เมื่อเวลา 11.30 น.วันที่ 24 ก.ย. นายสานันท์ สุพรรณชนะบุรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พัทลุง เป็นประธานในพิธีวิวาห์ของชนเผ่าชาวเงาะป่าซาไก บริเวณป่าเหนืออ่างเก็บน้ำป่าบอน ม.7 ต.ทุ่งนารี อ.ป่าบอน จ.พัทลุง เป็นพิธีงานแต่งงานระหว่าง เฒ่ายาว อายุ 35 ปี ชาวเงาะป่าซาไกที่อาศัยอยู่ในกลุ่มทับรักป่าบอน บริเวณป่าเทือกเขาบรรทัด อ.ป่าบอน จ.พัทลุง กับสาวบินหลา อายุ 18 ปี ชาวเงาะป่าซาไกที่อาศัยอยู่ในกลุ่มทับแสงตะวัน บริเวณป่าน้ำตกท่าช้าง ม.9 ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง มีประชาชนที่สนใจ และนักท่องเที่ยวทั้งไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ มาร่วมงานแต่งงานของชาวเงาะซาไกครั้งนี้กว่า 500 คน
ช่วงเช้า ขบวนขันหมากของฝ่าย เฒ่ายาว เจ้าบ่าว เดินทางไปสู่ขอสาวบินหลา เจ้าสาว โดยมีนายสมนึก พรหมเขียว นายอำเภอป่าบอน ทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่ตัวแทนฝ่ายเจ้าบ่าว นำขบวนขันหมาก พร้อมขบวนกลองยาวจาก อ.ป่าบอน เดินทางไปสู่ขอเจ้าสาว ที่ทับแสงตะวัน บ้านป่าพงศ์ ม.9 ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด โดยมี นายศักดิ์ชัย ชัยเชื้อ
นายอำเภอตะโหมด ทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่ตัวแทนฝ่ายเจ้าสาว และพี่น้องประชาชนชาวบ้านป่าพงศ์ ต.ตะโหมดคอยให้การต้อนรับขบวนขันหมากจากฝ่ายเจ้าบ่าวจำนวนมาก บรรยากาศเต็มไปด้วยความชื่นมื่น คึกคัก สนุกสนานครื้นเครง ในพิธีสู่ขอเจ้าสาวเงาะซาไกครั้งนี้มีสินสอด 3 อย่าง คือ ผ้าแดง 2 ผืน ผลไม้ เงาะ, ลองกอง, หัวมัน และวัว 1 ตัว
หลังเสร็จพิธีสู่ขอเจ้าสาวแล้ว ทั้งฝ่ายเจ้าบ่าว และฝ่ายเจ้าสาว พร้อมญาติผู้ใหญ่ และแขกผู้มีเกียรติ ตลอดจนนักท่องเที่ยว ได้นำขบวนเดินทางด้วยรถยนต์กระบะประมาณ 30 คัน เดินทางต่อไปทำพิธีวิวาห์ ที่กลุ่มทับรักป่าบอน บ้านโหล๊ะหาร ม.7 ต.ทุ่งนารี อ.ป่าบอน บริเวณป่าเหนืออ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน
จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่พิธีวิวาห์ โดยนายสานันท์ สุพรรณชนะบุรี นายกอบจ.พัทลุง ได้สวมมงกุฎดอกไม้ ให้เฒ่ายาว เจ้าบ่าว และสาวบินหลา เจ้าสาว พร้อมกับมอบผ้าแดง และมอบใบมะดอน ( ใบสมรส ) ให้กับคู่บ่าวสาวชาวเงาะป่าซาไกทั้งคู่เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า ทั้งคู่ได้ทำพิธีแต่งงานกันแล้ว
สำหรับไอ้เฒ่ายาว เจ้าบ่าวที่เข้าพิธีวิวาห์ในครั้งนี้ เป็นชาวเงาะซาไก ที่อาศัยอยู่ในป่าบนเทือกเขาบรรทัด บริเวณเหนืออ่าง เก็บน้ำป่าบอน อ.ป่าบอน จ.พัทลุง ส่วนสาวบินหลาเจ้าสาว เป็นเงาะซาไกกลุ่มที่อาศัยบริเวณป่าน้ำตกท่าช้าง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ทั้งคู่ได้พบรักกันเมื่อประมาณ 3 เดือนที่ผ่านมา ที่บริเวณป่าทับแสงตะวันหมู่ที่ 9 ต.ตะโหมด อ.ตะโหมดจ.พัทลุง ครั้งนั้นไอ้เฒ่ายาวได้เดินทางไปเยี่ยมญาติที่ทับแสงตะวัน และได้พบรักกับสาวบิหลา
จากนั้นทั้งคู่ ได้คบหากันและได้อยู่กินฉันผัวเมีย โดยทางไอ้เฒ่ายาวได้พาสาวบินหลากลับไปที่กลุ่มทับรักป่าบอน เมื่อทางอำเภอป่าบอนและอำเภอตะโหมดทราบเรื่องจากชาวบ้าน จึง มีแนวคิดจัดพิธีวิวาห์ในครั้งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ และเพื่อสร้างกระแสการอนุรักษ์ผืนป่า บนเทือกเขาบรรทัด ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่ที่หากินของเงาะป่าซาไกเช่นในอดีต
