาจก่อให้ เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมา เช่น ปัญหาเด็กเร่ร่อน ปัญหายาเสพติด ปัญหาการค้าประเวณี ปัญหาการมี เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการทะเลาะวิวาท เป็นต้น ซึ่งประเด็นปัญหา ต่างๆ เหล่านี้ในแง่ที่เป็นผลมาจากการรับสื่อนั้นสามารถวิเคราะห์สาเหตุได้เป็น
2 ประเด็น ประเด็นที่หนึ่งคือสื่อสร้างภาพในจินตนาการให้กับเด็กและเยาวชน และประเด็น ที่สองคือสื่อก่อให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบของเด็กและเยาวชน ส่วนผลกระทบ ที่เกิดขึ้นในเชิงลบของการเปิดรับสื่อจากภายนอกในแง่มิติทางวัฒนธรรม นั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทั้งในเรื่องของการแต่งกายและภาษาของ เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง

ส่วนผลกระทบในส่วนที่สื่อจาก ภายนอกนำเรื่องราวของคนชนเผ่าพื้นเมืองไปถ่ายทอดสู่บุคคลอื่นๆ ในสังคมนั้น ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผ่านรายงานข่าวต่างๆ เช่น ข่าวที่กล่าวหาว่าคนชนเผ่าเป็นผู้บุกรุกพื้นที่ป่าสงวน หรือข่าวที่ระบุว่า คนชนเผ่านั้นๆ ค้ายา และการนำบุคลิก ลักษณะการพูด ประเพณี พิธีกรรม หรือวัฒนธรรมของคนชนเผ่าออกมาเผยแพร่ โดยไม่ตรวจสอบให้ถูกต้อง ตาม เรื่องราวที่แท้จริง รวมทั้งบิดเบือนข้อมูลบางอย่างเพื่อสร้างความน่า สนใจ ส่งผลกระทบโดยตรงแก่ตัวเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ทำให้เด็กและเยาวชนต้องกลายเป็นตัวตลกของสังคม รู้สึกว่าตนแปลกแยกกว่าคน อื่นๆ ในสังคม ทำให้เด็กและเยาวชนขาดความภาคภูมิใจในตนเอง และพยายามปกปิดความเป็น ชนเผ่าของตน

ที่มา :: Ccdkm.org

จดหมาย จากชนเผ่าถึงลูกพระยา

โลกทั้งใบตื่นตาตื่นใจในการแสดง พิธีเปิดโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง

จางอี้โหม่ว ผู้กำกับ การสะท้อนวัฒนธรรมของจีนแผ่นดินใหญ่ทุกชนเผ่า ทุกเมืองมาแสดงออกถึงอารยธรรมอันเก่าแก่ ยาวนานนับพันปีของจีน ภาพหนึ่งที่เราเห็นคือ ขบวนเชิญธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นสู่ยอดเสาในสนาม โดยตัวแทน 56 ชนเผ่าในจีน เขาให้ทุกชนเผ่า รวมกันเป็นชาติ


1 วันถัดมา - มีพาเหรดใหญ่ในหัวใจคนตัวเล็กๆ เกิดขึ้นที่เชียงใหม่- ประเทศไทย

นี่คือวันชนเผ่าพื้นเมือง โลก ตามที่สหประชาชาติประกาศไว้

ชนเผ่าพื้นเมืองไทย 23 เผ่า (กะเหรี่ยง ขมุ คะฉิ่น ชอง ไททรงดำ ไทลื้อ-ไทยอง ไทยวน ไทใหญ่ ไตหย่า บีซู ปะหล่อง (ดาระอั้ง) ม้ง เมี่ยน มลาบรี มอญ มอแกน มอแกน อุรักละโว้ย ญัฮกุร ลีซู ลาหู่ ลัวะ และอาข่า) ที่รวมตัวกันเฉลิมฉลองที่เชียงใหม่นับพันคนก่อนหน้านี้ เคลื่อนขบวนรณรงค์ไปตามถนนสายต่างๆ ของเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปหา กษัตริย์ลัวะ ผู้นำชนเผ่าที่ยิ่งใหญ่นั่นคือที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ใจกลางเมือง

ที่นั่น พวก เขาพร้อมใจกันประกาศเจตนารมณ์เนื่องในโอกาสสำคัญ ทศวรรษสากลของชนเผ่าพื้นเมืองโลก เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธ์ รับรองวันที่ 9 สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย” และเร่งแก้ไขปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ชนเผ่าเผชิญอยู่ พวกเขาประกาศเรียกร้ององค์การสหประชาชาติด้วยว่าต้องผลักดันให้รัฐบาลไทย สร้างมาตรการคุ้มครองสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ให้เป็นไปตามปฏิญญา กติการะหว่างประเทศ และอนุสัญญาที่ประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันไว้กับองค์การสหประชาชาติ

“เราขอประกาศว่าเราจะ ติดตามตรวจสอบและผลักดันให้ชนเผ่าพื้นเมืองได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สามารถปฏิบัติได้จริงและเกิดความเป็นธรรมในการดำรงชีพและรักษาวิถีชีวิตความ หลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทยที่เท่าเทียม สืบไป”

พวกเขามีจดหมาย 2 ฉบับ ส่งให้นายรัฐมนตรีไทย และเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ลงนามโดย พ่อหลวงจอนิ โอโดเชา

เนื้อหาทวงถามถึงสิทธิที่รัฐบาลไทยจะต้องคุ้มครองชนเผ่าพื้นเมืองในหลายกรณี เช่น ให้เด็กชนเผ่าพื้นเมืองทุกคนที่เกิดในแผ่นดินไทย ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดน มีนโยบายส่งเสริมการศึกษาทางเลือกของชนเผ่าโดยต้องจัดทำนโยบายภาษาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาแม่(Mother Tongue) และภาษาท้องถิ่นอย่างมีรูปธรรม คืนสิทธิการจัดการทรัพยากรให้แก่ชนเผ่า ยุตินโยบายการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบ และละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชนเผ่า ให้ชนเผ่าสามารถเข้าถึงการบริการของรัฐได้เป็นต้น

มีข้อเสนอกรณีเร่งด่วน ที่พวกเขาอยากให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาคือต้องเร่งแก้ไขคือ กรณี


การรุกรานและทำลายทรัพย์สินของชาวบ้าน บ้านวังใหม่ หมู่ 12 ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ในพื้นที่อุทยานดอยหลวง


การจับกุมชาวบ้านกรณีที่ดินอยู่อาศัย และที่ทำกิน (สปก.) บ้านใหม่หนองผึ้ง ต.อินทขิล
อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


การจับกุมชาวบ้าน และการสั่งระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียนราษฎร์ของ อ.แม่แตง เนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ


การแย่งชิงพื้นที่ทางวัฒนธรรม และเปลว(สุสาน) บ้านหินลูกเดียว บ้านแหลมหลา บ้านหาดทรายแก้ว ต.ไม้ขาว อ.เมือง จ.ภูเก็ต


การแย่งชิงพื้นที่ ทำกินและอยู่อาศัยของชาวมอแกน บ้านทับตะวัน ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า
จ.พังงา


การรับรองสิทธิการอยู่อาศัยในพื้นที่ของบรรพบุรุษของชุมชนมอแกนที่ประสบภัย สึนามิ บ้านทุ่งหว้า ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

นี่คือข้อเรียกร้องต้องการของพวกเขาใน “วันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยและสากล”

เรื่อง – อัจฉราวดี บัวคลี่

ภาพ – วิวัฒน์ ตามี

เพลง – เฮาขอ ขับร้องโดย สุนทรี เวชานนท์ ปฏิญญา ตั้งตระกูล อัลบั้ม ดอกไม้บาน จัดทำโดยเครือข่ายป่าชุมชนภาคเหนือ


ที่มา :: Oknation.net

ดนตรี สีสัน ในวันชนเผ่า

ดนตรี สีสันในวันชนเผ่า

     สำหรับคนชนเผ่าพื้นเมืองดนตรีเป็นมากกว่าเสียงเพลงที่สร้างความไพเราะเสนาะหู เพราะดนตรีเป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดให้คนภายนอกได้เข้าใจถึงลักษณะ การดำรงชีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติ ดนตรียัง แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางด้านภาษาวัฒนธรรม ประเพณี และ ความเชื่อของแต่ละชนเผ่าอีกด้วย
อาชิ หนึ่ง ในศิลปินที่มาร่วมแสดงดนตรีชนเผ่าพื้นเมือง ได้กล่าวถึงการ ร่วมงานวันชนเผ่าว่า ได้เคยร่วมงานวันชนเผ่าพื้นเมืองที่จัด ขึ้นเมื่อวันที่ ๘
- ๙ สิงหาคม ที่ ผ่านมาถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้คนชนเผ่าได้คิด และพูดถึง ปัญหา และสิ่งที่ชนเผ่าต้องการทำเพิ่ม สำหรับ งานในครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งที่จะมีการจัดงาน “มหกรรม วันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย” ขึ้น ระหว่าง วันที่ ๕ – ๑๑ กันยายน ๒๕๕๐ นี้ เพราะคนชนเผ่าจะได้มีเครือข่ายในการทำงานร่วมตัว กันและมีพลังในการขับเคลื่อนไปพร้อมกัน 

โดยอาชิได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการแสดงดนตรีชนเผ่าพื้นเมืองร่วมกับชนเผ่าต่างๆ อีกหลาย เผ่า เช่น เผ่าลัวะ คะ ฉิ่น ปะหล่อง เผ่าชอง ไทยทรงดำ เผ่า เมี่ยน หรือ อิ้วเมี่ยน ฯลฯ หนึ่งในการแสดง ของอาชิ คือ เพลงทาหรือบทกวี ของคนเฒ่าคนแก่ เป็นการกล่าวถึงองค์รวมของวิถีชีวิต คนกับธรรมชาติ เป็นการแสดงดนตรีพื้นบ้านและเป็นงานเพลงที่ เขียนเองในความหมายของเนื้อเพลงเป็นการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเองที่เป็นสวนหนึ่งของชาติพันธุ์ที่ชี้ให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในวิถีชีวิตของชนเผ่า

เพราะชีวิตของชาติพันธุ์มันผูกพันกับสายน้ำ ป่า เป็นการเสนอภูมิปัญญาของชนเผ่าที่นำมาประยุกต์ ใช้กับวิถีชีวิตในปัจจุบัน
ส่วนเพลงที่เล่นก็จะมี เพื่อนที่เป็นชาวต่างชาติมาร่วมด้วย เพื่อเป็นการแสดงให้ เห็นว่าคนชนเผ่าพื้นเมืองมีใจกว้างที่จะเปิดพื้นที่ให้ทุกคน ทุก ชาติ หรือแม้แต่คนภายนอกเองก็น่าจะเปิดโอกาสให้คนชนเผ่ามี โอกาส มีความเท่าเทียมกัน


สำหรับเครื่องดนตรีที่ใช้ นอกจากเตหน่าแล้ว ก็จะมีปอกุ๊หว่า ปิ๊อุ๊ โกล๊ะ อาจมีเครื่องดนตรีสากลมาผสมด้วย

สิ่งที่อาชิคาดหวังในการ แสดงดนตรีมหกรรมวันชนเผ่าในครั้งนี้ อยากให้เป็นเวทีบอกเล่าเรื่อง ราวของคนชนเผ่าสู่สาธารณชน รวมทั้งคนชนเผ่าด้วยกันให้มากขึ้น เพราะคนชนเผ่าเองก็รับรู้เรื่องราวของคนชนเผ่าด้วยกันน้อย 

