9 ส.ค. 50 ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีชนเผ่าพื้นเมืองจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย กว่า 17 ชนเผ่า อาทิ ปกาเกอะญอ ลาหู่ลีซู อาข่า ม้ง เมี่ยน ไทใหญ่ ปะหล่อง ลั๊วะ คะฉิ่น มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น ลาวอพยพ ฯลฯ กว่า 500 คน ร่วมกันเดินรณรงค์เนื่องใน "วันชนเผ่าพื้นเมืองโลกในประเทศไทย" ครั้งที่ 1 โดยได้เริ่มเดินขบวนออกจากบริเวณวัดสวนดอก ผ่านประตูท่าแพ เลียบเลาะมาทางคูเมืองด้านประตูช้างเผือก
ก่อนมาสิ้นสุดบริเวณลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ก่อนจะมีการประกาศเจตนารมณ์ของการจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นครั้งแรกในประเทศ ไทย
เนื่องจากเอาวันที่ 9 ส.ค.ของทุกปีเป็นวันชนเผ่าโลก นายเกิด พนากำเนิด ผู้นำชนเผ่าม้ง และรองประธาน กรรมการจัดงานวันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือถึงพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ผ่านนายชุมพร แสงมณี ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ โดยขอ ให้รัฐบาลไทยปฏิบัติและมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศ ไทยตามกติการะหว่างประเทศและอนุสัญญาที่ประเทศไทยได้ลงนามในสัตยาบันไว้กับองค์การสหประชาชาติอันประกอบด้วยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก,อนุสัญญาว่าด้วย การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ,กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง, กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และอนุสัญญาการเลือกปฏิบัติต่อสตรี
รวมทั้ง ให้เร่งดำเนินการศึกษาเพื่อลงนามในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ 169 ว่าด้วยปวงชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเอกราช และอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยประเทศไทยจะต้องยกเลิกข้อสงวนที่ลงนามในอนุสัญญาทุกฉบับโดยเฉพาะสิทธิเด็ก
นอกจากนั้น ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองใน ประเทศไทยโดยขอให้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเป็นกรณีเร่งด่วน คือ
1.รัฐต้องเร่งแก้ไขปัญหากรณีที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย และยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย โดยทันที
2. ให้รัฐต้องเร่งช่วยเหลือกรณีชาวมอแกน 19 คน จากเกาะเหลา เกาะช้าง จังหวัดระนอง ที่ถูกทางการอินเดียจับกุม คุมขังกลับสู่ประเทศไทยโดยเร็ว
3.ในระหว่างการดำเนินการแก้ไขปัญหาชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยตามข้อเรียก ร้องข้างต้น เราขอให้รัฐบาลสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยุติการจับกุมดำเนินคดี อพยพ รื้อย้าย จนกว่าการไขปัญหาตามหลักการข้างต้นจักแล้วเสร็จ กรณีที่ได้จับกุมดำเนินคดีไปแล้วให้ดำเนินการถอนฟ้องอย่างเป็นธรรม
ในขณะที่ นายมนูญ ไทยนุรักษ์ ตัวแทนกรรมการจัดงานวันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ได้ยื่นข้อเสนอต่อเลขาเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เพื่อดำเนินการให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ดังต่อไปนี้คือ
1.ผลักดันให้ประเทศไทย สร้างมาตรการคุ้มครองสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ตามกติการะหว่างประเทศและอนุสัญญาที่ได้ลงนามในสัตยาบันไว้กับองค์การสห ประชาชาติ อันประกอบด้วย อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก , อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง,กติการะหว่าง ประเทศว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และอนุสัญญาการเลือกปฏิบัติต่อสตรี
รวมทั้ง ให้เร่งดำเนินการศึกษาเพื่อลงนามในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ 169 ว่าด้วยปวงชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเอกราช และอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยประเทศไทยจะต้องยกเลิกข้อสงวนที่ลงนามในอนุสัญญาทุกฉบับโดยเฉพาะสิทธิเด็ก
