Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

การตำข้าวชนเผ่าม้ง

ตำข้าว (tuav cos/ tuav cug)

ความสำคัญ

การ ตำข้าวเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวม้ง โดยเฉพาะในอดีตที่ยังไม่มีการนำเอาโรงสี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในการแปรรูปจากข้าวสารเป็นข้าวเปลือก ทั้งนี้ มีอุปกรณ์หลักคือครกกระเดื่อง ซึ่งเป็นอุปกรณ์พื้นบ้านที่ชาวม้งนำมาใช้ตำข้าวเปลือก เพื่อให้ได้ข้าวสารสำหรับนำมาหุงรับประทาน

วัสดุอุปกรณ์

· ข้าวเปลือก (nplej)

· ครกกระเดื่องที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง (cos/ cug)

· กระด้ง (vab/ vaab)

· กระบุง ตะกร้า หรือถุงใส่ข้าวสาร (tawb, kawm, seev)
การเก็บข้าวม้ง

ขั้นตอนการใช้งาน

o นำข้าวเปลือกเทลงไปในครกกระเดื่องไม้

o ตำข้าวเปลือกนั้นด้วยการใช้เท้าเหยียบปลายคานอีกด้านหนึ่งของครกให้กระทุ้งลงเพื่อให้เปลือก แยกออกจากเมล็ดข้าว โดยให้ได้ข้าวสารกับข้าวเปลือกประมาณอย่างละครึ่ง

o นำข้าวเปลือกปนข้าวสารนั้นมาฝัดด้วยกระด้ง เพื่อแยกแกลบออก จากนั้นเทกลับลงไปในครก

o ตำข้าวเปลือกปนข้าวสารในครกอีกรอบหนึ่ง จนกระทั่งเหลือเมล็ดข้าวเปลือกน้อยที่สุด

o นำข้าวเปลือกที่ได้มาฝัดด้วยกระด้งเป็นครั้งสุดท้าย

o คัดเลือกเมล็ดข้าวเปลือกที่ยังคงมีปนข้าวสารอยู่บ้างนั้นออก

o เทข้าวสารที่ได้ครั้งสุดท้ายเก็บไว้ในกระบุงหรือถุงใส่ข้าวสาร เพื่อเตรียมสำหรับการหุงต่อไป

o แกลบและรำ(เปลือกและปลายข้าวสาร) ที่ได้จากการตำและฝัด สามารถนำมาใช้ต้มกับอาหารอย่างอื่นเพื่อเลี้ยงสัตว์ได้
ครกตำข้าวม้ง

โอกาสและระยะเวลาในการทำ

โอกาส ในการตำข้าวนั้นขึ้นอยู่กับความสะดวกของสมาชิกในครัวเรือน หากมีเวลาว่าง ก็มักจะตำข้าวสารเก็บไว้เพื่อให้เพียงพอกับการหุงหลาย ๆ มื้อ แต่ถ้าไม่มีเวลา มักจะตำแต่ละครั้งเพื่อให้เพียงพอกับการหุงในแต่ละมื้อเท่านั้น ทั้งนี้ ระยะเวลาในการตำข้าวเปลือกแต่ละครกนั้นจะนานประมาน 30 นาที โดยขึ้นอยู่กับความถี่ในการตำของแต่ละคนด้วย

ข้อห้าม ข้อปฏิบัติ และความเชื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

§ ห้ามตำข้าวในระหว่างช่วงขึ้น 1-3 ค่ำของเทศกาลปีใหม่

§ ชาว ม้งเชื่อว่ามีเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำอยู่ที่ครกตำข้าว จึงไม่ควรตำเล่น กับทั้งต้องจุดธูปและติดกระดาษเงินกระดาษทองที่ตัวครกกระเดื่องในการทำ พิธีกรรมปีใหม่
ข้าวสารชนเผ่าม้ง

ข้อสังเกต

ในชุมชนม้งในประเทศไทยนั้นปัจจุบันนิยมนำข้าวไปสีด้วยเครื่องจักรแทน โดยแทบจะไม่เห็นมีการตำข้าวด้วยครกอีกแล้ว

ข้อมูลจาก : http://www.cesd-thai.info/index.php?m=museum-view&eID=2&lang=th

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น