Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทบาทของ“สื่อ” กับวิถีชีวิตเด็กชนเผ่า

สื่อกับวิถีชีวิตเด็กชนเผ่า
ผลจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ที่ต้องการให้ทุกๆ ชุมชน ทุกๆ พื้นที่ในชนบท รวมถึงชุมชนบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นที่อยู่ของกลุ่มคนชนเผ่า พื้นเมือง ได้มีสาธารณูปโภคครบ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำประปา หรือโทรศัพท์ ทำ ให้ความเจริญได้เข้าถึงชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างรวดเร็ว

ผลจากการพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานของภาครัฐ ที่ต้องการให้ทุกๆ ชุมชน ทุกๆ พื้นที่ในชนบท รวมถึงชุมชนบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นที่อยู่ของกลุ่มคนชนเผ่า พื้นเมือง ได้มีสาธารณูปโภคครบ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำประปา หรือโทรศัพท์ ทำ ให้ความเจริญได้เข้าถึงชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.
2527 เป็นต้นมา และทำให้สื่อต่างๆ เริ่มเข้ามามี บทบาทกับกลุ่มคนชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

สื่อชนิดแรกที่เข้ามีบทบาท ต่อกลุ่มคนชนเผ่าพื้นเมืองคือ สื่อวิทยุ เนื่องจากเป็นสื่อที่ฝ่ายรัฐบาลใช้ เป็นเครื่องมือต่อต้านกลุ่มคอมมิวนิสต์ในช่วงกลางทศวรรษที่ 2500-2510 โดยมี การผลิตรายการวิทยุภาษาชนเผ่า
6 ภาษา (ปัจจุบันมี 7 ภาษา) ซึ่งเนื้อหาของรายการจะเป็นการนำเสนอข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐเป็น หลัก หลังจากนั้นสื่อต่างๆ ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในชุมชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ หรือสื่อสิ่ง พิมพ์ เนื่องจากคนในชุมชนบนพื้นที่สูงต้องมีการพบปะกับคนพื้นราบมาก ขึ้น สาเหตุมาจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตรกับคนพื้น ราบ มาตรการการท่องเที่ยวของภาครัฐ และการศึกษา

ปัจจุบันสื่อต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ดังจะเห็นได้จากปริมาณการเปิดรับสื่อต่างๆ ของเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่เพิ่มขึ้นสูงในปริมาณที่ไม่แตกต่างไปจาก เด็กและเยาวชนโดยทั่วไป ซึ่งอาจมีบ้างในบางพื้นที่ที่ยังมีข้อจำกัดในเรื่อง ของไฟฟ้า และความยากจนที่ทำให้เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองในพื้นที่นั้นมี ปริมาณการเปิดรับสื่อน้อยกว่าเด็กและเยาวชนโดยทั่วไป
โดยภาพรวมสื่อที่เด็กและ เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองมีปริมาณการเปิดรับมากที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ รองลงมาคือ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร/นิตยสาร/เอกสารแผ่น พับ และอินเตอร์เน็ต ตามลำดับ แต่เมื่อแยกกลุ่มเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้น เมืองที่อยู่ในชุมชนเมืองกับชุมชนบนพื้นที่สูงจะพบว่า เด็กและเยาวชนชนเผ่า พื้นเมืองที่อยู่ในชุมชนเมืองจะมีปริมาณการเปิดรับสื่อโทรทัศน์มากกว่ากลุ่ม เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่ในชุมชนบนพื้นที่สูง แต่เด็กและเยาวชน ชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่ในชุมชนบนพื้นที่สูงจะมีปริมาณการเปิดรับสื่อวิทยุ มากกว่าเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่ในชุมชนเมือง

ในเรื่องของเนื้อหารายการที่ เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองชอบดูพบว่า รายการโทรทัศน์ที่เด็กและเยาวชนชน เผ่าพื้นเมืองชอบดูมากที่สุด คือรายการละคร รองลงมาคือ รายการเพลง รายการกีฬา และรายการข่าว รายการวิทยุที่เด็กและเยาวชนชนเผ่า พื้นเมืองที่ชอบฟังมากที่สุด คือรายการเพลง รองลงมา คือรายการที่ให้ความรู้ และรายการข่าว สำหรับคอลัมน์ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ที่เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองชอบอ่านมากที่สุดคือ ข่าวเหตุการณ์ ปัจจุบัน รองลงมาคือ ข่าวบันเทิง และข่าวกีฬา

