Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

สหรัฐอัดฉีดกองทุนเพื่อชนเผ่าอาข่า

เมื่อพูดถึงเรื่องกลุ่มคนชนเผ่าใน ประเทศไทย ก็ต้องนึกไปถึงชนกลุ่มน้อยที่เป็นไทยใหญ่ อาข่า ลาหู่ ลีซู ปากากะญอ ม้ง เมี่ยน เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปเนิ่นนาน วัฒนธรรมเก่าแก่ ของบางชนเผ่าที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีตจน ถึงปัจจุบันนั้น ก็เป็นประเพณีที่มีการกระทำกันแบบปากต่อปาก หรือพบเห็นพฤติกรรม และได้รับสืบทอดมาโดยตรง ซึ่งก็เป็นแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้วัฒนธรรมบางอย่างสูญหายไป หรือใกล้จะสูญหายไปในกลุ่มชนเผ่ารุ่นหลัง


     ดังนั้นล่าสุด มิสซูซาน สตีเวนสัน ซึ่งได้มารับตำแหน่งกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ คนใหม่ ได้เล็งเห็นคุณค่าของชนเผ่าต่างๆ และทราบว่าชนเผ่าอาข่า ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าหนึ่งในประเทศไทย กำลังประสบปัญหาเรื่องการสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีให้กับชนเผ่ารุ่นหลัง และเป็นปัญหาที่สำคัญที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนก่อนที่ วัฒนธรรมเก่าแก่จะสูญหายไป



นางซูซาน กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า การเข้ามาช่วยเหลือกลุ่มชนเผ่าอาข่าด้วยการมอบทุนช่วยเหลือกลุ่มชาติ พันธุ์ครั้งนี้ ตนได้เดิน ทางมาในฐานะผู้แทน เอคิค จี.จอห์น เอกอัครราช ทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เพื่อมามอบเงินจำนวน 77,928 ดอลลาร์ สหรัฐหรือคิดเป็นเงินไทย ประมาณ 2,416,000 บาท ให้กับชาวเขาเผ่าอาข่า ก็เนื่องมาจากปัจจุบันสภาพแวดล้อม รวมถึงวิวัฒนาการต่าง ๆ ของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

เมื่อคนในชนเผ่ามีลูกหลานจะส่งให้เข้าไปเรียนหนังสือในเมือง แล้วก็จะได้เรียนภาษาไทย เมื่ออายุครบ 15 ปี ต้องไปทำบัตรประจำตัว ใช้ชื่อไทยแทนชื่อชนเผ่า เนื่องจากชื่อบางครั้งอ่านออกยาก สะกดไม่ได้ ทำให้ต้องใช้ชื่อตามคนไทย เมื่อเป็นอย่างนี้จึงทำให้ชนรุ่นหลังของชนเผ่าเริ่มพูดภาษาของชนเผ่า หรือกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเอง รวมถึงการใช้วิถีชีวิตขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีแบบชนเผ่าดั้งเดิมไม่ได้ แล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างมากหากชนรุ่นหลังไม่สามารถสืบสานประเพณี วัฒนธรรมของชาติพันธุ์ตนเองได้ก็จะทำให้วัฒนธรรมเก่าแก่สูญหายไป

ต่อ มา นายจิน หัว หวัง ซึ่งเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายอาข่าลุ่มน้ำโขง (MAPS) พร้อมกลุ่มชาติพันธุ์ ได้เล็งเห็นพ้องต้องกัน ว่าอยากให้มีการรื้อฟื้นวัฒนธรรมดังกล่าว ด้วยการทำตัวหนังสืออาข่า ออกมาเป็นรูปเล่มเพื่อให้คนอาข่าได้ใช้เล่าเรียนอ่านเขียน พร้อมกับทำการสอนการอ่านตัวหนังสืออาข่า ซึ่งจะถือเป็นครั้งแรกของโลกที่มีตัวหนังสือเป็นที่ยอมรับแบบสากล ออกมาเผยแพร่ และจะมีการนำไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ที่อยู่ในประเทศไทย และในต่างประเทศอื่น ๆ เช่น จีนยูนาน พม่า ลาว กัมพูชา ด้วย เพื่อให้ชนเผ่าอาข่าในโลกใบนี้มีภาษาเขียนใช้เหมือนกัน

