Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

สามนักเขียนชนเผ่าพื้นเมือง


สามนักเขียนชนเผ่าพื้นเมือง
หวังอะไรในงานเขียน


โถ่ เรบอ นักเขียนจากชนเผ่าปาเกอะญอหรือกระเหรี่ยง ผู้เขียนงาน รวมเรื่องสั้น เชวาตัวสุดท้าย

บ้านโถ่เรบอ อยู่ป่าสนวัดจันทร์ แม่แจ่ม ปัจจุบันเขาเป็นครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนชาวไทยภูเขา ที่แม่แจ่มบ้านเกิด และเขียนหนังสือไปด้วย เรียกว่ามาถูกทางมาก ขานรับกับการพูดจากันในห้องประชุมที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


เมื่อ (7 กันยายน 2550) เกี่ยวกับเรื่องระบบการศึกษาว่า ผู้วางนโยบาย และครูสอนไม่เข้าใจชนเผ่า ไม่รู้เรื่องวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ และเป้าหมายในการเรียนก็ไม่ตรงกับการำเนินชีวิต เพราะเป็นการเรียนที่มุ่งหวังจะให้คนที่เรียนเดินออกจากหมู่บ้าน เพื่อทำงานต่างถิ่นหรือ ทำให้ผู้เรียนมีความคาดหวังสูงเกินไป รวมถึงระบบการศึกษาที่ผลิตคนสู่สังคมที่ใช้เรื่องอาชีพ การทำเงิน หรืออาชีพที่มีหน้ามีตา มากกว่าให้เป็นคนดี ให้ช่วยตัวเองและผู้อื่น


โถ่ เรบอ จึงเป็นนักเขียนหนุ่มที่เป็นครูชนเผ่า ที่สอนหนังสือชนเผ่า แม้จะอยู่ในระบบภายใต้นโยบาย แต่เขาย่อมมีความเข้าใจต่อชีวิตได้ดี และเขียนหนังสือของเขาก็เป็นการอีกหนทางหนึ่ง

โถ่เรบอ มาร่วมงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองในครั้งนี้ด้วย เขาพูดถึงการเป็นคนเขียนหนังสือว่า

“ คนที่เขียนหนังสือ เขียนเรื่องราวของชนเผ่าส่วนใหญ่เป็นคนมาจากข้างนอก ไม่ใช่คนในชนเผ่า การเข้าใจในวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา อาจจะเข้าใจผิดไปบ้าง เนื่องจากพี่น้องมีข้อจำกัดในการสื่อสาร ”

นี้คือส่วนหนึ่งที่ทำให้ โถ่เรบอลุกขึ้นมาเขียนหนังสือ

“ศิลปินนักเขียนก็ทำได้ระดับหนึ่ง เท่านั้น ผมอยากเห็นความจริงใจจากหน่วยงานต่าง ๆ

พี่น้องชนเผ่า บางแห่งถูกจำกัดให้อยู่เฉพาะพื้นที่ที่จัดให้ เพื่อเป็นตัวรองรับให้กับนักท่องเที่ยวเข้ามาดูความแปลก เช่น ชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวที่แม่ฮ่องสอน ชนเผ่าปะหล่องที่เชียงดาว ทางรัฐ หรือกลุ่มนักวิชาการบางกลุ่ม กลับเห็นว่าพวกเขาควรอยู่ในพื้นที่กำหนดให้จะดีกว่า ถ้าหากพวกเขาออกนอกพื้นที่หากไม่มีบัตรหรือใบอนุญาตไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ พวกเขาก็จะถูกจับหรือถูกปรับ ทั้งๆที่ชนเผ่าเหล่านี้ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานมากบางชนเผ่าอาศัยอยู่ มาแล้วมากกว่า 100 ปี

โถ่เรบอ ยังคิดว่าถึงตอนนี้แล้วไม่อยากให้ชนเผ่าออกมาเรียกร้องอะไรมากนัก เพราะการเรียกร้องจากรัฐ เสมือนพี่น้องชนเผ่าเป็นคนอื่นไม่ใช่คนไทย จะกลายเป็นคนชายขอบตามที่รัฐต้องการให้เป็น เพราะรัฐมองเป็นเรื่องเศรษฐกิจและความมั่นคง การจัดมหกรรมครั้งนี้ จะทำให้ชนเผ่าเข้าใจและมีความรู้เพิ่มขึ้นว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป

“สิ่ง ที่กลุ่มศิลปินนักเขียนทำได้ในวันนี้ก็คือการมาให้กำลังใจกับพี่น้องชนเผ่า เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการต่อสู้เพราะลำพังศิลปินนักเขียน เสียงของพวกเขาอาจจะไม่ดังพอที่รัฐหรือสังคมจะได้ยิน

ชนเผ่าแต่ละชน เผ่าถูกกำหนดและจำกัดสิทธิหลายอย่างและมองเป็นปัญหาความมั่นคง มากกว่าที่จะมองในฐานะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน การถูกเลือกปฏิบัติ การมองชนเผ่าเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวภายใต้คำว่าการพัฒนา”

จากงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น