Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

กำหนดการสัมมนาและเวทีรณรงค์สาธารณะเนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมือง ประจำปี 2553

กำหนดการสัมมนาและเวทีรณรงค์ สาธารณะเนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมือง ประจำปี 2553

วาทกรรม อัตลักษณ์ และสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย

7 - 9 สิงหาคม 2553

ณ ห้องประชุมเล็ก บริเวณหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันชนเผ่าพื้นเมือง

วันที่/เวลา กิจกรรม

6 สิงหาคม 2553

ช่วงเย็นและกลางคืน ผู้เข้าร่วมงาน เดินทางถึงจังหวัดเชียงใหม่และเข้าสถานที่พัก


7 สิงหาคม 2553 กิจกรรมสัมมนา (วันแรก)

08.15 – 09.00 น. ลงทะเบียนและรับเอกสารประกอบการสัมมนา

09.00 – 09.30 น. > กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา

โดย: ผู้แทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

> กล่าวเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

โดย: นายจอนิ โอ่โดเชา ประธานคณะกรรมการจัดงานฯ

> การแสดงวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมืองเปิดงานสัมมนา

นำโดย: คุณสุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ และคณะ

09.30 – 10.45 น. สถานการณ์และมุมมองคนในเกี่ยวกับ “การยอมรับตัวตน การส่งเสริมการใช้ภาษาแม่ และการเคารพสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย” ร่วมอภิปรายโดย

ผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้

ผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองภาคอีสาน

ผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองภาคกลาง

ผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองภาคตะวันออก

ผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองภาคเหนือ

ดำเนินการโดย:ดร.ประเสริฐ ตระการศุภกร มูลนิธิภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมือง

พื้นที่สูง (IKAP)

10.45 – 11.00 น. พัก รับประทานอาหารว่าง

11.15 – 12.30 น. ประสบการณ์และทัศนะขององค์กรที่ทำงานประเด็นภาษาแม่และวัฒนธรรมในกลุ่ม ชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง: ภาษาแม่กับการธำรงอัตลักษณ์ และการสืบทอดวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ร่วมอภิปรายโดย:

ผู้แทนสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขา

ศาสตราจารย์ ดร. สุวิไล เปรมศรีรัตน์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แทนนักวิชาการระหว่างประเทศด้านภาษาแม่และชนเผ่าพื้นเมือง

ดำเนินการโดย:อ.ชูพินิจ เกษมณี (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

ที่ปรึกษาเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

12.30 – 13.15 น. พัก รับประทานอาหารกลางวัน

13.15 – 13.30 น. การแสดงวัฒนธรรมหรือชมสารคดีสร้างสรรค์เกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมือง

นำโดย: คุณสุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ และคณะ

13.30 – 14.30 น. มุมมององค์กรที่ทำงานด้านนโยบายสนับสนุนงานชาติพันธุ์-ชนเผ่าพื้น เมือง-สิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับ “วาทกรรม อัตลักษณ์ และการส่งเสริมสิทธิทางภาษาและวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย”

ร่วมอภิปรายโดย

ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นายสมชาย เสียงหลาย เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ผู้แทนราชบัณฑิตยสถาน

ดำเนินการโดย: ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14.30 – 14.45 น. ชมสารคดีสร้างสรรค์เรื่อง “มลาบรี...ข้าคือคน”

14.45 – 15.00 น. ระดมแลกเปลี่ยนประเด็นการสัมมนากลุ่มย่อยและกระบวนการแบ่งกลุ่มย่อย

ดำเนินรายการโดย: คุณบุญยง โชติชัยพิบูล สมาคมศูนย์รวมการศึกษา

และวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย

15.00 – 16.30 น.

(พัก รับประทานอาหารว่าง ในช่วงสัมมนากลุ่มย่อย) การพูดคุยในกลุ่มสัมมนาย่อย (มีผู้เอื้ออำนวยและวิทยากรประจำกลุ่ม) ตามประเด็นที่สนใจ เช่น

1. ภาษาแม่ในทัศนะสากลและการพัฒนานโยบายภาษาชนเผ่าพื้นเมือง

2. ภาษาแม่กับระบบการศึกษาทางเลือกของชนเผ่าพื้นเมือง

3. บทบาทเยาวชนกับการสืบทอดภาษาแม่และวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมือง

4. สตรีชนเผ่าพื้นเมืองในฐานะแม่กับการธำรงภาษา อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตตนเอง

5. ภาษาแม่และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับความอยู่รอดของระบบเกษตรพื้นบ้าน การจัดการทรัพยากรดิน-น้ำ-ป่า และความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง

6. ความสำคัญของอัตลักษณ์และสิทธิการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง (สัมมนาต่อเนื่องจากการชมสารคดี “มลาบรี...ข้าคือคน”)

16.30 – 17.30 น. นำเสนอและอภิปรายแลกเปลี่ยนผลการสัมมนาของกลุ่มย่อยในเวทีใหญ่ (โดยผู้แทนกลุ่มย่อย) และร่วมวิพากษ์ตรงประเด็นและเจาะลึก (โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์งานพัฒนาและส่งเสริมสิทธิทางวัฒนธรรมชน เผ่าพื้นเมือง)

