Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

งานชน เผ่าโลก หรือเหลือเพียงพิธีกรรมที่ไร้จิตวิญญาณ


อาจารย์ ศรีศักร์ วัลลิโภดม ได้เสนอแง่คิดไว้อย่างสนใจในการปาฎกาฐา ตอนหนึ่งว่า
ปัจจุบันคนในประเทศ ไทยไม่เข้าใจว่าชนเผ่าคืออะไร เพราะเขามองว่าเป็นคนไทยไปหมด คนไหนที่ต่างไปจากคนไทยก็เกิดปัญหาขึ้นมา ซึ่งเมื่อเราจะทำความเข้าใจถึงชนเผ่านั้นผมอยากจะทำความเข้าใจว่า ก่อนสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เราเห็นภาพของชนเผ่าค่อนข้างชัดเจน แต่หลังจากสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์มาแล้ว มันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย
ที่ว่าก่อนหน้าจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์พัฒนาบ้านเมืองสังคมไทยประกอบเป็นสังคมอยู่ 2 ระดับ ระดับแรกเป็นสังคมของชนเผ่า ระดับต่อมาเป็นสังคมของชนชาติ ความเป็นชนเผ่านั้นหมายความว่าเขาอยู่เป็นเผ่าพันธุ์นับถือเครือญาติ คนเหล่านี้เท่าที่รู้จะอยู่ในเขต ที่สูง ที่เขตชายขอบ อย่างชายทะเล อะไรต่างๆ เหล่านี้ 
ความเป็นชนเผ่านั้นมีพื้นที่ซึ่งต่างจากความเป็นชนชาติ อย่างพวกกระเหรี่ยง หรือว่า ชาวเล อะไรอย่างนี้ พื้นที่ของเขาไม่เหมือนกับพื้นที่ของพวกที่เป็นชนชาติอย่างเช่นชาวนา พื้นที่ที่กว้างและจะมีความเคลื่อนไหวสูงอย่างเช่นพวกชาวเลนั้น พื้นที่ที่มีอยู่เป็นหมู่บ้านก็มี แต่พื้นที่ที่เป็นอาณาบริเวณเพื่อทำมาหากิน มีเขตแดนของเขาแล้วยังมีพื้นที่ที่ทำพิธีกรรมร่วมกัน
ปาฎกาฐาดังกล่าวเกิดขึ้น ระหว่างวันที่ 7-9 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่หอประชุม ม.เชียงใหม่ โดยเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ จากทุกภาคของประเทศไทย ได้แก่ ปากะญอ ม้ง เมี่ยน อาข่า คะฉิ่น ชอง ไททรงดำ ไทใหญ่ มอญ มอแกลน มอแกน อูรักละโว้ย ฯลฯ ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายพันธมิตร ร่วมจัดงาน มหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2551” เพื่อ เฉลิมฉลองปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง
งานครั้งนี้จัดขึ้นเป็นที่ สอง จัดขึ้นท่ามกลางการดำรงอยู่อย่างเบาหวิวและการ ให้ค่ากระทั่งความเข้าใจในวิถีชีวิตของชนเผ่าน้อยลงไปทุกที น้อยลงทั้งในแง่สร้างให้ชนเผ่าเป็นเพียงสัญลักษณ์ปราศจากจิตวิญญาณดั่งเดิม น้อยลงกับความเข้าใจความหลากหลายในมิติรัฐชาติแบบล้าหลัง คลั่งชาติ จึงสามารถเห็นความลักลั่นอยู่ในตัวเองของการพยามเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมและ สะท้อนให้เห็นถึงการจำกัดกรอบหลอมให้เป็นวัฒนธรรมเดียว 
ชนเผ่าวันนี้จึงอยู่ในสภาพไม่ต่างจากสัญลักษณ์ที่ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ วันนี้นอกเสียจากจะตกเป็นเครื่องมือของทุนนิยมแล้ว เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงในปัจจุบันเราจะพบปัญหามากมายที่กำลังกระทบกับวี ถีชีวิตของพี่น้องชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาที่ดิน การอพยพคนออกจากป่าด้วยเหตุผลของการอนุรักษ์ หรือ ปัญหาสัญชาติที่ถูกลิดลอนจนกลายหรือเหลือเพียงพลเมืองชนสอง หรือ ปัญหาโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ส่งผลกระทบกับชุมชนเดิม เกิดการแย่งชิงทรัพยากรอย่างรุนแรงกระทั่งเกิดข้อพิพาทจนนำไปสู่ความรุนแรง การออกโฉนดน้ำถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด 
