- 23 ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย
- เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
- จดหมายจากชนเผ่าถึงลูกพระยา
- แถลงการชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
23 ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย
หลายๆท่านอาจไม่รู้จักชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งหลังๆมานี้จะมีพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง...More
เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
ชนเผ่าพื้นเมือง คือ กลุ่มชนที่มีจำนวนประชากรขนาดเล็ก มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ผูกพันและใกล้ชิดกับธรรมชาติ...More
จดหมาย จากชนเผ่าถึงลูกพระยา
ชนเผ่าพื้นเมืองไทย 23 เผ่า (กะเหรี่ยง ขมุ คะฉิ่น ชอง ไททรงดำ ไทลื้อ-ไทยอง ไทยวน ไทใหญ่ ไตหย่า บีซู ปะหล่อง ...More
แถลงการชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
ตามที่รัฐบาลโดยนายเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ได้ประกาศนโยบายทำสงครามปรามปราบยาเสพติด..More
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ร้องขอรัฐบาลใหม่ใส่ใจการศึกษา
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ร้องขอรัฐบาลใหม่ใส่ใจการศึกษา พร้อมปรับหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
มื่อวันที่ 26 พ.ค.นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง” หมู่บ้านหนองมณฑา ชุมชนชาวกะเหรี่ยงชนเผ่า ปกาเกอะญอ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ว่า ตามที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดให้ วธ. เป็นเจ้าภาพในการดำเนินงานติดตามและฟื้นฟูวิถีชีวิตชนเผ่าชาติพันธุ์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน จึงได้มาร่วมรับฟังข้อมูลและปัญหาของชนเผ่าดังกล่าว
โดยพบว่า ศูนย์การเรียนดังกล่าว จัดตั้งขึ้นโดยสมาคมอิมเปค และไม่ได้สังกัดภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนหลายอย่าง เช่น ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนเงินรายหัวเด็กนักเรียน ขาดแคลนครูผู้สอน ขาดอุปกรณ์การเรียน เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันศูนย์ดังกล่าวมีครูเพียง 4 คน ซึ่ง 3 คนมาจากสมาคมที่ให้การสนับสนุน ส่วนอีก 1 คน มาจาก กศน.ดังนั้น ทางชุมชนจึงอยากให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการศึกษาของกลุ่มชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง โดยส่งครูมาสอนรวมทั้งอุดหนุนงบประมาณค่ารายหัว และค่าตอบแทนครูให้มากขึ้นด้วย
นายสมชาย กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ศูนย์การเรียนชุมชนยังประสบปัญหาเรื่องการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กำหนด โดยเฉพาะหลักสูตรท้องถิ่นที่กำหนดว่า จะต้องจัดการเรียน 30%นั้น พบว่า หลักสูตรท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงไม่สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่ศธ.กำหนด
รวมทั้งเรื่องราวท้องถิ่นจะถูกบูรณาการไปในหลักสูตรแกนกลาง ทำให้วิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นหลายเรื่องส่อแววที่จะสูญหาย ส่งผลให้โรงเรียนในท้องถิ่นจะต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกันเอง โดยให้ผู้รู้ในชุมชนมาประเมินหลักสูตรท้องถิ่นที่โรงเรียนจัดขึ้นเองเพื่อเด็กจะได้เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมอย่างจริงจังและตรงกับพื้นที่ ดังนั้น ตนเห็นว่า การประเมินหลักสูตรท้องถิ่นของชนเผ่าชาติพันธุ์ควรจะมี เกณฑ์การประเมินลักษณะพิเศษ โดยยึดสภาพความเป็นจริงของคนในพื้นที่เป็นหลัก เช่นเดียวกับโรงเรียนตาดีกา ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
“ในฐานะที่ วธ. เป็นเจ้าภาพในการติดตามประเมินการให้ความช่วยเหลือในกลุ่มชาติพันธุ์ ผมจึงได้เสนอแนวทางให้ชุมชนไปว่า ชุมชนจะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องหลักสูตรท้องถิ่นหรือจะโอนศูนย์การเรียนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล ซึ่งจะต้องมีการตกลงหรือศึกษาความเหมาะสม พร้อมทั้งจะนำปัญหาที่เกิดขึ้นไปศึกษาหาแนวทางแก้ไข รวมถึงนำเสนอปัญหาต่อรัฐบาลชุดใหม่ ในการร่วมกันแก้ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป”ปลัดวธ.กล่าว
ที่มา เดลินิวส์ ภาพประกอบจาก culture.go.th
Tags :
กะเหรี่ยง,
หมู่บ้านหนองมณฑา,
หลักสูตรท้องถิ่น
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น