ดำเนินรายการโดย: คุณสีวิกา กิตติยังกุล โครงการบ้านรวมใจ

17.30 – 18.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย

18.00 – 19.00 น. รับประทานอาหารเย็น

19.00 – 21.00 น. ร่วมวงสนทนาแบบเครือญาติและร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (แบบไม่เป็นทางการ) ของชนเผ่าพื้นเมือง



8 สิงหาคม 2553 กิจกรรมสัมมนา (วันที่ 2)

08.00 – 08.45 น. รับประทานอาหารเช้า

08.45 – 09.00 น. การแสดงวัฒนธรรมหรือชมสารคดีสร้างสรรค์เกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมือง

นำโดย: คุณสุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ และคณะ

09.00 –09.15 น. สรุปประเด็นและสาระสำคัญของการสัมมนาในวันแรก

09.15 –10.45 น. มุมมองผู้แทนองค์กรที่ทำงานด้านชาติพันธุ์-ชนเผ่าพื้นเมือง-สิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย: การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนา (Political Participation and Endogenous Development)”

ร่วมอภิปรายโดย

นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

คุณเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย

รศ.ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ นักวิชาการพหุวัฒนธรรมศึกษา

คุณโจแอน คาร์ลิ่ง (Ms.Joan Carling) Asia Indigenous Peoples Pact

ดำเนินการโดย: คุณสุมิตรชัย หัตถสาร ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหา

ประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.)

10.45 –11.00 น. พัก รับประทานอาหารว่าง

11.00 –11.15 น. ระดมแลกเปลี่ยนประเด็นการสัมมนากลุ่มย่อยและกระบวนการแบ่งกลุ่มย่อย

ดำเนินรายการโดย: คุณสันติพงษ์ มูลฟอง ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน

11.15 –12.30 น. การสัมมนากลุ่มย่อย ตามประเด็นที่เลือก(มีผู้เอื้อและวิทยากรประจำกลุ่ม) เช่น

1) การพัฒนาสภาชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองประเทศไทย (แนวคิด กลไก และกติกา)

2) การพัฒนาการเมืองภาคชนเผ่าพื้นเมืองและการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศไทย

3) การพัฒนาเครือข่ายเยาวชนและการมีส่วนร่วมในขบวนชนเผ่าพื้นเมือง

4) ผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น

5) ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (บทเรียนจากต่างประเทศ และจากหลักการสู่การทำนโยบายและปฏิบัติการในประเทศไทย)

12.30 – 13.30 น. พัก รับประทานอาหารกลางวัน

13.30 – 13.45 น. การแสดงวัฒนธรรมและ/หรือชมสารคดีสร้างสรรค์เกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมือง

13.45 – 15.00 น. นำเสนอและอภิปรายแลกเปลี่ยนผลการสัมมนาของกลุ่มย่อยในเวทีใหญ่ (โดยผู้แทนกลุ่มย่อย) และร่วมวิพากษ์ตรงประเด็นและเจาะลึก (โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์งานพัฒนาสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง)

วิทยากรร่วมวิพากษ์โดย:

คุณสมชาย หอมลออ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

ดร.คริส เออร์นี่ (Dr. Chris Erni-IWGIA)

ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดำเนินรายการโดย: คุณวิวัฒน์ ตามี่ ศปส.

15.00 – 15.15 น. พัก รับประทานอาหารว่าง

15.15 – 16.00 น. จัดทำข้อเสนอและร่วมร่างคำประกาศเจตนารมณ์ของ คชท.

ดำเนินรายการโดย: คุณศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้ประสานงานกองเลขาฯ คชท.

16.00 – 16.30 น. สรุปผลการสัมมนาทั้ง 2 วัน

โดย: คุณกิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษา

และสิ่งแวดล้อม

16.30 – 17.00 น. กล่าวปิดการสัมมนา

โดย: ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และ

การพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

16.30 – 18.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย

18.00 – 19.00 น. รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน

19.00 – 21.00 น. ร่วมวงสนทนาแบบเครือญาติและร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (แบบไม่เป็นทางการ) ของชนเผ่าพื้นเมือง



9 สิงหาคม 2553 เวทีรณรงค์สาธารณะและเฉลิมฉลองเนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมือง

09.00 – 09.30 น. การแสดงวัฒนธรรมหรือชมสารคดีสร้างสรรค์เกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมือง

นำโดย: คุณสุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ และคณะ

09.30 – 10.45 น. เวทีรณรงค์สาธารณะ “อัตลักษณ์และสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง: คำตอบระดับชุมชนที่อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่” และประกาศเจตนารมณ์และยื่นหนังสือถึงรัฐบาล/องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ดำเนินรายการ-เอื้ออำนวยโดย: คุณสุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ และคณะ

10.45 – 11.00 น. พัก รับประทานอาหารว่าง

11.00 – 12.30 น. ร่วมกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมือง

ดำเนินรายการ-เอื้ออำนวยโดย: คุณนิตยา เอียการนา และคณะ

12.30 – 13.30 น. พัก รับประทานอาหารกลางวัน (อาหารชนเผ่าพื้นเมือง) ร่วมกัน

13.30 – 16.00 น. ชมและสนทนาแลกเปลี่ยนสาระและข้อคิดเห็นจากภาพยนตร์เกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมือง เรื่อง ปาฏิหาริย์ (whale Rider)

ช่วงเย็น ผู้เข้าร่วมเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น