เด็ก และเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองส่วนใหญ่นั้นไม่มีปัญหาในเรื่องของการเปิดรับ สื่อ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังมีปัญหาในเรื่องของการเปิดรับสื่อ ซึ่ง ปัญหาในการเปิดรับสื่อของเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองคือ การไม่มีโทรทัศน์ การที่โทรทัศน์ไม่สามารถรับสัญญาณได้ครบทุกช่อง การคมนาคมไม่สะดวก ทำให้ไม่ได้รับหนังสือพิมพ์ หนังสือ และข่าวการศึกษา ต่างๆ เป็นต้น

ซึ่งผลจากการเปิดรับสื่อ ต่างๆ ดังที่กล่าวมา ของกลุ่มเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองนั้น ก่อให้เกิด ผลกระทบมากมายแก่เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งผลกระทบนั้นสามารถแยกออก เป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนที่เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองเป็นผู้ที่รับสื่อ จากภายนอกและในส่วนที่สื่อจากภายนอกนำ เรื่องราวของคนชนเผ่าพื้นเมืองไปถ่ายทอดสู่บุคคลอื่นๆ ในสังคม ซึ่งในส่วนที่เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองเป็นผู้ที่รับสื่อจากภาย นอก ก่อให้เกิดผลกระทบใน
2 ด้าน เหมือนเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอ กล่าวคือ ด้านหนึ่งเมื่อสื่อได้เข้ามา มีบทบาทในชุมชนบนพื้นที่สูง ก็นำมาซึ่งความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องขององค์ความรู้ที่ทันสมัย ให้กับเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ไม่ ว่าจะเป็นในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งสื่อมีส่วน สำคัญในการพัฒนาทางด้านสติปัญญาให้กับเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองนอกเหนือ ไปจากการเรียนในสถานศึกษา แต่ในอีกด้านหนึ่งการที่สื่อเข้ามาในชุมชนนั้นก็ ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบแก่เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งในแง่ของ มิติทางสังคม และมิติทางวัฒนธรรม

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในเชิงลบ ของการเปิดรับสื่อจากภายนอกโดยเฉพาะสื่อกระแสหลักในแง่มิติทางสังคม นั้น กล่าวคือ การที่เด็กและเยาวชนมีการเปิดรับสื่อจากภายนอกมากๆ อาจก่อให้ เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมา เช่น ปัญหาเด็กเร่ร่อน ปัญหายาเสพติด ปัญหาการค้าประเวณี ปัญหาการมี เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการทะเลาะวิวาท เป็นต้น ซึ่งประเด็นปัญหา ต่างๆ เหล่านี้ในแง่ที่เป็นผลมาจากการรับสื่อนั้นสามารถวิเคราะห์สาเหตุได้เป็น
2 ประเด็น ประเด็นที่หนึ่งคือสื่อสร้างภาพในจินตนาการให้กับเด็กและเยาวชน และประเด็น ที่สองคือสื่อก่อให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบของเด็กและเยาวชน ส่วนผลกระทบ ที่เกิดขึ้นในเชิงลบของการเปิดรับสื่อจากภายนอกในแง่มิติทางวัฒนธรรม นั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทั้งในเรื่องของการแต่งกายและภาษาของ เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง

ส่วนผลกระทบในส่วนที่สื่อจาก ภายนอกนำเรื่องราวของคนชนเผ่าพื้นเมืองไปถ่ายทอดสู่บุคคลอื่นๆ ในสังคมนั้น ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผ่านรายงานข่าวต่างๆ เช่น ข่าวที่กล่าวหาว่าคนชนเผ่าเป็นผู้บุกรุกพื้นที่ป่าสงวน หรือข่าวที่ระบุว่า คนชนเผ่านั้นๆ ค้ายา และการนำบุคลิก ลักษณะการพูด ประเพณี พิธีกรรม หรือวัฒนธรรมของคนชนเผ่าออกมาเผยแพร่ โดยไม่ตรวจสอบให้ถูกต้อง ตาม เรื่องราวที่แท้จริง รวมทั้งบิดเบือนข้อมูลบางอย่างเพื่อสร้างความน่า สนใจ ส่งผลกระทบโดยตรงแก่ตัวเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ทำให้เด็กและเยาวชนต้องกลายเป็นตัวตลกของสังคม รู้สึกว่าตนแปลกแยกกว่าคน อื่นๆ ในสังคม ทำให้เด็กและเยาวชนขาดความภาคภูมิใจในตนเอง และพยายามปกปิดความเป็น ชนเผ่าของตน

ที่มา :: Ccdkm.org

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น