วันนี้ทะเลกำลังจะถูกแบ่งเพื่อผลประโยชน์ของนายทุน ลมหายใจของพี่น้องมอแกนซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธ์ดั่งเดิมรวยรินลงทุกที เช่นกันกับนโยบายการท่องเที่ยวที่ลดค่าราคาคนให้เหลือเพียงสวนสัตว์มนุษย์ เพียงเพื่อรองรับและเปิดตลาดการท่องเที่ยวจากต่างชาติ กรณีของพี่น้อง กะเหรี่ยงคอยาว ก็ชัดเจนเช่นกัน นี่ยังไม่นับรวมอคติของคนทั่วไปที่มองคนชนเผ่าเสมือนประหนึ่งคนนอกรัฐที่ตน สังกัด นับว่าการดำรงอยู่ของพี่น้องชนเผ่าอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
การจัดงานครั้งนี้มีเหตุผล อย่างน้อยที่สุดน่าจะอยู่ในสามประเด็นหลัก กล่าวคือ ประเด็นแรกสุดคือต้องการยกระดับและสร้างกระแสตลอดจนเกิดการรวมตัวกันของชน เผ่าทั่วประเทศซึ่งทั้งหมดที่สามารถสรุปได้ตอนนี้ 23 ชนเผ่าและเพื่อสอดคล้องกับกติกาสากลที่ว่าด้วยวันดังกล่าวเป็น งานชนเผ่าโลก ประเด็นที่สอง คือการรวมรวบสภาพปัญหาของพี่น้องชนเผ่าจากทั่วประเทศนำเสนอสู่ระดับนโยบาย กระทั่งผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างจิงจัง และในประเด็นสุดท้าย คือต้องการสร้างกระแส สร้างความเข้าใจกับสังคมทั่วไปเกี่ยวชนเผ่าต่างๆในประเทศ เป็นความเข้าใจในวิถีชีวิตการดำรงอยู่ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เหตุผลข้างต้นเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้วนั้น ถือว่าเป็นมิติที่ดีที่พยามผลักดันงานดังกล่าวให้เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
แต่เท่าที่เห็นและพยาม วิเคราะห์จากตลอดระยะเวลาสามวันของการจัดงานดังกล่าว ถือว่าจำนวนคนเข้าร่วมค่อนข้างน้อยซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นในส่วนของคนที่มา ร่วมงานซะเป็นส่วนใหญ่ ทั้งจากเวทีเสวนาทางวิชาการ หรืองานแสดงวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆสิ่งที่น่าตกใจคือ ไม่มีการนำเสนอข่าวจากสื่อกระแสหลักเลย เช่นกันกับคนทั่วๆไปที่ไม่เห็นเข้ามาในงานเลย นี่ยังไม่ต้องพูดถึงนักศึกษาในเชียงใหม่ที่ถือว่าเป็นปัญญาชนคนหนุ่มสาว ก็ร่วมน้อยมากเมื่อมองจากเนื้อหาของงานและหลักการ ในการจัด 
จำเป็นอย่างยิ่งต้องเข้าใจบริบทและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว หากต้องการที่จะยกระดับและสื่อสารกับสังคมใหญ่ให้เข้าใจวิถีชีวิตของพี่น้อง ชนเผ่า อาจต้องกลับไปทบทวนถึงรูปแบบและเนื้อหาตลอดจนการประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ แน่นอนงานดังกล่าวเราอาจตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม 
ในแต่ละเชื้อชาติซึ่งมีวิวัฒนาการของตนเองมาอย่างยาวนานทั้งในรูปแบบของ ภาษา ประเพณี ความเชื่อ แต่ทั้งหมดทั้งปวงไม่สามารถที่จะตอบโจทย์ถึงการเข้าใจ เข้าถึง ของคนในสังคมได้ อย่าได้แปลกใจเลยเมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างเชื้อชาติขึ้นมา และทุกครั้งมักจบลงด้วยความรุนแรงทั้งสิ้น มีตัวอย่างให้เห็นมากมายทั้งอดีตและปัจจุบัน ฉะนั้นการที่จะเข้าใจถึงความหลากหลายต้องเปิดใจที่จะยอมรับความแตกต่างด้วย แตกต่างเพื่อเติบโตอย่างสมานฉันท์


    งานครั้งนี้อาจเป็นนิมิตร หมายที่ดีสำหรับการเปิดพื้นที่ทางสังคมของพี่น้องชนเผ่า แต่มันจะเปล่าประโยชน์โดยสิ้นเชิงหาก การรับรู้ของรัฐยังละเลย ไม่เข้าใจรากของความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่จริงในสังคมไทย มิเช่นนั้นแล้วมันก้คงเป็นเพียงพิธีกรรมที่ไร้จิตวิญญาณ ดังที่อาจารย์ศรีศักร์ ได้เสนอความคิดเห็นในเบื้องต้น

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น