โดย ส่วนตัวแล้วไม่คาดหวังจากคนเมือง ถ้าคนชนเผ่ารู้จักกันมาก ขึ้นน่าจะพอใจมากกว่า
อยากเชิญชวนให้มาดูความหลากหลายของชาติพันธุ์ว่ามีอะไรบ้าง ไม่อยากให้มาดูเฉยๆ อยากให้มาดูว่าชนเผ่ามีอะไรบ้าง คิดอย่างไร และถ้าเราเข้าใจ เราควรจะ ปฏิบัติอย่างไร และจะปฏิบัติต่อกันได้อย่างถูกต้องอาชิเชื่อ ว่าคนเราทุกคนล้วนแต่เป็นคนชนเผ่าด้วยกันทั้งสิ้น สำหรับการแสดงมหกรรมดนตรีในวันที่ 7 กันยายน นี้ เริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 - 22.00 น. ณ ห้องประชุม



ที่มา :: Chonpao.com

แจนนี่ ลาซิมบัง: ‘ปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลกแห่งสหประชาชาติ กับผลกระทบที่มีต่อชนเผ่าพื้นเมือง’

ชนเผ่าพื้นเมืองโลก
แจนนี่ ลาซิมบัง: ‘ปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลกแห่งสหประชาชาติ กับผลกระทบที่มีต่อชนเผ่าพื้นเมือง’

แจ นนี่ ลาซิมบัง

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมือง แห่งเอเชีย

(Secretary General of AIPP Foundation)

แจนนี่ ลาซิมบัง (Ms.Jannie Lasimbang) เธอเป็นชนพื้นเมือง ชาวมาเลเซีย ปัจจุบัน เธอเป็นเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองแห่งเอเชีย (Secretary General of AIPP Foundation) ซึ่งเมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา เธอได้เข้าร่วมงาน “วันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย” ที่ห้องประชุม สถาบันวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้บรรยายพิเศษ เรื่อง “ปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลกแห่งสหประชาชาติ กับผลกระทบที่มีต่อชนเผ่าพื้นเมือง”

ตนต้องขอแสดงความยินดีที่พี่ น้องชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยได้มาแสดงตนในวันนี้ ซึ่งงานลักษณะนี้ได้เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลกเพื่อให้คนสามารถเข้าใจถึงชนเผ่าพื้นเมือง

วันที่ 9 สิงหาคม 1994 ทางสหประชาชาติได้ลงมติให้วันนี้เป็นวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งโลก วัตถุประสงค์หลักที่จัดให้มีปีทศวรรษของชนเผ่าพื้นเมืองคือ เพื่อให้มีการสร้างความร่วมมือกันในการจัดการทรัพยากร ซึ่งมีความเห็นที่หลากหลายว่าแม้ว่าจะมีหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานได้เข้ามาสนับสนุนและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง แต่ก็ยังมีจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึง

บทสรุปขององค์กรพัฒนา คือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ โยงไปเกี่ยวกับปัญหาที่ดิน และทรัพยากรในหลายประเทศมีกฎหมายรองรับชนเผ่า เช่น มีการยอมรับในสิทธิ หน้าที่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่า

แต่อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแล้ว ชนเผ่าพื้นเมืองยังอยู่ในภาวะที่ยังถูกคุกคามอยู่ ดังนั้นต้องมีการขยายเวลาในการเรียกร้องสิทธิที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าต่อไป โดยเฉพาะการเรียกร้องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การเรียกร้องให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชนเผ่าพื้นเมืองทั้งด้านการศึกษา สุขภาพเป็นต้น การพัฒนาจะต้องส่งเสริมและควบคู่ไปกับการพัฒนาให้ครบทุกด้าน

สิ่ง ที่เป็นวัตถุประสงค์หลักในทศวรรษที่สอง คือ การยุติการเลือกปฏิบัติต่อชนเผ่าพื้นเมือง และให้เข้ามามีส่วนร่วมทุกภาคทุกส่วน ปัจจุบันสภาพที่เกิดขึ้นคือการเลือกปฏิบัติต่อชนเผ่าอย่างเป็นระบบ กลุ่มประชากรชนเผ่าพื้นเมืองยังถูกจัดให้อยู่ในตอนท้ายของกระบวนการพัฒนา อยู่ตลอดเวลา

ในส่วนขององค์การสหประชาชาติ ผลของการศึกษา พบว่า ชนเผ่ายังมีความยากจน และด้อยการศึกษายังอยู่ในชนชั้นต่ำ ซึ่งทั้งหมดนี้หมายถึงยังไม่ได้ถูกพัฒนา กระบวนการแก้ไขปัญหาหรือกระบวนการพัฒนาที่สำคัญ คือ ชนเผ่าต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทุกขั้นตอน ชนเผ่าพื้นเมืองมีชีวิตรอดที่อยู่ภายใต้การพัฒนาของรัฐโดยที่ชนเผ่าไม่ได้มี ส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา

ดังนั้น เราจะต้องแสดงความเป็นอัตลักษณ์อย่างชัดเจน เพราะว่าเราไม่ได้เป็นชนกลุ่มน้อยอย่างที่ถูกกล่าวหา ที่สำคัญเราจะต้องต่อสู้ต่อไป และการต่อสู้ไม่ใช่เรื่องล้าหลังและไม่ใช่เรื่องของอดีต แต่ขอให้รัฐบาลเปิดใจรับยอมรับ และเห็นคุณค่าความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนโลกนี้

ข้อเสนอ

1) การให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน สิ่งที่สำคัญที่รัฐต้องไปจัดทำต่อไปคือให้มีการแก้ไขรวมทั้งให้มีการส่ง เสริมให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง อีกประเด็นหนึ่งคือ อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายแรงงานของชนเผ่าพื้นเมือง ILO169

2) ให้รัฐส่งเสริมกระบวนการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ชัดเจนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชน เผ่าพื้นเมืองโดยเฉพาะการจับกุมผู้นำของประเทศต่างๆ เช่น ที่พม่า บังคลาเทศ เป็นต้น

การพัฒนาที่มักจะคุกคามต่อชนเผ่าพื้นเมือง เช่น การสร้างถนน การทำเหมืองแร่ หรือโครงการใหญ่ต่างๆ การกระทำดังกล่าวข้างต้นนี้ สิ่งที่สำคัญจะต้องให้ผู้นำและชุมชนเป็นฝ่ายยินยอมก่อนที่กระทำใดๆ

หวัง เป็นอย่างยิ่งว่า ถ้ากฎหมายฉบับนี้ผ่าน คงเป็นสิ่งที่ดีที่จะต้องมีการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนชนเผ่าพื้นเมือง และจะต้องร่วมกันพัฒนาต่อไป. ใส่ข้อความที่จะแสดงผล

ที่มา http://www.prachatai.com

9 สิงหาคม จาก “ปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมือง” สู่การสถาปนา “วันชนเผ่าพื้นเมืองไทย”

วันชนเผ่าพื้นเมือง
9 สิงหาคม จาก “ปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมือง” สู่การสถาปนา “วันชนเผ่าพื้นเมืองไทย” โดย : วิวัฒน์ ตามี่

     ที่มาของการประกาศปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้น เมืองนั้น เกิดจากประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียนแดงในประเทศสหรัฐ อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งชนเผ่าอินเดียนแดงได้ร่วมกันออกมาเรียกร้องต่อสู้และโจมตีกลุ่มประเทศต่างๆเหล่านี้ ว่าเป็นผู้บุกรุกดินแดนของตนและละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงเรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนและแสดงจุดยืนว่า ผืนแผ่นดินเป็นของตนและถูกคนภายนอกเข้ารุกราน ดังนั้น สิทธิดังกล่าวจะต้องได้รับการรับรองและคุ้มครอง


จากเหตุการณ์ ดังกล่าว กลุ่มอินเดียนแดงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการนำประเด็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าอินเดียนแดงกับรัฐบาลสหรัฐเข้าไป สู่เวทีการพูดคุยของสันนิบาตแห่งชาติ (The League of Nation) ในปี ๑๙๒๐ที่ประชุมมีข้อถกเถียงมากมายเพื่อให้ได้ข้อยุติตามที่ชนเผ่าอินเดียนแดง เรียกร้อง ซึ่งทำให้ประชาคมโลกรับรู้และสนใจประเด็นชนเผ่าพื้นเมืองมากขึ้น

ใน ปี ๑๙๗๐ สหประชาชาติโดยผู้แทนพิเศษ นายโจเซ มาร์ติเนส โคโบ ทำการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาประชากรชนเผ่าพื้นเมือง ผลการศึกษาทำให้มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ชนเผ่าพื้นเมืองและได้เรียกร้อง ให้องค์การสหประชาชาติทำงานจริงจังมากขึ้น จนทำให้นำไปสู่การจัดตั้งคณะทำงานว่าด้วยประชากรชนพื้นเมือง (Working Group on Indigenous Population -WGIP) 

ในปี ๑๙๘๒ คณะทำงานชุดนี้ได้ดำเนินกิจกรรมในการสนับสนุนและปกป้องสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ด้วยการประทศวรรษสากลของชนเผ่าพื้นเมืองในปี ๑๙๙๕-๒๐๐๔ ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศต่างๆ ๑๓ กลุ่มได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์

ใน ปี ๑๙๙๓ องค์การสหประชาชาติ(UN) ได้ประกาศเป็นปีแห่งชนเผ่าพื้นเมืองสากลและมีการประกาศว่าจัดตั้งเวทีถาวรชน เผ่าพื้นเมือง (Permanent Forum on Indigenous Issues) สำหรับการทำงานชนเผ่าโดยตรงในระบบงานขององค์การสหประชาชาติ และในปี ๒๐๐๐ สภาเศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) ได้มีการจัดประชุมเพื่อจัดตั้งเวทีถาวรชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งส่งทำให้มีพื้นที่เท่าเทียมกับตัวแทนของรัฐในหน่วยงานถาวรหน่วยงานหนึ่ง 

ในระบบ UN ชนเผ่าพื้นเมืองได้อาศัยกลไกเวทีถาวรชนเผ่าพื้นเมืองในรณรงค์ผลักดันประเด็น ปัญหาของชนเผ่าพื้นเมืองต่อเวทีสหประชาชาติ ส่งผลให้เกิดการร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ขณะนี้อนุสัญญาฉบับนี้ได้ผ่านสภาสิทธิมนุษยชน (Human right Council ) แล้ว กำลังจะได้รับฉันทามติจากสมัชชาสหประชาชาติให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย ระหว่างประเทศภายในเดือนกันยายน ๒๐๐๗ นี้

ระหว่างปี ๒๐๐๖-๒๐๑๔ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมืองระยะที่๒ กำหนดให้วันที่ ๙ สิงหาคมของทุกปี เป็น“วันชนเผ่าพื้นเมืองสากลโลก” UN เสนอให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมต่างๆที่ชนเผ่าพื้นเมืองจัดขึ้นในวันนี้ สำหรับประเทศไทยยังไม่เคยสนับสนุนการจัดงานวันชนเผ่าพื้นเมืองดังกล่าวเลย สักครั้ง เลยไม่แน่ใจว่ารัฐไทยคิดอย่างไรกับชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย

ข้อ สังเกตคือ ประเทศไทยมีวันสำคัญต่างๆมากมายนอกเหนือจากวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันแรงงานแห่งชาติ วันเด็ก วันสตรีสากล วันผู้สูงอายุ เป็นต้น แต่ยังไม่เคยมีวันที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่า ทั้งที่ในประเทศไทยมีกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองจำนวนมากมายและเป็นที่รับรู้ใน เวทีสากล

