Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

9 สิงหาคม จาก “ปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมือง” สู่การสถาปนา “วันชนเผ่าพื้นเมืองไทย”

วันชนเผ่าพื้นเมือง
9 สิงหาคม จาก “ปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมือง” สู่การสถาปนา “วันชนเผ่าพื้นเมืองไทย” โดย : วิวัฒน์ ตามี่

     ที่มาของการประกาศปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้น เมืองนั้น เกิดจากประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียนแดงในประเทศสหรัฐ อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งชนเผ่าอินเดียนแดงได้ร่วมกันออกมาเรียกร้องต่อสู้และโจมตีกลุ่มประเทศต่างๆเหล่านี้ ว่าเป็นผู้บุกรุกดินแดนของตนและละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงเรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนและแสดงจุดยืนว่า ผืนแผ่นดินเป็นของตนและถูกคนภายนอกเข้ารุกราน ดังนั้น สิทธิดังกล่าวจะต้องได้รับการรับรองและคุ้มครอง


จากเหตุการณ์ ดังกล่าว กลุ่มอินเดียนแดงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการนำประเด็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าอินเดียนแดงกับรัฐบาลสหรัฐเข้าไป สู่เวทีการพูดคุยของสันนิบาตแห่งชาติ (The League of Nation) ในปี ๑๙๒๐ที่ประชุมมีข้อถกเถียงมากมายเพื่อให้ได้ข้อยุติตามที่ชนเผ่าอินเดียนแดง เรียกร้อง ซึ่งทำให้ประชาคมโลกรับรู้และสนใจประเด็นชนเผ่าพื้นเมืองมากขึ้น

ใน ปี ๑๙๗๐ สหประชาชาติโดยผู้แทนพิเศษ นายโจเซ มาร์ติเนส โคโบ ทำการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาประชากรชนเผ่าพื้นเมือง ผลการศึกษาทำให้มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ชนเผ่าพื้นเมืองและได้เรียกร้อง ให้องค์การสหประชาชาติทำงานจริงจังมากขึ้น จนทำให้นำไปสู่การจัดตั้งคณะทำงานว่าด้วยประชากรชนพื้นเมือง (Working Group on Indigenous Population -WGIP) 

ในปี ๑๙๘๒ คณะทำงานชุดนี้ได้ดำเนินกิจกรรมในการสนับสนุนและปกป้องสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ด้วยการประทศวรรษสากลของชนเผ่าพื้นเมืองในปี ๑๙๙๕-๒๐๐๔ ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศต่างๆ ๑๓ กลุ่มได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์

ใน ปี ๑๙๙๓ องค์การสหประชาชาติ(UN) ได้ประกาศเป็นปีแห่งชนเผ่าพื้นเมืองสากลและมีการประกาศว่าจัดตั้งเวทีถาวรชน เผ่าพื้นเมือง (Permanent Forum on Indigenous Issues) สำหรับการทำงานชนเผ่าโดยตรงในระบบงานขององค์การสหประชาชาติ และในปี ๒๐๐๐ สภาเศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) ได้มีการจัดประชุมเพื่อจัดตั้งเวทีถาวรชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งส่งทำให้มีพื้นที่เท่าเทียมกับตัวแทนของรัฐในหน่วยงานถาวรหน่วยงานหนึ่ง 

ในระบบ UN ชนเผ่าพื้นเมืองได้อาศัยกลไกเวทีถาวรชนเผ่าพื้นเมืองในรณรงค์ผลักดันประเด็น ปัญหาของชนเผ่าพื้นเมืองต่อเวทีสหประชาชาติ ส่งผลให้เกิดการร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ขณะนี้อนุสัญญาฉบับนี้ได้ผ่านสภาสิทธิมนุษยชน (Human right Council ) แล้ว กำลังจะได้รับฉันทามติจากสมัชชาสหประชาชาติให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย ระหว่างประเทศภายในเดือนกันยายน ๒๐๐๗ นี้

ระหว่างปี ๒๐๐๖-๒๐๑๔ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมืองระยะที่๒ กำหนดให้วันที่ ๙ สิงหาคมของทุกปี เป็น“วันชนเผ่าพื้นเมืองสากลโลก” UN เสนอให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมต่างๆที่ชนเผ่าพื้นเมืองจัดขึ้นในวันนี้ สำหรับประเทศไทยยังไม่เคยสนับสนุนการจัดงานวันชนเผ่าพื้นเมืองดังกล่าวเลย สักครั้ง เลยไม่แน่ใจว่ารัฐไทยคิดอย่างไรกับชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย

ข้อ สังเกตคือ ประเทศไทยมีวันสำคัญต่างๆมากมายนอกเหนือจากวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันแรงงานแห่งชาติ วันเด็ก วันสตรีสากล วันผู้สูงอายุ เป็นต้น แต่ยังไม่เคยมีวันที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่า ทั้งที่ในประเทศไทยมีกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองจำนวนมากมายและเป็นที่รับรู้ใน เวทีสากล


“ประเทศไทยกับชนเผ่าพื้นเมือง”

เมื่อย้อนกลับมาดู ในประเทศไทย ว่าทำไมที่ผ่านมา รัฐไทยไม่เคยยอมรับว่ามีชนเผ่าพื้นเมือง ก็คงต้องกลับไปดูข้อเท็จจริงหลักฐานทางประวัติศาสตร์และการศึกษาทางมานุษย วิทยา ซึ่งคงช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น สิ่งที่ค้นพบคือ สังคมไทยยอมรับว่าการคงอยู่ของประเทศไทยประกอบด้วยความหลากหลายของกลุ่ม ชาติพันธุ์กว่า ๕๐ กลุ่ม ความมีตัวตนของบางกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือ โดยการอพยพ ก็อยู่มานานก่อนสถาปนาเป็นรัฐไทยด้วยซ้ำ

