Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

มหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจาปี 2554

ชื่อโครงการจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจาปี 2554:
“การพัฒนาเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตและสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง”



หลักการและเหตุผล:

ประเทศไทย ถือเป็นดินแดนที่มีความหลากทางวัฒนธรรมและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงโดยเฉพาะการมีชนเผ่าพื้นเมืองหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่กระจายตามภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีภาษา อัตลักษณ์ วัฒนธรรมและบริบทของสังคมที่แตกต่างกันออกไปจากสังคมใหญ่ เช่น ทางภาคเหนือ มีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ขมุ มฺบีซู มลาบรี ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ ลัวะ อาข่า และอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชาวกูย ภูไท ญัฮฺกุร โส้ และอื่น ๆ ภาคกลางและ ตะวันออก มีชาวมอญ ไททรงดา และชอง และภาคใต้ มีชาวมอแกน มอแกลน อุรักละโว้ย และอื่น ๆเป็นต้น กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรขนาดเล็กมีจานวนไม่มากนัก มีวิถีการดาเนินชีวิตทีผูกพันและใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างแนบแน่น เน้นระบบการผลิต การตั้งถิ่นฐานและการใช้ทรัพยากรเพื่อการยังชีพเป็นหลัก มีระบบขัดเกลาทางสังคมและได้บ่มเพาะจนกลับกลายเป็นอัตลักษณ์วัฒนธรรมและแบบแผนการดาเนินชีวิ ตของแต่ละกลุ่มในระยะต่อมา ซึ่งมีกระบวนการถ่ายทอดและสืบต่อกันมาจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง

แต่ในระยะหลังเรื่องราววัฒนธรรมและระบบคุณค่าเหล่านี้เริ่มอ่อนแอและลดความสาคัญลงไป ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากนโยบายการพัฒนาของรัฐที่ผ่านมาในอดีต โดยเฉพาะการมุ่ งเน้นการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตภาคเศรษฐกิจเป็นหลัก และนโยบายการรวมพวก ซึ่งต้องการหลอมรวมเอากลุ่มสังคมเล็กๆ เหล่านี้เข้าไปสู่วัฒนธรรมกระแสหลักถึงกระนั้นก็ตามชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ ก็ยังพยายามที่จะยืนหยัด ต่อสู้เพื่อให้การดารงชีวิตและการคงความเป็นเอกลักษณ์ของตนไว้ในกระแสสังคมปัจจุบัน

เพื่อให้วิถีชีวิตและการธารงอยู่ของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย สามารถดาเนินต่อไปได้อย่างเหมาะสมภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงของสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบัน ซึ่งนอกเหนือจากความความพยายามของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยที่ต้องการแก้ไขปัญหาของตนเองแล้ว รัฐต้องเข้ามาให้การคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง และสนับสนุนการสืบทอดและการปฏิบัติตามสิทธิทางวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น โดยต้องยกระดับประเด็นปัญหา ความสาคัญและความจาเป็นดังกล่าวให้เป็นวาระหลักอันหนึ่งของประเทศ

และร่วมสนับสนุนให้ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยได้มีพื้นที่การเรียนรู้สู่เวทีต่างๆในระดับสากลอีกด้วย ตลอดจนต้องประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะในวงกว้าง ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมวิถีชีวิตและพัฒนาศักยภาพให้ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ยืนหยัดอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีอัตลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรมอย่างแท้จริงด้วย

สืบเนื่องจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ประกาศให้วันที่ 9 สิงหาคมของทุกปีเป็นวัน “ชนเผ่าพื้นเมืองโลก” และกาหนดให้ระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2557 (ค.ศ. 2005- 2014) เป็น “ปีทศวรรษสากลของชนเผ่าพื้นเมืองโลก” (ระยะที่ 2) อีกทั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติรับรอง “ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง” อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประเทศสมาชิกและประชาคมโลกตระหนักถึงปัญหาและข้อกังวลต่างๆ ของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองที่ประสบอยู่ และจะได้ร่วมช่วยกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง ตลอดจนร่วมส่งเสริมยืนยันและรับรองสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองในทุกระดับด้วย

สาหรับประเทศไทยนั้น ทางเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มต่าง ๆ ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานภาครัฐที่ทางานเกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมือง ได้จัดประชุมและ ประกาศวันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ 8-9 สิงหาคม2550 โดยจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ครั้งแรกตังแต่ปี 2550 และจัดงานวันชนเผ่าพื้นเมืองมาอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี โดยมีสานักกิจการชาติพันธุ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานหลักที่เล็งเห็นความสาคัญของกิจกรรมและสนับสนุนการจัดงานดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีได้มีมติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลและกะเหรี่ยง เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน และ 3 สิงหาคม 2553 ตามลาดับ

ดังนั้นในปี พ.ศ. 2554 นี้ คณะกรรมการจัดงานฯได้มีการประชุมปรึกษาหารือและได้ร่วมกันกาหนดให้มีการจัดมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจาปี 2554: การพัฒนาเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตและสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองขึ้น ในระหว่าง วันที่ 7-9 สิงหาคม 2554 ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดเชียงใหม่

โดยมีผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และหน่วยงานรัฐ ที่เป็นคณะกรรมการและคณะทางาน จัดงานฯได้มีโอกาสปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนแนวคิดการจัดงานกับผู้อานวยการสานักกิจการชาติพันธุ์ และผู้แทนกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งได้รับคาชี้แนะที่เป็นประโยชน์สาหรับการเตรียมงานและการจัดงานดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง

วัตถุประสงค์
1.) เพื่อสร้างการยอมรับสิทธิทางวัฒนธรรมและสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองด้วยการนาเสนอวิถี
ชีวิตและคุณค่าทางวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองต่อสังคม
2.) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองในการรวมพลังขับเคลื่อนการ
พัฒนาและการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสิทธิทางวัฒนธรรมและสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง
3.) เพื่อติดตามการปฏิบัตินโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมื อง และเสนอแนะ
แนวนโยบายด้านชนเผ่าพื้นเมืองให้เป็นวาระแห่งชาติในการปฏิรูปประเทศ


ระยะวันเวลา: ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2554
สถานที่จัดงาน : สวนเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

3 Comments:

ณิชากานต์ กล่าวว่า...

ขอข้อมูล เผ่าลีซู

Unknown กล่าวว่า...

อืม...จะเอาข้อมูลด้านไหนละครับ
...ไม่ระบุ...กว้างเกินไป

Unknown กล่าวว่า...

แล้วอ้างอิงใครคับ

แสดงความคิดเห็น