ชนเผ่าพื้นเมืองในกระแสโลกาภิวัตน์

"วิถี ชีวิตที่อะไรๆ ที่เคยอยู่ก็หายไป ในพื้นที่มีการเสียพื้นที่ของลาวโซ่งเพราะว่าเป็นเมืองอุตสาหกรรม อะไรๆ เปลี่ยนหมด การเลี้ยงผีเปลี่ยนไป วิถีชีวิตเปลี่ยนไปจากการที่มีโรงงานเข้ามา คนหนุ่มสาวต้องเข้าโรงงาน ทุกๆ อย่างมีค่าใช้จ่าย มีมือถือเข้ามา..."
... ... ...
เนื่องในวันที่ 8 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันชนเผ่าสากล และในปีนี้ ณ หอประชุมเล็กมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดงานเทศกาลมหกรรมชนเผ่าแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมีการจัดงานเสวนาเรื่อง โลกาภิวัตน์และนโยบายรัฐชาติที่มีผลกระทบต่อชนเผ่าพื้นเมือง มีนักวิชาการ และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในส่วนของชาติพันธุ์ต่างๆ เข้าร่วมเสวนา โดยมี อ.ชยันต์ วรรธนะภูติ เป็นผู้ดำเนินรายการ - อรรถพงษ์ ศักดิ์สงวนมนูญ สำนักข่าวประชาธรรมนำเรื่องราวที่น่าสนใจมาบอกเล่า ดังนี้

หลากวัฒนธรรม กับหลายภาษา

ดร.นรเศรษฐ์ พิสิฐพันพร จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล
เราปฏิเสธไม่ได้ว่ามันมีความหลากหลายในประเทศไทย ถ้าหากเราคิดว่าไม่ดีแล้วฆ่าไปให้หมดมันก็ไม่สามารถทำได้ แต่ถ้าหากเราคิดว่าความหลากหลายนั้นมีข้อดี มีภูมิปัญญาจากหลายๆ เผ่าพันธุ์ เราจึงต้องทำอะไรสักอย่าง เราจะทำอะไร สิ่งที่สำคัญก็คือว่าความหลากหลายมีข้อดี แต่ว่าเราจะจัดการอย่างไร
ในเรื่องนโยบายของรัฐนั้น คิดว่าถ้ารัฐมีนโยบายออกมาก็มีปัญหา แต่ถ้ารัฐไม่มีก็สร้างปัญหาอีกเช่นกัน ตัวอย่างที่เราเห็นชัดๆ

ก็คือว่า ถ้าหากเราไปในลำพูนที่หมู่บ้านของคนมอญ ที่เราเรียกว่าเม็งนั้น คนอายุหกสิบขึ้นไปพูดภาษามอญเป็นคำๆ จะไม่มีคนที่พูดภาษามอญแบบสื่อสารได้ เพราะว่านิคมอุตสาหกรรมที่รัฐเอาลงมาในพื้นที่ ดึงเอาคนหนุ่มสาวที่พูดภาษามอญไปทั้งหมด

นโยบายในสมัย จอมพล ป. เรื่องภาษาไทย ถ้าหากไปเปิดดูหนังสือเขมรในสมัย จอมพล ป. นั้น ท่านเขียนชื่อใหม่หมดเลยเช่น ศรีศักร ก็เขียนเป็นสีสัก ห้ามใช้ชื่อที่ไม่ใช่ชื่อไทย และผลกระทบของความคิดเรื่องนโยบายภาษามันส่งผลมาถึงปัจจุบัน เขาไม่ใช้คำว่าเรื่องภาษาแต่ใช้คำว่านโยบายการจัดการศึกษาแห่งชาติแทนที่การ เรียนในราชอาณาจักรไทยนั้นใช้ภาษาไทยเป็นหลัก ในมิติแบบนี้ทำให้หลายๆ แห่งสูญเสียสิ่งที่มีอยู่ไป คือภาษาชุมชนของตนเอง

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาในปี 2546 พบว่าประเทศไทยมีภาษาไม่ต่ำกว่าหกสิบภาษา โดยที่ความหลากหลายนั้นถ้าเราดูจากการแต่งตัวที่มีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา มันจึงยากมากในการแบ่ง เพราะฉะนั้นในทางวิชาการนักภาษาศาสตร์จึงใช้ตัวภาษาเป็นการวัด ซึ่งก็มีหลักเกณฑ์ในการแบ่งที่ใช้ภาษาเป็นตัวตั้ง

ซึ่งนโยบายที่สอนภาษาไทยเป็นหลักนั้นมีผลกระทบ 14 ภาษากำลังย่ำแย่ ไม่มีผลกระทบเฉพาะนโยบายการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีผลกระทบไปยังเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การพัฒนาต่างๆ ภาษาเหล่านี้กำลังจะหมดไป ที่ต้องการการเยียวยาอย่างรุนแรง คนที่เป็นแม่อาจจะไม่พูดกับลูกแล้ว หรือเป็นภาษาที่ไม่ค่อยมีคนพูดกันแล้ว
ดร.นรเศรษฐ์ พิสิฐพันพร สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล

คำถามคือเราจะทำยังไงกับภาษาเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลกระทบจากนโยบายการศึกษา ผมเสนอว่านโยบายของภาษานั้นต้องชัดเจน ซึ่งมีนโยบายภาษาอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องมีการระบุว่านโยบายภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต้องได้รับการยอมรับ และมีการบรรจุในการเรียนของโรงเรียนรัฐเป็นเจ้าของ และต้องระบุว่าภาษาที่กำลังจะหายไป หรือวิกฤตต้องได้รับการดูแลอย่างพิเศษ เมื่อระบุแล้วไม่ใช่ว่าจะมีอยู่ตลอดไป สิ่งที่ตามมาคือเจ้าของจะไปทำอย่างไรกับภาษาของตัวเอง

เพียงแค่เราระบุให้รัฐส่งเสริมภาษานั้นไม่เพียงพอ ต้องมีเงื่อนไขภายในที่ต้องมีการเรียนรู้ภาษาแม่หรือว่าภาษาของตัวเอง เพราะภาษาพวกนี้นั้นเราเรียกว่าเป็นการล้อมปราบ ถูกล้อมด้วยคนเหนือ คนลาว เพราะฉะนั้นเราต้องสมัครสมานหาเพื่อน ทุกๆ คนที่เป็นเจ้าของภาษาต้องคิดว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อที่จะทำให้ภาษาเหล่านี้ คงอยู่ต่อไป เพราะถ้าหากเราคิดผิด นโยบายท่องเที่ยวที่ทำภาษาหลากหลายให้อยู่เพื่อที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยว มีคนพูดหลายๆ ภาษาเพื่อให้คนอื่นๆ หันมาดู ตัวอย่างในประเทศจีนในภาษา แมนจู ที่เคยเป็นเผ่าพันธุ์ที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ที่ยังไม่หายไปก็เพราะว่าเขาต้องการให้นักท่องเที่ยวมาฟังแล้วก็จ่ายเงิน

นโยบายรัฐ กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
องค์ บรรจุล นักวิจัยอิสระชาวมอญ

วัฒนธรรมของมอญนั้นมีทั้งในประเทศไทยและประเทศพม่า คนมอญในช่วงเวลานั้นน่าจะโดนกลืนไปเป็นคนไทยไปหมดแล้ว อาจจะมีกลุ่มคนมอญที่ยังเป็นมอญอยู่คือที่มาจาก อ.เทพสถิตย์ จ.ชัยภูมิ เราเรียกว่ามอญโบราณ

ความเห็นของอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมชนั้นเขียนเอาไว้ว่าส่วนหนึ่งที่คนมอญนั้นเข้ากับคนไทยได้ดีมากเพราะ ว่า ชาวมอญทิ้งวัฒนธรรมจำนวนมากเอาไว้ คนมอญและคนไทยจึงเป็นน้ำเนื้อเดียวกัน วัฒนธรรมมอญเข้ามาอยู่ในราชสำนักไทยด้วย ในทุกวันนี้พระสงฆ์ที่วัดชนะสงครามจะต้องเข้าไปสวดพระปริตมอญที่วัดพระแก้ว ทุกๆ วันพระ นี่เป็นสิ่งที่วัฒนธรรมไทยไปรับเอาวัฒนธรรมมอญเอาไว้ และความสัมพันธ์ของราชสำนักไทยนั้นมันมีเข้มข้นมาก ดูที่พระมเหสีของกษัตริย์ไทยในรัชกาลที่ 1 ท่านก็เป็นคนมอญ อัมพวา ที่สมุทรสงคราม มีพระโอรส คือ รัชกาลที่ 2

องค์ บรรจุล นักวิจัยอิสระชาวมอญ
ความเป็นมอญในวันนี้นั้นอยู่มามากว่าสองร้อยปี สิ่งที่ทำให้แสดงความเป็นมอญได้เพราะว่าอยู่รวมกลุ่มกันมาเป็นเวลานานประมาณ สองร้อยปีแล้ว ส่วนที่ถูกทำลายนั้นก็ชัดเจนคือว่ามันมีกระบวนการทำลาย ที่เห็นได้ชัดคือ
การทำลายใน สมัย จอมพล ป. ที่วัฒนธรรมหลายส่วนหายไป การที่ทางการไทยห้ามใช้ภาษา แต่งกายนั้นเป็นการปฏิเสธความมีอยู่จริง เป็นการขัดความเป็นจริงของชีวิตในชุมชน คนมอญในชุมชนก็ยังใช้ภาษามอญในการพูดคุยกัน ตามวัดวาอารามก็ยังมีชื่อที่เป็นภาษามอญอยู่

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมือง

ภาพจาก  www.chiangmainews.co.th

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของชนเผ่า พื้นเมือง
โดยศราวุฒิ ประทุมราช

เมื่อปี 2548 ผมมีโอกาสได้การเขียนและเรียบเรียงหนังสือให้แก่สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและ วัฒนธรรมชาวเขาในประเทศไทย หรือ IMPECT ในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิ มนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับชนชาวเขา ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือ การได้ศึกษาระบบของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่า

 และชนพื้นเมืองทั่วโลก เชื่อหรือไม่ครับ ว่าสหประชาชาติได้เริ่มให้ความสนใจประเด็นชนเผ่ามาตั้งแต่ปี 2509 เมื่อเริ่มประกาศกติการะหว่างประเทศ 2 ฉบับ คือกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


จนมาถึงการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี 2536 ซึ่งในช่วงเกือบ 30 ปีนี้เองได้มีการต่อสู้กันทางความคิดในเวทีสหประชาชาติ เพราะชนพื้นเมืองในประเทศเอกราชต่างได้รับการกดขี่ และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยประชาชนและรัฐในประเทศที่ชนพื้นเมืองอาศัย จึงเกิดขบวนการศึกษาของนักวิชาการและองค์กรของชนพื้นเมืองในระดับสากล เรียกร้องให้มีการใช้เวทีสหประชาชาติในการสร้างกฎหมายและมีกลไกภายใต้ระบบสห ประชาชาติ ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชนแก่ชนพื้นเมือง 

และในที่สุดเมื่อสิ้นสุดการประชุมโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในปี 2536 ที่ประชุมโลก ได้มีการประกาศปฏิญญาเวียนนาและแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการ 3 ประเด็นใหญ่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิชนพื้นเมือง นั่นคือ การประกาศให้ ปี 2538 ถึง 2547 เป็นทศวรรษสากลชนพื้นเมืองโลกและ ให้จัดทำร่างปฏิญญาว่าด้วยสิทธิชนพื้นเมืองให้เสร็จสิ้นภายในทศวรรษดังกล่าว และสุดท้าย คือ การผลักดันให้มีการจัดตั้งเวทีถาวรเพื่อชนพื้นเมือง หรือ (Permanent Forum on Indigenous Issues) ซึ่งเป็นผลสำเร็จในเดือนกรกฎาคม 2543