ดังนั้น การสำนึกตนเป็นคนไทยและเรียกร้องสิทธิต่างๆ จากรัฐไทยย่อมมีความชอบธรรม ควรได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างเท่าเทียมเช่นคนไทยทั่วไปโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

แต่ข้อเท็จจริง ที่ปรากฏนั้น รัฐไทยไม่เคยยอมรับการมีตัวตนของชนเผ่าในฐานะชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ ไม่ยอมรับรองสิทธิสถานภาพบุคคลทางกฎหมายเหมือนประชาชนคนไทยพื้นราบทั่วไป ชนเผ่าจำนวนมากจึงไม่ได้รับการรับรองสิทธิความเป็นพลเมืองตามกฎหมาย สิทธิในถิ่นที่อยู่ และไม่ได้รับสิทธิบริการขั้นพื้นฐานจากรัฐ

ทุก วันนี้ รัฐไทยยังคงมีทัศนคติต่อชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในทางลบอยู่ตลอดเวลา ต่างถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้านในฐานะผู้หลบหนีเข้า เมืองผิดกฎหมาย มีการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลยากแก่การเข้าถึง ทำให้เป็นอันตรายแก่คนส่วนใหญ่ นอกจากนั้น ยังถูกมองว่าชนเผ่าทำการเกษตรบนพื้นที่สูง ทำลายทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ ที่ดิน แม่น้ำถูกทำลาย หนำซ้ำยังถูกกล่าวหาว่านิยมปลูกฝิ่นและชอบอพยพโยกย้ายถิ่นทำให้ยากแก่การ ปกครองควบคุม

ด้วยข้ออ้างเหล่านี้ รัฐจึงพยายามใช้แนวคิด หาแนวทางควบคุม ด้วยการใช้แนวคิด “แยกคนกลุ่มน้อยออกจากคนกลุ่มใหญ่” ภายใต้นโยบายการแยกออก (separation) และควบคุม (control) มุ่งเปลี่ยนจิตสำนึกด้านวัฒนธรรมให้มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ต่อรัฐไทยมากกว่าคิดแก้ไขปัญหาที่ชนเผ่าประสบอยู่

เมื่อ องค์การสหประชาชาติมีการประกาศปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลก รัฐไทยรู้สึกเฉยๆ คิดว่าไม่เกี่ยวข้องอะไรกับประเทศไทยเพราะคิดว่าไม่มีชนเผ่าพื้นเมืองอาศัย อยู่ มีแต่คนต่างด้าวและชนกลุ่มน้อยเท่านั้น

ชนเผ่าพื้นเมืองคิด อย่างไรกับรัฐไทย แท้จริงแล้ว ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศ ล้วนสำนึกตนว่า ตนคือคนดั้งเดิมและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย และถือว่าเป็นผู้มีส่วนก่อร่างสร้างแผ่นดินร่วมกันมาเฉกเช่นเดียวกับชนกลุ่ม อื่น... แต่รัฐไทยในกลุ่มชนชั้นนักปกครองกลับมองข้าม ไม่ยอมรับข้อเท็จจริงนี้ ดังนั้น จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับชนเผ่าพื้นเมืองจึงเป็นแบบคู่ขนาน ต่างฝ่ายต่างหวาดระแวง ไม่เคยไว้วางใจกันมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม ในหลายปีที่ผ่านมา กระแสสังคมโลกในเรื่องสิทธิมนุษยชนได้มีพัฒนาการขยายความหมายและขอบเขตกว้าง ขวางขึ้น ผลักดันให้มีกลไกคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลก

กระทั่ง ประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามและให้สัตยาบันกติการะหว่างประเทศและนุสัญญา ประกอบเป็นพันธะกรณีที่จะต้องยึดปฏิบัติรวม ๕ ฉบับด้วยกันคือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และอนุสัญญาการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและพิธีสารเลือกรับ

และ ในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ ก็ได้บัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยยึดถือ เกณฑ์กติกาตามรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่าเป็นสัญญาบ่งบอกว่ายอมรับชนเผ่าพื้นเมืองมากขึ้น แต่มักวงเล็บไว้เสมอว่ายอมรับเฉพาะบางชนเผ่าเท่านั้นมิใช่ทั้งหมด

การประกาศ “วันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย” คือการกำหนดชะตากรรมตนเอง

การ ประกาศวันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ในวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ นี้ ถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญ และครั้งแรกที่ดำเนินการเริ่มต้นจัดงานโดยเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศ ร่วมกับองค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมือง และได้รับการสนับสนุนจัดงานจากสถาบันชาติพันธุ์พัฒนา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

โดยมีเป้าหมายของการ ประกาศวันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ก็เพื่อประกาศให้สาธารณะและประชาคมโลกรับรู้เรื่องราวชนเผ่าพื้นเมืองไทยว่า มีตัวตนและมีจุดยืนอย่างไรต่อสังคมไทยและในเวทีสากล

และที่สำคัญที่ สุดก็คือ เพื่อให้รัฐบาลไทยตระหนัก เห็นความสำคัญและยอมรับชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย สังคมไทยเกิดการเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายของชนเผ่าพื้นเมือง ที่จะนำไปสู่การยอมรับและอยู่ร่วมกันโดยปราศจากอคติทางชาติพันธุ์ อย่างแท้จริง.

ที่มา :: thaioctober.com

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น