- 23 ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย
- เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
- จดหมายจากชนเผ่าถึงลูกพระยา
- แถลงการชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
23 ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย
หลายๆท่านอาจไม่รู้จักชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งหลังๆมานี้จะมีพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง...More
เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
ชนเผ่าพื้นเมือง คือ กลุ่มชนที่มีจำนวนประชากรขนาดเล็ก มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ผูกพันและใกล้ชิดกับธรรมชาติ...More
จดหมาย จากชนเผ่าถึงลูกพระยา
ชนเผ่าพื้นเมืองไทย 23 เผ่า (กะเหรี่ยง ขมุ คะฉิ่น ชอง ไททรงดำ ไทลื้อ-ไทยอง ไทยวน ไทใหญ่ ไตหย่า บีซู ปะหล่อง ...More
แถลงการชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
ตามที่รัฐบาลโดยนายเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ได้ประกาศนโยบายทำสงครามปรามปราบยาเสพติด..More
เครือข่ายชนเผ่าระดมสมองเตรียมใช้โฉนดชุมชนแก้ ปัญหาที่ดิน
วันนี้ (17 มิ.ย.) ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.) ร่วมกับมูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จัดเวทีสัมมนาเรื่อง การจัดการที่ดินของชุมชนบนพื้นที่สูงแบบโฉนดชุมชน ขึ้น ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จ.เชียงใหม่ โดยมีตัวแทนชุมชนบนพื้นที่สูงเข้าร่วมกว่า 100 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้เป็นผลมาจากนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของภาครัฐ ที่ผ่านมานั้น ได้สร้างความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนมาโดยตลอด โดยเฉพาะชุมชนชนเผ่าและชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคเหนือ ดำรงชีวิตอยู่บนการพึ่งพาทรัพยากรของท้องถิ่นมาเป็นเวลานาน ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายของรัฐที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ซึ่งได้สร้างความไม่มั่นคงในวิถีชีวิตของชุมชนบนพื้นที่สูงมาโดยตลอด ทั้งที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน รวมทั้งความไม่มั่นคงด้านวัฒนธรรม ซึ่งหากไม่สร้างเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาแล้ว ในอนาคตปัญหาเหล่านี้จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน คณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2551 โดยมีด้านเกี่ยวกับการจัดการที่ดินว่า จะจัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์ให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนที่ทำกินอยู่ใน ที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน
นายวิริยะ ช่วยบำรุง ผู้ตรวจราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ในอดีตการจัดการทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ มีความผิดพลาดในการจัดการ เพราะเรายึดถือแนวคิดต่างประเทศเป็นหลักว่าต้องรวย ต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรม การจัดการทรัพยากรต่างๆ ก็เป็นในลักษณะการสั่งการจากบนลงล่าง รวมทั้งการหาประโยชน์จากทรัพยากรอย่างเข้มข้น เช่น การเปิดสัมปทานป่า เป็นต้น ดังนั้นในอนาคตหากจะแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ให้ได้ รัฐต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการด้วย ชุมชนต้องมีอำนาจในการจัดการตัวเอง
นายประยงค์ ดอกลำไย กองเลขานุการ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แท้จริงในปัญหาที่ดินไม่ได้เกี่ยวข้องกับชาวบ้านหรือราชการมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือขึ้นอยู่กับการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน และหากจะพิจารณาปัญหาที่ดินในประเทศไทยนั้นจะเห็นว่า ประเทศไทยที่เนื้อที่ 320 ล้านไร่ เดิมทีมีพื้นที่ป่า 150 ล้านไร่ ปัจจุบันเหลือเพียง 82 ล้านไร่ ขณะที่พื้นที่ที่ประชาชนครอบครองและมีเอกสารสิทธิ์มีประมาณ 130 ล้านไร่ หากนำที่ดินเหล่านี้มาจัดสรรให้ประชาชนทั้งประเทศซึ่งมีประมาณ 65 ล้านคนก็จะได้คนละ 2 ไร่ จากนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินช่วงนั้นที่ให้ที่ดินจำนวน 130 ล้านไร่นั้นไปอยู่ที่คนส่วนน้อยแค่ 10% หรือประมาณ 6 ล้านคนเท่านั้น คนจำนวนนี้เป็นเจ้าของที่ดินคนละมากกว่า 100 ไร่
นาย ประยงค์ กล่าวต่อว่า ขณะที่คนส่วนใหญ่อีก 90% ที่เหลือหรือประมาณ 50 ล้านคนมีที่ดินเฉลี่ยประมาณคนละ 1 ไร่เท่านั้น นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าคนไทย 8 แสนครอบครัวไม่มีที่ดินทำกิน ขณะที่ 1-1.5 แสนครอบครัวมีที่ดินทำกินแต่ไม่เพียงพอ และอีก 1 ล้านครอบครัวมีที่ดินครอบครองอย่างผิดกฎหมาย ดังนั้นจะเห็นว่าการจัดการที่ดินที่ผิดพลาดในอดีตทำให้คนรวยครอบครองที่ดิน ส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้นในอนาคตการจัดการที่ดินแบบมีส่วนร่วม ทั้งกรณีโฉนดชุมชนรวมทั้งธนาคารที่ดินจะสามารถคลี่คลายปัญหาดังกล่าวข้างต้น ได้ และรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ด้วย
นายสุมิตรชัย หัตถสาร ผู้อำนวยการพิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น กล่าวว่า สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์คือมีที่ดินทำกิน มีวิถีชีวิตที่ต้องได้รับการคุ้มครอง และอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี การจัดการของรัฐที่ผ่านมา ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป เช่น ไปเป็นแรงงาน สูญเสียพื้นที่ที่เป็นวิถีชีวิต กระทบต่อการทำให้ชุมชนหรือลูกหลานไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในกระแสทุนนิยม การสูญเสียที่ดิน ที่เป็นทรัพย์สิน หรือมรดกของคน จึงส่งผลกระทบทุกๆ ด้าน
นายสุมิตรชัย กล่าวอีกว่า ระยะ 10 ปีที่ผ่านมาชุมชนสร้างรูปธรรมการจัดการที่ดินโยชุมชนกระจายทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างความชอบธรรมในการต่อสู้ การสร้างความเป็นธรรมในการจัดการทรัพยากร ซึ่งในรัฐธรรมนูญถือเป็นโอกาสดีที่รัฐนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่นโยบายของรัฐ ดังนั้นภาคประชาชนต้องเข้าไปมีส่วนร่วม สิ่งสำคัญคือ แปลงหลักการกระบวนการจัดการที่ดินที่หลากหลายรูปแบบในพื้นที่ระดับต่างๆ ประมวลเป็นองค์ความรู้การจัดการที่ดินโดยชุมชน สามารถตอบคำถามการจัดการที่ดินที่ยั่งยืนได้ เช่น การจัดการที่ดินหน้าหมู่ การจัดการที่ดินโดยชนเผ่า
ที่มา :: http://www.naksit.org/content/view.php?id=148
Tags :
การจัดการทรัพยากรชนเผ่า,
โฉนดชุมชน,
สัมมนาชนเผ่า
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น