ก่อน ที่จะไปไกลกว่านี้ ขอเล่าย้อนให้ฟังว่า ในโลกนี้เขามีชื่อเรียก ชนเผ่า หรือ ชนพื้นเมือง แตกต่างกัน ชนพื้นเมืองท้องถิ่น (Indigenous Peoples)หรือชนเผ่าพื้นเมือง(Tribal Peoples)นั้น มีผู้ให้นิยามไว้หลายความหมาย นายมาติเนส โคโบ ผู้รายงานพิเศษ ของคณะอนุกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันการเลือกปฏิบัติและการคุ้มครองชนกลุ่มน้อย 

ชนพื้นเมืองและชนชาติ ได้ให้คำนิยามว่า หมายถึง กลุ่มชนต่างๆที่อาศัยอยู่ในรัฐๆหนึ่งก่อนสมัยการล่าอาณานิคมจะเกิดขึ้น เป็นผู้รับช่วงและปฏิบัติตามวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีวิถีความเป็นอยู่ สัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆและสัมพันธ์กับธรรมชาติ ชนเผ่าพื้นเมืองพยายามรักษาสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองของตนเองซึ่งแตกต่างจากสังคมส่วนใหญ่ที่ครอบงำชีวิตของพวกเขา ประมาณกันว่ามีชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลกกว่า 300 ล้านคนใน 70 ประเทศ 

ซึ่งชนเผ่าในบ้านเรานั้น อาจอยู่ในนิยามของความหมายนี้ ในความหมายอย่างกว้างๆนั่นคือ ชาวเขา คือ กลุ่มชนต่างๆ หรือชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในรัฐๆหนึ่งก่อนการตั้งขึ้นของรัฐเป็นประเทศ โดยมีอัตลักษณ์และวิถีความเป็นอยู่สัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆและสัมพันธ์กับธรรมชาติ
ทีนี้มาถึงประเด็นที่ต้องการนำ เสนอในวันนี้ คือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งที่ประชุมโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อปี 2536 ได้ประกาศ ให้มีการรับรองร่างปฏิญญาฯฉบับดังกล่าว โดยเร็ว แต่ปรากฏว่าสมัชชาสหประชาชาติเพิ่งลงมติรับรองร่างดังกล่าวเมื่อ 13 กันยายน 2550 ที่ผ่านมานี้เอง โดยมีสมาชิกสหประชาชาติลงนามรับรองทั้งสิ้น 143 ประเทศและลงนามไม่รับรอง 4 ประเทศ งดออกเสียง 11 ประเทศ

รู้จัก กับชนเผ่าในประเทศไทย ชนเผ่าคะฉิ่น (Kachins)

ชาวคะฉิ่นเรียกตนเองว่า "จิงปอ" คนพม่าเรียก "คะฉิ่น" มูเซอเรียกว่า "ค้างฉ่อ" คนไทยใหญ่เรียก "ขาง" อพยพมาสู่ประเทศไทยจากรัฐฉานประเทศพม่า พร้อมกับคนลีซอ มูเซอ และอาศัยอยู่กับเผ่านั้นๆ

เมื่อ ๕๐ – ๖๐ ปีมาแล้ว แต่ที่อพยพเป็นกลุ่มเฉพาะเผ่าคะฉิ่น ในปี พ.ศ.๒๕๑๗ เข้ามาทางดอยลาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ไปอยู่ที่ดอยวาวี อ.แม่สรวย จ. เชียงราย แล้วอพยพมาอยู่ที่ปางมะเยา บ้านใหม่หมอกจ๋าม อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ก่อนมาอยู่บ้านหนองเขียว เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว และเป็นชุมชนคะฉิ่นแห่งเดียวในประเทศไทย คะฉิ่นมีความใกล้ชิดกับคนไทยใหญ่ ลีซอ มูเซอ และอีก้อ เนื่องจากอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาทิเบต-พม่า เช่นเดียวกัน

เดิมทีคะฉิ่นนับถือผีบรรพบุรุษ ผีเจ้าที่ ต่อมาหลังจากเปลี่ยนมานับถือคริสต์ศาสนาแล้ว ชาวคะฉิ่นที่บ้านหนองเขียวได้เปลี่ยนมาประกอบพิธีกรรมที่โบสถ์แทนศาลเจ้าที่ เช่น พิธีกินข้าวใหม่ จะนำพันธุ์พืชที่จะปลูกเข้าร่วมในพิธี และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วก็จะนำผลผลิตอย่างละเล็กละน้อยของแต่ละครอบครัวไป ทำพิธีขอพรและขอบพระคุณพระเจ้าที่ได้ช่วยปกป้องรักษาให้มีผลผลิต ที่อุดมสมบูรณ์

จากการสำรวจพบว่า มีชาวคะฉิ่นตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตพื้นที่ดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ๑ แห่ง คือ ศูนย์ฯหนองเขียว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จำนวน ๑ หมู่บ้าน ๖๘ ครัวเรือน และประชากรประมาณ ๓๘๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๓ ของประชากรทั้งหมดในพื้นที่โครงการหลวง

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.contothailand.org/independentfile/tribekachins.asp

บทสัมภาษณ์ "มึดา นาวานารถ" เธอ ‘สู้’ เพื่อสัญชาติ

บทสัมภาษณ์ "มึดา นาวานารถ" เธอ ‘สู้’ เพื่อสัญชาติ

มีดา นาวาถารถ

มึดา นาวานารถ เธอเป็นเด็กคนเดียวกันกับเด็กผู้หญิงคนนั้นที่ร้องไห้หน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันเด็กปีที่แล้วเพราะนายกท่าน ‘หนี’ พวกเธออกทางหลังทำเนียบฯ จนวันนี้ ด้วยวัยเพียง 18 ปี มึดา ยืนยันหนักแน่นถึง ความฝัน ต้องการเป็นนักกฎหมายว่าด้วยเรื่องสัญชาติ ทำเรื่องสัญชาติ ต่อสู้เรื่องสัญชาติ ผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา ประสานร่วมกับหน่วยงานแห่งรัฐ ในการให้สถานะความเป็นคนไทยแก่เธอและพี่น้องของเธอ สร้างที่ยืนและการมีตัวตนแก่เธอและพี่น้องของเธอ ....วันเด็กไร้สัญชาติปีนี้จึงเป็นอีกวันหนึ่งที่ผู้ใหญ่จะต้องฟัง ฟังเพื่อซึมซับความรู้สึกของเธอ คนไม่มีสัญชาติ

ทีมงานไทยเอ็นจีโอ : เล่าเรื่องหน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันเด็กปีที่แล้วให้ฟังสักนิดก่อน
มึดา : วันนั้น เด็กๆ ไร้สัญชาติ กว่า 50 คน จากหลายจังหวัด พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ประจวบคีรีขันธ์ ในนามเครือข่ายเด็กและเยาวชนชาวเขาสัมพันธ์นัดชุมนุมกันหน้าทำเนียบรัฐบาล ขอพบนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เนื่องในวันเด็ก ร่วมกับพี่เลี้ยงจากกระจกเงาและจากแต่ละจังหวัดที่นำเด็กๆ มาหน้าทำเนียบรัฐบาล พวกเราหวังว่าจะขอพูดกับนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติและมอบของขวัญ ให้ คือ จะบอกว่ายังมีเด็กอีกกลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะในส่วนของเด็กไร้สัญชาติ หนูบอกได้เลยว่า เด็กๆ ไม่รู้ว่า วันนี้ คือ วันเด็ก เสียด้วยซ้ำ

พวกเราได้รับเลือกเป็นตัวแทนจากเด็ก ๆ กลุ่มนี้ เป็นตัวแทนจากเด็ก ๆ ชาวเขา เด็ก ๆ ที่ไม่มีสัญชาติมาเพื่อบอกเล่าความรู้สึกและปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองและ เพื่อน ๆ เนื่องจาก ประเด็นไร้สัญชาติเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยแก้ไข การได้รับสถานะความเป็นคนไทย คือ ของขวัญสำหรับเด็ก ๆ อย่างหนู เพียงอยากจะบอกเล่าเรื่องราวให้นายกรัฐมนตรีฟัง เอาเข้าจริง ๆ การขอเข้าพบกลับทำไม่ได้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกันพวกเราเอาไว้ข้างนอก ช่วงนั้นนายกเปิดทำเนียบรัฐบาลต้อนรับเด็ก ๆ จากทางภาคใต้เนื่องในวันเด็ก พวกหนูเห็นนายกพูดอยู่บนเวทีข้างใน ทุก ๆ คนเห็นว่าพวกเราอยู่ที่นั่นเพราะเราใส่ชุดแปลก ๆ (หัวเราะ) แต่ไม่มีใครสนใจ

ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เกิดปัญหาที่ภาคใต้พอดี ช่วงที่โรงเรียนถูกเผากว่า 10 โรงเรียน นายกเปิดทำเนียบรัฐบาลนำเด็ก ๆ นักเรียนจากภาคใต้เยี่ยมชมทำเนียบที่กรุงเทพฯ เมื่อพิธีการต้อนรับเด็ก ๆ จากภาคใต้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านนายกท่านเดินลงจากเวที พวกเราพยายามเข้าไปเพื่อจะขอพบท่านแต่กลับถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กันพวกเราเอาไว้ไม่ให้เข้า เค้าบอกเราว่าเข้าไม่ได้ต้องรอตรงนี้ เดี๋ยวนายกจะออกมาพบเองให้รออยู่ที่นี่ พวกเราพยายามอธิบายว่าไม่มีอะไร เราเพียงแต่ต้องการมอบของขวัญและขอพบท่านนายกฯเนื่องในวันเด็ก เหมือนกับเด็กกลุ่มอื่น ๆ ไม่ได้มีอะไร พวกเค้าทำการค้นตัวพวกเรา ของขวัญที่ห่อเอาไว้ก็แก้เชือกออกค้น พวกเราก็ให้เค้าค้นนะคะ เรา ถือว่า เรามาด้วยความบริสุทธิ์ใจ
หลังจากค้นแล้วพบว่า ไม่มีอะไร พวกเรา ขอพบนายกและขอเข้าไปตั้งขบวนอยู่ข้างหน้าเวที พวกเค้าบอกว่าไม่ได้ ต้องรออยู่ตรงนี้ ไม่เป็นไร รออยู่ที่นี่เดี๋ยวนายกก็เดินออกทางนี้อยู่แล้ว รอที่ทางเข้าตรงนี้แหละ แต่เมื่อนายกท่านลงจากเวทีท่านไม่ได้มาหาเรา ท่านเดินกลับเข้าทำเนียบ พวกเค้าโกหกเรา ทำไมพวกเค้าต้องโกหกเราคะ พวกเรามาอย่างตั้งใจ บริสุทธิ์ใจ แต่ทำไมเขาต้องทำกับเราแบบนี้ อย่างน้อยก็ขอเวลาให้พวกหนูสักหนึ่งนาทีก็ได้ จนเห็นนายกนั่งรถออกไป หนูจึงออกวิ่งตามรถนายก เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้ามากันพวกเราไว้ ความจริงจวนจะทันอยู่แล้วนะคะ แต่เพราะเจ้าหน้าที่เค้าผลักหนูออกมาเสียก่อน เกือบล้มไปค่ะ หนูไม่เข้าใจ หนูร้องไห้ หนูไม่ยอมหยุด หนูเดินฝ่าเข้าไปหารถนายกเรื่อยๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้หนูพูดไม่ออก ทำไมนายกต้องทำแบบนี้ จนที่สุดหนูก็ตามรถของท่านไม่ทัน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกันเอาไว้ตลอดทาง เหมือนพวกเค้าเตรียมการอะไรเอาไว้ หลอกให้รอ รอไปรอมา ท่านนายกออกไปทางหลังทำเนียบฯเรียบร้อย