เฒ่าลอย อายุ 55 ปี ญาติผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาว กล่าวว่า วันนี้ตนรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ทางคนเมืองให้เกียรติลูกหลานของตน จัดงานพิธีแต่งงานให้อย่างใหญ่โต ในชีวิตพวกตนไม่มีโอกาสได้จัดงานใหญ่โตอย่างนี้ ขอให้ เฒ่ายาวกับสาวบินหลา รักกันนาน ๆ มีอะไรกระทบกันบ้างก็ค่อยพูดค่อยจา ขยันทำมาหากิน และขอให้มีความสุขมาก ๆ
สำหรับการแต่งงานครั้งนี้ เฒ่ายาว เจ้าบ่าว กล่าวว่า ก่อนงานแต่งงานจะเกิดขึ้น ตนได้ครองรักกันมาประมาณ 3 เดือนแล้ว ไม่คิดว่าทางคนเมืองจะจัดงานให้ใหญ่โตอย่างนี้ รู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก จะพยามขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากินเพื่อคนที่ตนรัก และจะไม่ทำให้สาวบินหลาลำบาก ตนจะออกไปล่าสัตว์ หาของป่า ตักน้ำ และขุดหัวมันมาคอยบริการ
ด้าน สาวบินหลา เจ้าสาว กล่าวว่า ที่ผ่านมา เฒ่ายาวได้ดูแลเป็นอย่างดี แต่ตนไม่ใช่คนขยัน หากไอ้เฒ่ายาวรับได้ตนก็จะอยู่กับไอ้เฒ่ายาวต่อไป อย่างไรก็ตามการเลือกคู่ของเงาะป่าซาไกนั้น ทั้งหมดจะขึ้นอยู่ฝ่ายหญิงส่วน เฒ่าไข่ ญาติฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาว กล่าวว่า ตนรู้สึกเป็นห่วง ชีวิตคู่ของทั้งสองคน
เนื่องจากเงาะป่าซาไกจะมีการหย่าร้างกันบ่อยมาก ขึ้นอยู่กับฝ่ายเจ้าสาวเป็นสำคัญ จึงขอให้ทั้งคู่รักกันนาน ๆ ช่วยกันขุดมันทำมาหากิน หลังจากเข้าสู่พิธีวิวาห์ในวันนี้แล้ว ทั้งคู่จะเข้าทำการหอกลางป่า ในเขตรอยต่อ จ.พัทลุง ตรัง และ สตูล เพื่อครองรัก และใช้ชีวิตร่วมกันตามประเพณีของเงาะป่าซาไกต่อไป
น้ำ ใส จะพาไปดูวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง ซาไก กัน
ซาไกคือชนเผ่าพื้นเมืองเผ่าสุดท้ายที่เหลือ อยู่ทางภาคใต้สุด ที่ชอบเร่ร่นอยู่ในป่าไปมาระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ตามปกติจะไม่ค่อยเห็นพวกเค้ามากนัก ซึ่งเรารู้จักเขาในพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๕ เรื่องเงาะป่า พระองค์ได้เค้าเรื่องจาก คนัง ซึ่งเป็นเด็กเงาะคนหนึ่งแถว พัทลุง ที่ได้รับการนำเข้าถวายตัวจนได้เป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๘
ปัจจุบันเรารู้จักซาไกโดยใช้นามสกุลว่า "ศรีธารโต" ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๑๖ป่าอุดมสมบูรณ์ชายแดนภาคใต้ ในพื้นที่อำเภอต่างๆ ได้แก่เบตงธารโต และ บันนังสตาเป็นถิ่นที่อาศัยของเงาะป่าหรือซาไกซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าสุด ท้ายของภาคใต้ ใช้ป่าในการยังชีพ
และดำรงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ซาไกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละประมาณ ๗ - ๑๒ คน และมีการอพยพโยกย้ายที่อยยู่อาศัยอยู่เสมอ การอยู่แต่ละที่ประมาณ ๓ - ๕ วัน แต่ไม่เกิน ๑๐ - ๑๕ วัน เนื่องจากอาหารในบริเวณที่อยู่อาศัยหมดหรือหาได้ยาก
และดำรงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ซาไกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละประมาณ ๗ - ๑๒ คน และมีการอพยพโยกย้ายที่อยยู่อาศัยอยู่เสมอ การอยู่แต่ละที่ประมาณ ๓ - ๕ วัน แต่ไม่เกิน ๑๐ - ๑๕ วัน เนื่องจากอาหารในบริเวณที่อยู่อาศัยหมดหรือหาได้ยาก
1 Comments:
lovely.. looks like bateq or lanoh tribe..
แสดงความคิดเห็น