Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

แจนนี่ ลาซิมบัง: ‘ปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลกแห่งสหประชาชาติ กับผลกระทบที่มีต่อชนเผ่าพื้นเมือง’

ชนเผ่าพื้นเมืองโลก
แจนนี่ ลาซิมบัง: ‘ปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลกแห่งสหประชาชาติ กับผลกระทบที่มีต่อชนเผ่าพื้นเมือง’

แจ นนี่ ลาซิมบัง

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมือง แห่งเอเชีย

(Secretary General of AIPP Foundation)

แจนนี่ ลาซิมบัง (Ms.Jannie Lasimbang) เธอเป็นชนพื้นเมือง ชาวมาเลเซีย ปัจจุบัน เธอเป็นเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองแห่งเอเชีย (Secretary General of AIPP Foundation) ซึ่งเมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา เธอได้เข้าร่วมงาน “วันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย” ที่ห้องประชุม สถาบันวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้บรรยายพิเศษ เรื่อง “ปีทศวรรษสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลกแห่งสหประชาชาติ กับผลกระทบที่มีต่อชนเผ่าพื้นเมือง”

ตนต้องขอแสดงความยินดีที่พี่ น้องชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยได้มาแสดงตนในวันนี้ ซึ่งงานลักษณะนี้ได้เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลกเพื่อให้คนสามารถเข้าใจถึงชนเผ่าพื้นเมือง

วันที่ 9 สิงหาคม 1994 ทางสหประชาชาติได้ลงมติให้วันนี้เป็นวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งโลก วัตถุประสงค์หลักที่จัดให้มีปีทศวรรษของชนเผ่าพื้นเมืองคือ เพื่อให้มีการสร้างความร่วมมือกันในการจัดการทรัพยากร ซึ่งมีความเห็นที่หลากหลายว่าแม้ว่าจะมีหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานได้เข้ามาสนับสนุนและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง แต่ก็ยังมีจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึง

บทสรุปขององค์กรพัฒนา คือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ โยงไปเกี่ยวกับปัญหาที่ดิน และทรัพยากรในหลายประเทศมีกฎหมายรองรับชนเผ่า เช่น มีการยอมรับในสิทธิ หน้าที่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่า

แต่อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแล้ว ชนเผ่าพื้นเมืองยังอยู่ในภาวะที่ยังถูกคุกคามอยู่ ดังนั้นต้องมีการขยายเวลาในการเรียกร้องสิทธิที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าต่อไป โดยเฉพาะการเรียกร้องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การเรียกร้องให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชนเผ่าพื้นเมืองทั้งด้านการศึกษา สุขภาพเป็นต้น การพัฒนาจะต้องส่งเสริมและควบคู่ไปกับการพัฒนาให้ครบทุกด้าน

สิ่ง ที่เป็นวัตถุประสงค์หลักในทศวรรษที่สอง คือ การยุติการเลือกปฏิบัติต่อชนเผ่าพื้นเมือง และให้เข้ามามีส่วนร่วมทุกภาคทุกส่วน ปัจจุบันสภาพที่เกิดขึ้นคือการเลือกปฏิบัติต่อชนเผ่าอย่างเป็นระบบ กลุ่มประชากรชนเผ่าพื้นเมืองยังถูกจัดให้อยู่ในตอนท้ายของกระบวนการพัฒนา อยู่ตลอดเวลา

ในส่วนขององค์การสหประชาชาติ ผลของการศึกษา พบว่า ชนเผ่ายังมีความยากจน และด้อยการศึกษายังอยู่ในชนชั้นต่ำ ซึ่งทั้งหมดนี้หมายถึงยังไม่ได้ถูกพัฒนา กระบวนการแก้ไขปัญหาหรือกระบวนการพัฒนาที่สำคัญ คือ ชนเผ่าต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทุกขั้นตอน ชนเผ่าพื้นเมืองมีชีวิตรอดที่อยู่ภายใต้การพัฒนาของรัฐโดยที่ชนเผ่าไม่ได้มี ส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา

ดังนั้น เราจะต้องแสดงความเป็นอัตลักษณ์อย่างชัดเจน เพราะว่าเราไม่ได้เป็นชนกลุ่มน้อยอย่างที่ถูกกล่าวหา ที่สำคัญเราจะต้องต่อสู้ต่อไป และการต่อสู้ไม่ใช่เรื่องล้าหลังและไม่ใช่เรื่องของอดีต แต่ขอให้รัฐบาลเปิดใจรับยอมรับ และเห็นคุณค่าความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนโลกนี้

ข้อเสนอ

1) การให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน สิ่งที่สำคัญที่รัฐต้องไปจัดทำต่อไปคือให้มีการแก้ไขรวมทั้งให้มีการส่ง เสริมให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง อีกประเด็นหนึ่งคือ อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายแรงงานของชนเผ่าพื้นเมือง ILO169

2) ให้รัฐส่งเสริมกระบวนการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ชัดเจนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชน เผ่าพื้นเมืองโดยเฉพาะการจับกุมผู้นำของประเทศต่างๆ เช่น ที่พม่า บังคลาเทศ เป็นต้น

การพัฒนาที่มักจะคุกคามต่อชนเผ่าพื้นเมือง เช่น การสร้างถนน การทำเหมืองแร่ หรือโครงการใหญ่ต่างๆ การกระทำดังกล่าวข้างต้นนี้ สิ่งที่สำคัญจะต้องให้ผู้นำและชุมชนเป็นฝ่ายยินยอมก่อนที่กระทำใดๆ

หวัง เป็นอย่างยิ่งว่า ถ้ากฎหมายฉบับนี้ผ่าน คงเป็นสิ่งที่ดีที่จะต้องมีการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนชนเผ่าพื้นเมือง และจะต้องร่วมกันพัฒนาต่อไป. ใส่ข้อความที่จะแสดงผล

ที่มา http://www.prachatai.com

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น