ทีมงานไทยเอ็นจีโอ : จากวันนั้นถึงวันนี้ ได้พบท่านนายกหรือยัง
มึดา : ยัง

ทีมงานไทยเอ็นจีโอ : จนวันเด็กครั้งนี้ หนูและเพื่อนทำอะไรบ้าง
มึดา : ค่ะ วันนี้เตรียมกล่าวรายงานถึงความสำคัญของงานวันเด็กไร้สัญชาติว่าเกิดขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์ใด พูดเรื่องความรู้สึกว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่หลาย ๆ หน่วยงานจะต้องให้ความสำคัญเรื่องเด็กไร้สัญชาติ เป็นการตั้งความหวังครั้งใหม่ ต่อจากนั้นเป็นเวทีเสวนาจากตัวแทนกลุ่มเด็กไร้สัญชาติ น้อง ๆ ส่วนใหญ่จะมาพูดคุย ในเรื่องสิทธิการศึกษา สิทธิการเดินทางออกนอกพื้นที่ที่ค่อนข้างยากลำบาก

ทีมงานไทยเอ็นจีโอ : น้องมึดาอยู่ที่บ้านอะไร
มึดา : บ้านท่าเรือ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อายุ 18 ปี เรียนชั้น ม.5 โรงเรียนสบเมยวิทยาคม

ทีมงานไทยเอ็นจีโอ : ทราบว่าจะได้เข้าไปเรียน ม.พายัพ ในระดับปริญญาตรี ฟรี
มึดา : ค่ะ คือ ช่วงนั้นหนูไปร่วมเสวนา เวทีแก้ปัญหาสัญชาติ เหมือนวันนี้ เพียงแต่ว่าไม่ได้เป็นผู้ดำเนินรายการแต่เป็นตัวแทนของเด็กไร้สัญชาติไปพูด คุย สร้างความเข้าใจ เมื่อคุยก็บอกความใฝ่ฝันว่า อยากเป็นนักกฎหมาย

ทีมงานไทยเอ็นจีโอ : ทำไม
มึดา : กฎหมายเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาเรื่องสัญชาติ ทุกขั้นตอนล้วนเป็นเรื่องทางกฎหมาย อีกอย่างมีนักกฎหมายน้อยมากที่จะสนใจเรื่องนี้ส่วนใหญ่จะสนใจในเรื่อง ฆาตกรรม ยาเสพติด หรือเรื่องอื่น ๆ หากหนูเรียนกฎหมายจบ หนูจะทำงานตรงนี้ เป็นส่วนตรงกลางช่วยเหลือเด็กไร้สัญชาติอีกหลายคน ประสานกับคนกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอำนาจในเรื่องนี้ให้เข้าใจตัวของพวกเรา และจะต้องให้เกิดการปฏิบัติที่จริงจัง แม้ทุกวันนี้การวางนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้จะมีอยู่แต่ว่าในทาง ปฎิบัติแล้วเกิดขึ้นน้อยมาก จนแทบไม่มีเลยก็ว่าได้ จะไปติดต่อหน่วยงานราชก็ถูกไม่ให้ความร่วมมือ

ที่มา :: http://culturelib.in.th/articles/683

ชนเผ่าอินเดียนแดง Abenaki



ชนเผ่าอินเดียนแดง ที่มา : http://www.nativeamericans.com, http://www.tolatsga.org
Abenaki แอบนากี - อาบีนากี

ชนเผ่าพื้นเมืองทางเหนือที่แตกสาขาออกมาจาก อัลกอนเควียน ซึ่งใช้ภาษา อัลกอนเควียน-วาคาชาน ชือแอบนากิ เป็นชื่อที่ถูกเรียกโดยพวกฝรั่งเศส แต่ก็อาจเรียกว่า วาบานากิ คำที่หมายถึง ยามเช้าของตะวันออก ซึ่งเป็นความเชื่อของผู้มีชีวิตภายใต้ดวงอาทิตย์ ชาวแอบนากิยังสืบสายกันมาและมีอยู่ในรัฐ เมน, นิวแฮมเชียร์ และเวอร์มอนต์ ตำนานของชนเผ่าบอกว่าพวกเขามาจากทางใต้ฝั่นตะวันตก ไม่สามารถทราบเวลาที่แน่นอนได้

แต่ประมาณช่วงสงครามนองเลือดกับพวกล่าอาณานิคมชาวอังกฤษ เมื่อถอยร่นเข้าไปถึง แคนาดา พวกเขาได้รับการคุ้มครองจาก กองทัพฝรั่งเศส ชาวแบนากิจึงสร้างชุมชนขึ้น ซึ่งชุมชนของพวกเขาล้อมรอบด้วยรั้วไม้ มีการปลูกข้าวโพด ตกปลาและล่าสัตว์เพื่อยังชีพ แอบนากิ เป็นเจ้าของคำเรียกกระโจมทรงกรวยที่คลุมด้วยหนังหรือเสื่อว่า วิกแวม ซึ่งกลายเป็นคำที่ใช้ทั่วไปในภาษาอังกฤษ

ภาพจาก http://personalweb.smcvt.edu/winooskimills/Abenaki/Abenakimain.htm

สอง พี่น้องของชนเผ่า Abenaki ที่ กรีนวิลล์ รัฐเมน เมื่อ ค.ศ. 1934


ชื่อ อาบีนากิ เรียกตัวเองว่า อัลนันบาล ซึ่งหมายถึง คน ชื่อ อาบีนากิ ออกเสียงหลากหลายกันไป เช่น อาบีนาควี แอบนากิ อัลนันบาล บีนากิ อูบีนากิ วาบานากิ วิปปาแนป ซึ่งเพี้ยนมาจาก มอนแท๊กเนียส (อันกอนควิน) ซึ่งหมายความว่า “ผู้คนแห่งอรุณรุ่ง” หรือ “ชาวตะวันออก” มีการคาดว่า อัลกอนควินทางใต้ของ เซนท์ลอวเรนซ์ ได้ปรับเปลี่ยนชื่อเป็น มาฮิกัน ชาวฝรั่งเศสมักพูดถึงหรือเรียก อาบีนากิว่า ลูป (วูฟ) หรือคล้ายๆกัน ซึ่งมีคำเรียกเป็นทางการคือ นาทิโอ ลูโปเร็ม หรือ วูฟเนชั่น (ชนชาติหมาป่า) ชางฝรั่งเศสมักเรียก อาบีนากิทางตะวันตกว่า โซโกกิ ยืมชื่อ อัลกอนควิน มาจากทางใต้ของนิวอิงแลนด์ สำหรับ อาบีนากิ
ชาวอังกฤษ เรียกในการพบกันครั้งแรกว่า ทาราทีน

ซึ่งเรียกรวมทั้ง อาบีนากิและมิคแมค ต่อมา ทาราทีนเป็นคำที่หมายถึงมิคแมคและชนเผ่าอาบีนากิทางเหนือของ รัฐเมน โซโกกิ หรืออาบีนากิทางตะวันตก รู้จักกันในนิวอิงแลนด์ว่า อินเดียนแห่ง เซนท์ฟรานซิส
ชื่อเรียกอื่นๆของอาบีนากิคือ อานากอนเกส (อิโรควิส) , อะควอนนาคิว(ฮูรอน) , บาชาบา, กันนอนกาเกรอนนอน(โมฮ๊อค), โมแอสโซเนส, มาวีชีนุค, นารานกามิคด๊อค, นัทซากานา(คอนาวากา), โอบูเนโก, โอนากันก้า, ออนโนกอนเกส, โอปานานโก,โอวีนากันเกส, และ แสกตวานิลอม (อิโรควิซ)

ภาษา
อาบีนากิ มีภาษาของชนเผ่าคือ อัลกอนควิน ซึ่งแตกต่างจากมิคแมคที่อยู่ทางเหนือของนิวอิงแลนด์ และอัลกอนควินทางใต้ เคยมีการโต้แย้งถึงความแตกต่างของภาษาของอาบีนากิทางตะวันออกและตะวันตกว่า ภาษาของพวกตะวันตกคล้ายกับ เพนนาคุก

กลุ่มของชนเผ่าอาบีนากิ
ยัง มีการแบ่งกลุ่มไปอีกคือ อะมาซีคอนติ, แอนโดรสค๊อกกิ้น, เคนเนเบค, มาลิซี้ด, อูราสทีกูแอค, พาสซามาควอดดี้, พัทซุยเข่ท, พีน๊อบสก็อต, พิกวาเก็ต, โรคามีร่า, โซโกนี, และ วีวีน๊อก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสมาชิก ของกลุ่มชนเผ่าอาบีนากิ ส่วน มิคแมค และ เพนนาคุก ถูกบันทึกว่า เป็นเผ่าที่แยกออกไป

7 ชนชาติแห่ง แคนาดา
ตัวแทนคณะชนชาติของ แคนาดา 7 ชนชาติ ถูกจัดตั้งขึ้นโดยชนเผ่าที่อาศัยตลอดแม่น้ำ ลอว์เร้นซ์ ในปี ค.ศ. 1750 ประกอบด้วย คอนาวากา(โมฮ็อค), ทะเลสาบแห่ง 2 เทื่อกเขา (อโรควิส และนิปปิสซิ่ง), เซนท์ฟรังซัวร์ (โซโกกิ, เพนนาคุก และอัลกอนควินแห่งนิวอิงแลนด์), บีแคนคัวร์(อาบีนากิตะวันออก) โอสวีกัทชี่ (โอนอนดาก้า และ โอนีด้า), ลอเร็ท(ฮูรอน) และ เซนท์ รีกิส(โมฮ็อค)

ชื่อ เรียกอื่นๆของ ชุนชน อาบีนากิ
อควาดอ๊กต้า, คอบบอสซญีคอนตี, อีบีนีคุก, คีตังฮีนิกกี้, มาสโคม่า, ฒาสชีโรสเคว็ก, เมคาดาคัท, โมโชเคว็น, ฒัสคอนกัส, นีกัสเซท, โอซากรากี, อูวีรากี, พาชารานัค, พอฮันตานัค, พีมาควิด, โพโคพาสซั่ม, ซาบิโน, ซากาดาฮ๊อค, แซทควิน, ซีโกทาโก, โซโวคาทัก, ทาคอนเนท, ยูนีจาวารี, และ วาคูโก

วัฒนธรรม
กล่าวกันว่าชนเผ่าพื้น เมืองอเมริกัน เป็นผู้ครอบครองดินแดนบริเวณ ทางเหนือของนิวอิงแลนด์มากว่า 10,000 ปีแล้ว แต่ไม่มีสิ่งยืนยันว่าชนโบราณนี้เป็นบรรพบุรุษของ อาบีนากิ แต่ก็ไม่มีเหตุผลอื่น อาบีนากิ มีรูปแบบของความเป็นอยู่คล้ายกับ อัลกอนควิน ในทางใต้ของ นิวอิงแลนด์ 