นอกจากนั้นยังมีการจัดทำ สื่อด้านเสียง และวิดีโอ โดยจะทำให้เหมาะสมกับทุกเพศ ทุกวัย หากเป็นเด็กก็จะเป็นในแนวการ์ตูน และสอดแทรกวัฒนธรรม หากเป็นผู้ใหญ่ก็จะสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับสุภาษิต คำพังเพย คำกลอนต่าง ๆ เข้าไปด้วยเพื่อให้ทุกคนจะเข้าใจได้ง่าย นอกจากแผนงานดังกล่าว โครง การนี้ยังมีแผนฟื้นฟูวัฒน ธรรมและประเพณีชนเผ่าอาข่าผนวกเข้าไปด้วย โดยเสนอให้หมู่บ้านดอยช้าง ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เป็นหมู่บ้านต้นแบบของโครงการเมื่อนำเสนอโครงการนี้เข้ามา เมื่อทุกอย่างพร้อมตามเงื่อนไขต่าง ๆ ทางเราพิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการนี้มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ จึงอนุมัติให้การสนับสนุน

สำหรับกองทุนที่มอบให้กับกลุ่มชนเผ่าอา ข่าในครั้งนี้ เป็นกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม ก่อตั้งโดยสภาคองเกรสสหรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2544 ให้ความ ช่วยเหลือในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมทั่วโลกที่เสี่ยงต่อการสูญสลายไปตลอด กาล โดยเป็นกองทุนในโครงการ “กองทุนสถานทูตอเมริกาสำหรับการดำรงวัฒนธรรม 2553 (AFCP) ซึ่งที่ผ่านมามีโครงการในไทยได้รับทุนแล้วรวมโครงการจำนวน 10 โครงการ”

ด้าน นายเจียนหัว หวัง (Mr. Jianhua wang) กล่าวว่า โครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมชนเผ่าอาข่านี้ ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เห็นความสำคัญและอยากจะอนุรักษ์ ไว้ไม่ให้ประเพณีที่ดีงามของชนเผ่าอาข่าสูญหายไป อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์เพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดได้อีก ด้วย ขณะนี้ชนเผ่า อาข่า ประสบปัญหาอย่างมากในเรื่องของภาษาและ การอนุรักษ์ประเพณีเก่าแก่ เพราะชนรุ่นหลังเริ่มไม่รู้ประเพณีดั้งเดิมกันแล้ว

สาเหตุก็มาจากการที่เมื่อก่อนไม่มีตัวหนังสือมาให้อ่าน ให้เขียนแต่เป็นการถ่ายทอดกันปากต่อปาก ผู้เฒ่าผู้แก่ เมื่อจากโลกนี้ไปก็เอากลับไปด้วย บางอย่างก็จะสูญหายไป ขณะนี้เหลือผู้เฒ่า ผู้แก่ในชนเผ่าที่รู้จริง ๆ ไม่กี่คน ดั้งนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา แต่เมื่อมีการคิดทำก็ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก และเป็นการดีที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่ให้ทุนมาใช้ ดำเนินการในครั้งนี้

ส่วน นายบุญยัง เรือนกุล นายอำเภอแม่สรวย กล่าวว่า ในเขตพื้นที่ ต.วาวี นั้นมีประชากรเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด 25 หมู่บ้านหลัก 34 หมู่บ้านย่อย มีทั้งหมด 800 กว่าครัวเรือน ประชากร 20,000 กว่าคน รวมทั้งหมด 7 ชนเผ่าอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น อาข่า เหย้า (เมี่ยน) ปากากะญอ ลีซู จีนยูนนาน ลาหู่ และไทยใหญ่ โดยทั้งหมดจะยึดอาชีพเกษตรกรรม การปลูกกาแฟ ไร่ข้าวโพด และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งขณะนี้ก็กำลังอยู่ในช่วงของการขอเสนอให้ ต.วาวี เป็นอำเภอวาวี ต่อไป

      ก่อนหน้านี้ทางอำเภอ และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ได้ร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีทางวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้จารีต ประเพณีสูญหายไป อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชุมชนในพื้นที่ด้วย โดยเฉพาะการ โล้ชิงช้า ของชนเผ่าอาข่า รวมทั้งประเพณีและวัฒนธรรมของชนเผ่าอื่นในพื้นที่ด้วย เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้และเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวอยากมาสัมผัส ซึ่งเราต้องช่วยกันรักษาไว้ สำหรับกองทุนที่ได้รับมอบครั้งนี้ต้องขอขอบคุณแทนชนเผ่าในพื้นที่ที่รัฐบาล สหรัฐได้เล็งเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนในครั้งนี้ด้วย.


ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

1 Comments:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น่าสนใจดีครับ ส่งกำลังใจช่วยเต็มที่ครับ

แสดงความคิดเห็น