2.ให้องค์การสหประชาชาติ สร้างกลไกการตรวจสอบการละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ทั้งการนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการที่ดินที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน การอพยพโยกย้ายออกจากถิ่นฐานเดิม การจำกัดสิทธิการพัฒนาและการเข้าถึงบริการของรัฐ การกดขี่แรงงาน และกรณีอื่นอย่างเป็นรูปธรรม และ
รวมทั้ง ให้เร่งดำเนินการศึกษาเพื่อลงนามในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ 169 ว่าด้วยปวงชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเอกราช และอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยประเทศไทยจะต้องยกเลิกข้อสงวนที่ลงนามในอนุสัญญาทุกฉบับโดยเฉพาะสิทธิเด็ก
นอกจากนั้น ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองใน ประเทศไทยโดยขอให้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเป็นกรณีเร่งด่วน คือ
1.รัฐต้องเร่งแก้ไขปัญหากรณีที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย และยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย โดยทันที
2. ให้รัฐต้องเร่งช่วยเหลือกรณีชาวมอแกน 19 คน จากเกาะเหลา เกาะช้าง จังหวัดระนอง ที่ถูกทางการอินเดียจับกุม คุมขังกลับสู่ประเทศไทยโดยเร็ว
3.ในระหว่างการดำเนินการแก้ไขปัญหาชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยตามข้อเรียก ร้องข้างต้น เราขอให้รัฐบาลสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยุติการจับกุมดำเนินคดี อพยพ รื้อย้าย จนกว่าการไขปัญหาตามหลักการข้างต้นจักแล้วเสร็จ กรณีที่ได้จับกุมดำเนินคดีไปแล้วให้ดำเนินการถอนฟ้องอย่างเป็นธรรม
ในขณะที่ นายมนูญ ไทยนุรักษ์ ตัวแทนกรรมการจัดงานวันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ได้ยื่นข้อเสนอต่อเลขาเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เพื่อดำเนินการให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ดังต่อไปนี้คือ
1.ผลักดันให้ประเทศไทย สร้างมาตรการคุ้มครองสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ตามกติการะหว่างประเทศและอนุสัญญาที่ได้ลงนามในสัตยาบันไว้กับองค์การสห ประชาชาติ อันประกอบด้วย อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก , อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง,กติการะหว่าง ประเทศว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และอนุสัญญาการเลือกปฏิบัติต่อสตรี
รวมทั้ง ให้เร่งดำเนินการศึกษาเพื่อลงนามในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ 169 ว่าด้วยปวงชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเอกราช และอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยประเทศไทยจะต้องยกเลิกข้อสงวนที่ลงนามในอนุสัญญาทุกฉบับโดยเฉพาะสิทธิเด็ก
2.ให้องค์การสหประชาชาติ สร้างกลไกการตรวจสอบการละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ทั้งการนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการที่ดินที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน การอพยพโยกย้ายออกจากถิ่นฐานเดิม การจำกัดสิทธิการพัฒนาและการเข้าถึงบริการของรัฐ การกดขี่แรงงาน และกรณีอื่นอย่างเป็นรูปธรรม และ
3.เร่งผลักดันประเทศไทยเร่งลงนามใน "อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง" โดยเร็วในตอนท้าย นายจอนิ โอ่โดเชา ประธานกรรมการจัดงานวันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย คำประกาศเจตนารมณ์ "วันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย"โดยความตอนหนึ่งระบุชัดเจนว่า เพื่อสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีดังกล่าวได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นจริง
ขอประกาศจัดตั้งให้ "วันที่ 9 สิงหาคม" ของทุกปีเป็น "วันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย" และ ขอประกาศจัดตั้ง " เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย "เพื่อดำเนินการสร้างกิจกรรมในการรังสรรค์ สร้างความสมานฉันท์ในสังคมพี่น้องชนเผ่าโลก
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น