นับจากที่ชนเผ่าเริ่มทำการเพาะปลูก (ข้าวโพด, ถั่ว และน้ำเต้า) ก็มาตั้งถิ่นฐานกันในบริเวณลุ่มน้ำตามแนวฝั่งตะวันออกของทะเลสาบ แชมเพลน เท่าที่มีการสืบค้นคือมีการปลูกข้าวโพดมากกว่า 250 เอเคอร์ (1 เอเคอร์ = 2 1/2 ไร่) ซึ่งการเพาะปลูกเป็นอาหารเพิ่มเติมจากการล่าสัตว์ ตกปลา และหาอาหารจากป่า การหาอาหารจากปลาและอาหารทะเล ขึ้นอยู่กับถิ่นที่อยู่ ในบริเวณที่ดินไม่สมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูก จะมีการใช้ซากปลาเป็นปุ๋ยบำรุงดินด้วย



ชนเผ่าพื้นเมืองไต้หวันตั้ง รร.สอนเป็นแม่มด


ชนเผ่าพื้นเมือง ไต้หวัน ตั้งโรงเรียนสอนเป็นแม่มด หวังสืบทอดพิธีกรรมโบราณของเผ่าก่อนจะเลือนหายไปตามกาลเวลา

นางหว่อง อวี้ หัว เจ้าหน้าที่กิจการสังคมเขตผิงตง ทางตอนใต้ของไต้หวัน เผยว่าชนเผ่าไพ่หวัน หนึ่งในชนเผ่าพื้นเมืองอันหลากหลายของไต้หวัน ได้ตั้งโรงเรียนสอนแม่มดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาพิธีกรรมอันโดดเด่นของชนเผ่าเอาไว้ไม่ให้สูญหาย ท่ามกลางสังคมยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

นางหว่องกล่าวว่า การใช้เวทมนตร์คาถานั้นเป็นส่วนสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมของชนเผ่าไพ่หวัน แต่จำนวนของผู้ที่ฝึกหัดใช้เวทมนตร์นั้นลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว เรากำลังประสบปัญหาการสูญสิ้นพิธีกรรมโบราณ ซึ่งเรากำลังพยายามอย่างหนักที่จะรักษาพิธีกรรมโบราณนี้เอาไว้
ทั้งนี้ เผ่าไพ่หวัน เป็น 1 ใน 14 ชนเผ่าพื้นเมืองของไต้หวัน มีประชากรราว 8.6 หมื่นคน แต่มีพ่อมดแม่มดไม่ถึง 20 คน ซึ่งลดจำนวนลงจากศตวรรษที่แล้วซึ่งมีมากกว่า 100 คน อันเป็นผลจากการเข้ามาของศาสนาคริสต์ และความเชื่ออื่นๆ ขณะที่พ่อมดแม่มดชาวไพ่หวันมีความเชื่อว่าตัวเองเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์ กับพระเจ้า

นางหว่อง ซึ่งมีแม่เป็นแม่มดวัย 88 ปี เผยอีกว่า ขณะนี้โรงเรียนพ่อมดได้เริ่มการเรียนการสอนแล้ว มีนักเรียนเพียง 10 คน แต่หวังว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่านี้ในอนาคต ส่วนการเรียนการสอนขณะนี้มีเป้าหมายเพื่อสอนพิธีกรรมอวยพร
และปกป้องผู้คนจากปีศาจร้าย

ทั้งนี้นางหว่อง กล่าวอีกว่า การถ่ายทอดพิธีกรรมทางจิตวิญญาณให้แก่คนรุ่นใหม่เป็นหนทางที่ดีที่จะเข้าใจ วัฒนธรรมของชาวไพ่หวัน เราสามารถมองกลับไปได้ว่าบรรพบุรุษเคยใช้ชีวิตอย่างไร แต่ปัญหาสำคัญที่สุดขณะนี้คือเราไม่มีภาษาเยน ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับชาวไพ่หวันรุ่นใหม่ที่จะเรียนรู้พิธีกรรม


ที่มา : http://www.innnews.co.th/around.php?nid=190393

เครือข่ายชนเผ่าระดมสมองเตรียมใช้โฉนดชุมชนแก้ ปัญหาที่ดิน


วันนี้ (17 มิ.ย.) ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.) ร่วมกับมูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จัดเวทีสัมมนาเรื่อง การจัดการที่ดินของชุมชนบนพื้นที่สูงแบบโฉนดชุมชน ขึ้น ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จ.เชียงใหม่ โดยมีตัวแทนชุมชนบนพื้นที่สูงเข้าร่วมกว่า 100 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้เป็นผลมาจากนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของภาครัฐ ที่ผ่านมานั้น ได้สร้างความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนมาโดยตลอด โดยเฉพาะชุมชนชนเผ่าและชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคเหนือ ดำรงชีวิตอยู่บนการพึ่งพาทรัพยากรของท้องถิ่นมาเป็นเวลานาน ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายของรัฐที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ซึ่งได้สร้างความไม่มั่นคงในวิถีชีวิตของชุมชนบนพื้นที่สูงมาโดยตลอด ทั้งที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน รวมทั้งความไม่มั่นคงด้านวัฒนธรรม ซึ่งหากไม่สร้างเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาแล้ว ในอนาคตปัญหาเหล่านี้จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกัน คณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2551 โดยมีด้านเกี่ยวกับการจัดการที่ดินว่า จะจัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์ให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนที่ทำกินอยู่ใน ที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน

นายวิริยะ ช่วยบำรุง ผู้ตรวจราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ในอดีตการจัดการทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ มีความผิดพลาดในการจัดการ เพราะเรายึดถือแนวคิดต่างประเทศเป็นหลักว่าต้องรวย ต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรม การจัดการทรัพยากรต่างๆ ก็เป็นในลักษณะการสั่งการจากบนลงล่าง รวมทั้งการหาประโยชน์จากทรัพยากรอย่างเข้มข้น เช่น การเปิดสัมปทานป่า เป็นต้น ดังนั้นในอนาคตหากจะแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ให้ได้ รัฐต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการด้วย ชุมชนต้องมีอำนาจในการจัดการตัวเอง

นายประยงค์ ดอกลำไย กองเลขานุการ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แท้จริงในปัญหาที่ดินไม่ได้เกี่ยวข้องกับชาวบ้านหรือราชการมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือขึ้นอยู่กับการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน และหากจะพิจารณาปัญหาที่ดินในประเทศไทยนั้นจะเห็นว่า ประเทศไทยที่เนื้อที่ 320 ล้านไร่ เดิมทีมีพื้นที่ป่า 150 ล้านไร่ ปัจจุบันเหลือเพียง 82 ล้านไร่ ขณะที่พื้นที่ที่ประชาชนครอบครองและมีเอกสารสิทธิ์มีประมาณ 130 ล้านไร่ หากนำที่ดินเหล่านี้มาจัดสรรให้ประชาชนทั้งประเทศซึ่งมีประมาณ 65 ล้านคนก็จะได้คนละ 2 ไร่ จากนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินช่วงนั้นที่ให้ที่ดินจำนวน 130 ล้านไร่นั้นไปอยู่ที่คนส่วนน้อยแค่ 10% หรือประมาณ 6 ล้านคนเท่านั้น คนจำนวนนี้เป็นเจ้าของที่ดินคนละมากกว่า 100 ไร่

นาย ประยงค์ กล่าวต่อว่า ขณะที่คนส่วนใหญ่อีก 90% ที่เหลือหรือประมาณ 50 ล้านคนมีที่ดินเฉลี่ยประมาณคนละ 1 ไร่เท่านั้น นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าคนไทย 8 แสนครอบครัวไม่มีที่ดินทำกิน ขณะที่ 1-1.5 แสนครอบครัวมีที่ดินทำกินแต่ไม่เพียงพอ และอีก 1 ล้านครอบครัวมีที่ดินครอบครองอย่างผิดกฎหมาย ดังนั้นจะเห็นว่าการจัดการที่ดินที่ผิดพลาดในอดีตทำให้คนรวยครอบครองที่ดิน ส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้นในอนาคตการจัดการที่ดินแบบมีส่วนร่วม ทั้งกรณีโฉนดชุมชนรวมทั้งธนาคารที่ดินจะสามารถคลี่คลายปัญหาดังกล่าวข้างต้น ได้ และรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ด้วย

นายสุมิตรชัย หัตถสาร ผู้อำนวยการพิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น กล่าวว่า สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์คือมีที่ดินทำกิน มีวิถีชีวิตที่ต้องได้รับการคุ้มครอง และอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี การจัดการของรัฐที่ผ่านมา ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป เช่น ไปเป็นแรงงาน สูญเสียพื้นที่ที่เป็นวิถีชีวิต กระทบต่อการทำให้ชุมชนหรือลูกหลานไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในกระแสทุนนิยม การสูญเสียที่ดิน ที่เป็นทรัพย์สิน หรือมรดกของคน จึงส่งผลกระทบทุกๆ ด้าน

นายสุมิตรชัย กล่าวอีกว่า ระยะ 10 ปีที่ผ่านมาชุมชนสร้างรูปธรรมการจัดการที่ดินโยชุมชนกระจายทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างความชอบธรรมในการต่อสู้ การสร้างความเป็นธรรมในการจัดการทรัพยากร ซึ่งในรัฐธรรมนูญถือเป็นโอกาสดีที่รัฐนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่นโยบายของรัฐ ดังนั้นภาคประชาชนต้องเข้าไปมีส่วนร่วม สิ่งสำคัญคือ แปลงหลักการกระบวนการจัดการที่ดินที่หลากหลายรูปแบบในพื้นที่ระดับต่างๆ ประมวลเป็นองค์ความรู้การจัดการที่ดินโดยชุมชน สามารถตอบคำถามการจัดการที่ดินที่ยั่งยืนได้ เช่น การจัดการที่ดินหน้าหมู่ การจัดการที่ดินโดยชนเผ่า

ที่มา :: http://www.naksit.org/content/view.php?id=148

มองมุมกลับ :ความสูญเสียจากการละเลยชนเผ่า

มุมมองบ้านสามย่าน : นฤมล อรุโณทัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551

เหตุที่ตั้งชื่อบทความนี้ว่า "มองมุมกลับ" ก็เนื่องจากที่ผ่านๆ มามีบทความ และงานวิจัยหลายชิ้นที่สะท้อนให้เห็นถึง การที่กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองเสียโอกาส หรือได้รับผลกระทบจากการไร้แผน และนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล ต้องยอมรับว่าไทยเรามีนโยบายที่ส่งเสริมความหลากหลายของวัฒนธรรมและกลุ่มชน เผ่าพื้นเมืองอยู่น้อยมาก ยิ่งนโยบายการปกป้องคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมและการเคารพในศักดิ์ศรีของวิถี แบบชนเผ่าแทบจะไม่มีเอาเสียเลย

บทความนี้พยายามที่จะเสนอมุมกลับ คือแทนที่จะมองผลกระทบและความเสียโอกาสของชนเผ่า ก็จะมองถึงความสูญเสียหรือผลกระทบต่อไทยเราเองจากการที่แผนและนโยบายต่อชน เผ่าเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง

มองมุมตรง -- ชนเผ่าพื้นเมืองกับปัญหาและผลกระทบ

การมองว่ากลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองได้รับผลกระทบและ เป็น "ผู้ถูกกระทำ" นั้นเป็นการ "มองมุมตรง" ชนเผ่าในหลายพื้นที่สูญเสียสิทธิในการจัดการทรัพยากร (ดิน น้ำ ป่า ทะเล) เพราะพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินไม่มีเอกสารสิทธิ บางแห่งก็มีการอพยพชุมชนออกจากพื้นที่ ต่อมามีการส่งเสริมการปลูกพืชเชิงพาณิชย์ ทำให้ชุมชนเป็นหนี้สินมากขึ้น จากการกู้เงินมาลงทุนปลูกพืชเชิงเดี่ยว การกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ฯลฯ หลังจากเป็นหนี้ก็เกิดการเปลี่ยนแปลง ชนเผ่าถูกกดดันต้องออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน เข้ามาอาศัยอยู่ในเมือง เป็นแรงงานไร้ฝีมือ หรือที่แย่ไปกว่านั้นคือเข้าสู่อาชีพบริการทางเพศ

ส่วนเรื่องการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการ ศึกษา ก็มีปัญหาที่ส่งผลต่อชนเผ่าพื้นเมืองหลายประการ เช่น ที่ตั้งสถานบริการห่างไกล คุณภาพของบริการไม่เสมอภาค มีอุปสรรคเรื่องการติดต่อสื่อสาร ผู้ให้บริการขาดจิตวิญญาณ มีการเลือกปฏิบัติ ขาดการส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านรักษาพยาบาล การลดความสำคัญของผู้รู้ในชุมชน

การเป็นกลุ่มชายขอบทำให้เกิดความด้อยโอกาสใน ด้านต่างๆ กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองส่วนใหญ่ขาดพลังอำนาจต่อรองกับภาครัฐ วัฒนธรรมราชการอย่างหนึ่งคือการส่งข้าราชการ "หางแถว" หรือ "นอกแถว"ไปอยู่ถิ่นทุรกันดาร ซึ่งถือเป็นการลงโทษ แต่แทนที่จะเป็นการลงโทษข้าราชการเหล่านั้น กลับเป็นการลงโทษชนเผ่าหรือชุมชนที่ควรจะได้รับการบริการ
 และมีการบริหารจัดการที่พิเศษกว่าที่อื่นๆ

มองมุมกลับ --ประเทศไทยและสาธารณชนต่างหากที่เสียโอกาสจากการละเลยความสำคัญของชนเผ่า

รัฐบาลและสาธารณชนไม่ค่อยได้มองว่าวิถีวัฒนธรรม ชนเผ่าพื้นเมืองมีคุณค่า ยกเว้นในกรณีของการส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือการนำความแปลกแตกต่างมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ประเทศไทยเราจึงไร้แผน และนโยบายเชิงบวกต่อกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง 
 นโยบายที่ผ่านมาทำให้วิถีวัฒนธรรมของชนเผ่าในหลายพื้นที่ ถูกทำลายไปท่ามกลางการพัฒนาแบบกระแสหลัก เพราะไม่ได้เปิดโอกาสให้มีทางเลือกที่หลากหลายพอ จึงปรากฏว่าชนเผ่าพื้นเมืองส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนภาษา วิถีชีวิต และระบบคิดไปเหมือนผู้คนกลุ่มใหญ่

สิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย


ในประเทศไทยมีชนเผ่าพื้นเมือง อาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆของประเทศอยู่มากมาย ได้แ่ก่

(1) กะเหรี่ยง (2) ม้ง (3) เมี่ยน (4) อาข่า (5) ลาหู่ (6) ลีซู (7) ลัวะ (8)ขมุ (9) มลาบรี (10) ถิ่น (11)ชาวเล (12)ซาไก และ(13)ปะหล่อง ซึ่งคนเหล่านี้จะมีภาษา วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน

จริงๆแล้ว ชนเผ่าพื้นเมือง หมายถึง"ชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมที่เกิดและอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน และยืนยันตนว่า"ตนอาศัยอยู่มานานก่อนที่ประเทศไทยสถาปนาเป็นรัฐไทย"

ทั้งๆที่คนเหล่านี้อาศัยอยู่ใน บริเวณอาณาเขตของประเทศไทยมาก่อนที่คนไทยจะอพยพมาอยู่ แต่ทำไมเขาเหล่านั้นกลับกลายเป็นผู้ที่รัฐมองว่าเป็นปัญหาต่อความมั่นคงใน ชาติกัน

อาจด้วยเหตุผลประการหนึ่งที่ คือ ผลจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) ที่ให้ถอนสัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่ มาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดย ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ซึ่งคนต่างด้าวนี้หมายถึง พวกเวียดนามหรือชนเผ่าที่ย้ายมาอยู่ในประเทศไทย แต่ชนเผ่าที่อยู่ในประเทศไทยแต่เดิมอยู่แล้ว กลับถูกรวมเพิกถอนสัญชาติไปด้วย ทำให้เกิดปัญหาเรื่องคนไร้สัญชาติตามในภายหลัง

ในอดีตปัญหาที่เร่งด่วนที่ชน เผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ประสบอยู่คือ ปัญหาที่ดินทำกิน แต่เดิมมีพื้นที่ตามที่สูงใช้ทำไร่ การเกษตร มีผลผลิตไว้บริโภคภายในครอบครัว และ ค้าขายบ้างเท่าที่สามารถทำได้ ที่ดินที่ชนเผ่าเหล่านี้ได้เคยใช้เป็นที่ทำมาหากินกลับถูกประกาศเป็นอุทยาน แห่งชาติ หรือ เขตป่าสงวนไปหมดเกือบร้อยเปอร์เซ็นทำให้ชนเผ่าเหล่านี้ขาดสิทธิในการจัดสรร ทรัพยากรธรรมชาติในเขตชุมชนของตน ขาดที่ดินทำกิน และ ขาดอาชีพในที่สุด

แต่ปัญหานี้ได้ถูกแก้ไขในรัฐ ธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ในเรื่องสิทธิชุมชน มาตรา 66 และ 67 ให้มีการจัดการทรัพยากร และมาตราที่ว่าด้วยการศึกษาทางเลือกที่ชุมชนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างอิสระ เสรีและมีกฎหมายรองรับ

ปัญหาที่สองคือ สิทธิในความเป็นมนุษย์ ชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ แม้พวกเขาบางคนอาจจะไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนหรือเลข13หลักอย่างที่เรามีกัน ก็ไม่ได้แปลว่าเขาจะต้องถูกละเมิดหรือเหยียดหยามว่าเป็นพวกต่างด้าว อยากจะได้เกียรติว่าเขาก็เป็นคนไทยคนหนึ่งเหมือนกัน อยากให้รัฐ เจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติกับเขาอย่างเช่นคนไทยบ้าง ไม่ใช่เพียงแค่ไม่มีเลข13หลัก ก็ทำำกับเขาเหมือนไม่ใช่คน อย่างน้อยเขาก็เป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกคนหนึ่งเช่นกัน

และยังมีนโยบายป้องกันและปราบ ปรามยาเสพติดของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ ในยุครัฐบาลทักษิณมีการจับแพะที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้อยู่หลายคดี และต่อมาในสมัยของรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช มีการประกาศนโยบายปราบปรามยาเสพติดอีกครั้ง เริ่มจากนายเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศในที่ประชุมครม.ว่า "ฆ่าคนค้ายาเสพติดเพิ่มขึ้นอีก 4 พันคน ก็ไม่บาปและไม่ผิดกฎหมาย" จึงประกาศกลยุทธ์ "3 ลด 3 เพิ่ม และ 3 เน้น" แต่ชนเผ่าก็ยังคงถูกข่มเหง รังแก ขูดรีด หรือ บังคับให้ต้องเป็นแพะในคดียาเสพติดเหล่านี้อยู่ดี

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวการวิสามัญฆาตกรรมมากมาย ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเขาเผ่าต่างๆที่ถูกยัดเยียดข้อหาให้เป็นผู้ค้ายาเสพติด โดยเรื่องนี้ยังไม่มีหน่วยงานหรือกลุ่มใดเป็นผู้คัดค้่่าน ที่สำคัญไม่มีใครรู้ว่านโยบายปราบปรามยาเสพติดครั้งนี้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ จะถูกฆ่าตายไปอีกเท่าใด

จะเห็นว่าชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศ ไทยยังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่เป็นจำนวนมาก ใครจะเป็นผู้ปกป้องและช่วยคนเหล่านี้ให้พ้นจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน รัฐจะสามารถช่วยเหลืออะไรคนเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใดหรือได้แต่เพียงซ้ำ เติมให้พวกเขาต้องเจ็บเช่นนี้ตลอดไป!

ที่มา : http://learners.in.th/blog/humanrights/257522

ชนเผ่าชอง กลุ่มชาติพันธ์ ชอง


นเผ่าชอง เป็นกลุ่มชาติพันธ์ คนพื้นเมืองของจันทบุรีและระยอง
ชอง (Chong) ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) สาขาเพียร์ (Pearic branch) เชิญอ่าน ประวัติความเป็นมา......

ชาวชองเป็นชนเผ่าตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตะวันออกแนวเขา บรรทัดของประเทศไทย-กัมพูชา กระจัดกระจายอยู่แถบบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด รวมทั้งในจังหวัดไพลินและ กัมปอดของกัมพูชา บ้านเรือนของชาวชองสร้างจากไม้ไผ่ ชาวชองมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ ประมาณ 20-30 ครอบครัว การสร้างบ้านจะช่วยกันปลูกบ้าน ลักษณะบ้านจะเป็นเรือน ยก พื้นสูงประมาณ 1.5-2.0 เมตรมีบันได 3-5 ขั้น พื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ส่วนของหน้าบ้าน เรียกว่า “ชานบ้าน” ใช้เป็นบริเวณวางสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงใช้ เป็นที่รับประทานอาหาร ส่วนที่สองเป็น กลางบ้านเป็นบริเวณที่ พักผ่อน รับแขกนั่งเล่นหรือ ทำพิธีกรรม ต่าง ๆ ส่วนที่สามเป็นห้อง นอนส่วนใหญ่จะกันไว้ห้อง เดียวใช้ไม้ไผ่ สับแตก ๆ ที่เรียกกันว่า "ฟาก" หลังคา มุงด้วยตับซึ่ง ทำ จากใบไม้บ้านชาวชองมี ลักษณะ เป็นเรือนเครื่องผูกเพราะทุกส่วน ของบ้านที่ต่อกันจะใช้ ้แต่วิธีผูก ด้วยหวาย หรือเชือก

แต่เดิมชาวชองอาศัยอยู่ในป่า ดำรงชีวิตด้วยการทำนา นอกจากนั้นยังมีการเก็บของป่านำ ไปขายในเมือง ได้แก่ น้ำมัน ยางชัน สมุนไพร หวาย และหนังสัตว์ นำมาแลกกับสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เกลือ ยาฉุน หอม กระเทียม เป็นต้น

การปกครองของชาวชอง จะมีผู้นำหมู่บ้านผู้อาวุโสซึ่งสมัยโบราณเรียกว่า “หลวงพล” เป็นที่ยอมรับของหมู่บ้านในส่วนของค่านิยมความเชื่อของ ชาวชอง ชาวชองมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ ภูตผี และศาสนาพุทธ ชาวชองมีการนับถือผี มีประเพณีที่เรียก “การเล่นผีหิ้ง” และ “การเล่นผีโรง”

ประเพณีแต่งงานของชาวชอง เรียกว่า “กาตั่ก” หรือการแต่งงานของลูกสาวคนโต เป็นพิธียิ่งใหญ่ก่อนการแต่งงานของ หนุ่มสาวชาวชองห้ามหนุ่มสาว คบหากันตามลำพัง ห้ามชายหญิงพักค้างคืนบ้านของอีกฝ่ายหนึ่งและถูกเนื้อต้องตัวกันไม่ได้ ถ้าชายหญิงถูกใจกัน ฝ่ายชายจะให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอ การสู่ขอต้องนำหมากพลู ดอกไม้ เทียนไขขึ้นไปกราบผีฝ่ายหญิง แล้วจึงมี ีการเจรจาสู่ขอ พ่อแม่ของฝ่ายหญิงจะเรียกสินสอด ส่วนใหญ่จะเรียกเงินเป็น กลมหรือทอง เมื่อบอกจำนวนสินสอดแล้วฝ่าย ชายจะต้องนำมาเท่าที่เรียก ขาดเกินไม่ได้ ถือว่า “ผิดผี” ช่วงก่อนแต่งงานห้ามผู้หญิงไปไหนมาไหนกับ ฝ่ายชาย หากฝ่าฝืนถือ ว่าเป็นการผิดผี ฝ่ายชายต้องขอขมาโดยการนำธูปเทียนไปกราบไหว้พ่อแม่ฝ่ายหญิง เมื่อเสร็จพิธีแต่งงานฝ่ายชายจะไปค้างบ้าน ฝ่ายหญิง 3 คืน จากนั้นผู้หญิงก็จะไปค้างที่บ้านฝ่ายชายอีก 3 คืน เช่นกัน จากนั้นจึงตกลงอีกครั้งว่าจะพักอาศัยอยู่กับฝ่ายใด

ที่มา :: http://www.aboutchan.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=93&Itemid=105

เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองฯแสดงพลังชุมชนพร้อมจัดการทรัพยากรดินน้ำป่า

เชียงใหม่/เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองฯ ตอบสนองนโยบายรัฐ “โฉนดชุมชน” ประกาศวาระพี่น้องชนเผ่าฯจัดการทรัพยากรชุมชนโดยพลังของชุมชนบนพื้นที่สูง


ระหว่างวันที่ ๗-๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย จัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยเพื่อฟื้นฟูวิธีการจัดการทรัพยากร โดยชุมชน ประจำปี ๒๕๕๒ ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จ.เชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตความหลากหลายทาง วัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง และสร้างความมั่นคงในการจัดการที่ดิน น้ำ ป่า ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน (พอช.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์กรภาคี

สำหรับกิจกรรมในงานมหกรรมชนเผ่าฯใน ๒ วันแรกนั้นประกอบด้วยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการจัดการที่ดินโดย ชุมชนเพื่อชุมชนบนพื้นที่สูงในรูปแบบ “โฉนดชุมชน” การแสดงนิทรรศการ และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง โดยปิดท้ายมหกรรมชนเผ่าฯวันสุดท้ายด้วยการเดินรณรงค์จากวัดสวนดอกถึง ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์เพื่อแสดงตัวตน เผยแพร่ความรู้ในการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนบนพื้นที่สูง และร่วมรายการเวทีสาธารณะของสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ในหัวข้อ “ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยกับการจัดการทรัพยากรดินน้ำป่า”

นายจอนิ โอ่โดเชาประธานคณะกรรมการจัดงานฯ เผยว่า มหกรรมชนเผ่าฯในปีนี้เน้นที่การสร้างเวทีพูดคุยในเรื่องโฉนดชุมชนบนพื้นที่ สูง เนื่องจากพื้นที่ของชุมชนที่สูงไม่มีกฎหมายรองรับ ผิดกฎหมายอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ หรือกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ ซึ่งชุมชนบนพื้นที่สูง ได้เรียกร้องเรื่องของการรับรองสิทธิที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินในรูปแบบ โฉนดชุมชนโดยตลอด อย่างไรก็ตามพี่น้องชนเผ่าจะต้องมีความเข้าใจเนื้อหาของโฉนดชุมชน ต้องมีการจัดการพื้นที่ของชุมชนให้ชัดเจน หรือนำเสนอองค์ความรู้ ความเชื่อในการจัดการทรัพยากรดังสุภาษิตของปกาเกอะญอที่ว่า “กินน้ำให้รักษาน้ำ กินป่าให้รักษาป่า” เพื่อให้นโยบายหรือหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้รับรองการจัดการที่ดินแบบโฉนดชุมชน

นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)กล่าวว่า สิทธิชุมชนเป็นสิทธิที่ตราไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ให้อำนาจชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่ข้อเท็จจริงพบว่าคน 1.2 ล้านครอบครัวที่ไม่มีทำดินทำกิน ขณะที่คนรวยที่เป็นกลุ่มนักธุรกิจและนักการเมืองมีที่ดินมากกว่าคนจน 2.9 แสนเท่า ดังนั้นเห็นว่ากฎหมายทำให้ชาวบ้านเกิดความเดือดร้อน ปล่อยให้คนที่มีอำนาจและเงินมาครอบครอง

ส่วนทางออกนั้น นพ.นิรันดร์เห็นว่า ควรลดอคติทางชาตินิยม เช่น การมองว่าบางเชื้อชาติมีปัญหาด้านยาเสพติด เป็นคนอพยพ ตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งล้วนแล้วเป็นทัศนคติด้านลบ เปลี่ยนเป็นการมองว่าเขาก็เป็นคนที่มีอัตลักษณ์ของตัวเอง ส่วนพี่น้องชนเผ่าต้องเชื่อและภูมิใจในความเป็นชนพื้นเมือง ยึดมั่นในความเป็นอัตลักษณ์ และเปิดพื้นที่ให้สาธารณะรับรู้ ไม่ใช่การประชาสัมพันธ์เชิงการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่คือการบ่งบอกตัวตน บอกสิ่งที่เราเป็นและทำอยู่ เช่น การทำไร่หมุนเวียนที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ดินน้ำป่า เป็นต้น

ด้านพล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)กล่าวเสริมว่า โฉนดชุมชนต้องใช้การมีส่วนร่วมทุกกลุ่มทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชนและชุมชน โดยร่วมมือกันทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา สิ่งสำคัญของการที่จะมีโฉนดชุมชนนั้นต้องมีป่าและส่วนประกอบต่างๆ เช่น จัดทำแนวเขตป่าประเภทต่างๆ ให้ชัดเจน มีแผนที่ชุมชนของบ้านนั้นๆ มีแผนที่รายแปลงของแต่ละครัวเรือน และกฎกติกาของชุมชน เช่น ระเบียบการจัดการรักษา การเปลี่ยนมือ ที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่าตามเจตนาเพื่อรักษาทรัพยากรให้มี ความเข้มแข็งป่าก็จะอยู่ได้และคนก็อยู่ได้เช่นกัน.


ภาพโดย: ดวงมณี เครื่องร้อน
ธีรมล บัวงาม
ส่วนข้อมูลและประชาสัมพันธ์ พอช. ภาคเหนือ
รายงาน : ๙ สิงหาคม ๒๕๕๒

สามนักเขียนชนเผ่าพื้นเมือง


สามนักเขียนชนเผ่าพื้นเมือง
หวังอะไรในงานเขียน


โถ่ เรบอ นักเขียนจากชนเผ่าปาเกอะญอหรือกระเหรี่ยง ผู้เขียนงาน รวมเรื่องสั้น เชวาตัวสุดท้าย

บ้านโถ่เรบอ อยู่ป่าสนวัดจันทร์ แม่แจ่ม ปัจจุบันเขาเป็นครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนชาวไทยภูเขา ที่แม่แจ่มบ้านเกิด และเขียนหนังสือไปด้วย เรียกว่ามาถูกทางมาก ขานรับกับการพูดจากันในห้องประชุมที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


เมื่อ (7 กันยายน 2550) เกี่ยวกับเรื่องระบบการศึกษาว่า ผู้วางนโยบาย และครูสอนไม่เข้าใจชนเผ่า ไม่รู้เรื่องวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ และเป้าหมายในการเรียนก็ไม่ตรงกับการำเนินชีวิต เพราะเป็นการเรียนที่มุ่งหวังจะให้คนที่เรียนเดินออกจากหมู่บ้าน เพื่อทำงานต่างถิ่นหรือ ทำให้ผู้เรียนมีความคาดหวังสูงเกินไป รวมถึงระบบการศึกษาที่ผลิตคนสู่สังคมที่ใช้เรื่องอาชีพ การทำเงิน หรืออาชีพที่มีหน้ามีตา มากกว่าให้เป็นคนดี ให้ช่วยตัวเองและผู้อื่น


โถ่ เรบอ จึงเป็นนักเขียนหนุ่มที่เป็นครูชนเผ่า ที่สอนหนังสือชนเผ่า แม้จะอยู่ในระบบภายใต้นโยบาย แต่เขาย่อมมีความเข้าใจต่อชีวิตได้ดี และเขียนหนังสือของเขาก็เป็นการอีกหนทางหนึ่ง

โถ่เรบอ มาร่วมงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองในครั้งนี้ด้วย เขาพูดถึงการเป็นคนเขียนหนังสือว่า

“ คนที่เขียนหนังสือ เขียนเรื่องราวของชนเผ่าส่วนใหญ่เป็นคนมาจากข้างนอก ไม่ใช่คนในชนเผ่า การเข้าใจในวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา อาจจะเข้าใจผิดไปบ้าง เนื่องจากพี่น้องมีข้อจำกัดในการสื่อสาร ”

นี้คือส่วนหนึ่งที่ทำให้ โถ่เรบอลุกขึ้นมาเขียนหนังสือ

“ศิลปินนักเขียนก็ทำได้ระดับหนึ่ง เท่านั้น ผมอยากเห็นความจริงใจจากหน่วยงานต่าง ๆ

พี่น้องชนเผ่า บางแห่งถูกจำกัดให้อยู่เฉพาะพื้นที่ที่จัดให้ เพื่อเป็นตัวรองรับให้กับนักท่องเที่ยวเข้ามาดูความแปลก เช่น ชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวที่แม่ฮ่องสอน ชนเผ่าปะหล่องที่เชียงดาว ทางรัฐ หรือกลุ่มนักวิชาการบางกลุ่ม กลับเห็นว่าพวกเขาควรอยู่ในพื้นที่กำหนดให้จะดีกว่า ถ้าหากพวกเขาออกนอกพื้นที่หากไม่มีบัตรหรือใบอนุญาตไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ พวกเขาก็จะถูกจับหรือถูกปรับ ทั้งๆที่ชนเผ่าเหล่านี้ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานมากบางชนเผ่าอาศัยอยู่ มาแล้วมากกว่า 100 ปี

โถ่เรบอ ยังคิดว่าถึงตอนนี้แล้วไม่อยากให้ชนเผ่าออกมาเรียกร้องอะไรมากนัก เพราะการเรียกร้องจากรัฐ เสมือนพี่น้องชนเผ่าเป็นคนอื่นไม่ใช่คนไทย จะกลายเป็นคนชายขอบตามที่รัฐต้องการให้เป็น เพราะรัฐมองเป็นเรื่องเศรษฐกิจและความมั่นคง การจัดมหกรรมครั้งนี้ จะทำให้ชนเผ่าเข้าใจและมีความรู้เพิ่มขึ้นว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป

“สิ่ง ที่กลุ่มศิลปินนักเขียนทำได้ในวันนี้ก็คือการมาให้กำลังใจกับพี่น้องชนเผ่า เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการต่อสู้เพราะลำพังศิลปินนักเขียน เสียงของพวกเขาอาจจะไม่ดังพอที่รัฐหรือสังคมจะได้ยิน

ชนเผ่าแต่ละชน เผ่าถูกกำหนดและจำกัดสิทธิหลายอย่างและมองเป็นปัญหาความมั่นคง มากกว่าที่จะมองในฐานะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน การถูกเลือกปฏิบัติ การมองชนเผ่าเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวภายใต้คำว่าการพัฒนา”

จากงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่