Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

ปัญหาของพี่น้องชนเผ่ากับการจัดการศึกษาของรัฐ

ปัญหาพี่น้องชนเผ่าืพื้นเมือง
7 ก.ย. 50 ที่หอประชุมอาคารรวมและบัณฑิตศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีกิจกรรมเสวนาเนื่องในงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “การ พัฒนาระบบการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์” โดย มีนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และพี่น้องชนเผ่าเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเสวนา


ความหลากหลายทางภาษาถูกลด ทอน


นหัว ข้อ “สถานการณ์ ทางภาษาไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์” ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้นำการอภิปราย โดย ศ.ดร.สุวิไล ได้บรรยายถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมาทางด้านภาษาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์ในประเทศไทย ที่มีความสัมพันธ์เชิงเชื้อสายหรือตระกูลภาษา โดยประเทศไทยนั้นแบ่งเป็นตระกูลใหญ่ๆ ได้ถึง 5 ตระกูล ได้แก่ตระกูลไท (24) กลุ่ม, ตระกูลออสโตรเอเชียติก (23 กลุ่ม), ตระกูลออสโตรเนเซียน (3 กลุ่ม), ตระกูลจีน-ธิเบต (21 กลุ่ม), และตระกูลม้ง-เมี่ยน (2 กลุ่ม)



ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงทาง นิเวศวิทยาได้สร้างสภาวะวิกฤตของภาษาแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ โดยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ล้วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากโลกาภิวัตน์ ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งมีอิทธิพลจากโลกตะวันตกเข้ามาครอบงำสังคมไทย และเข้าไปแทรกซึมครอบงำสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่สำคัญคือนโยบายการศึกษา ที่ใช้เฉพาะภาษาเดียวคือภาษาราชการเป็นสื่อการเรียนการสอน
ทำให้ภาษาท้องถิ่นหมดความหมายและคนรุ่นใหม่ไม่เห็นประโยชน์ของภาษาท้องถิ่น ตน รวมถึงสื่อสารมวลชนที่มีแต่การนำเสนอข้อมูลข่าวสารและบันเทิงคดีต่างๆ โดยใช้ภาษาราชการภาษาเดียว สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนดให้เกิดสภาวะการดำรงชีวิตแบบใหม่ของกลุ่ม ชาติพันธุ์ ที่คนต้องมุ่งหาโอกาสในการทำงาน, การทำงานตามแหล่งนอกชุมชน ซึ่งทำให้เกิดภาวการณ์ถดถอยในการใช้ภาษาชาติพันธุ์


โดย ศ.ดร.สุวิไล ได้กล่าวแสดงความเป็นห่วงถึงการตายไปของภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เนื่องด้วยเหตุผลที่กล่าวขั้นต้นทำให้คนรุ่นใหม่มองข้ามภาษาถิ่นของตนเอง ทั้งนี้ การจะทำให้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ไม่สูญหายไปจะต้องมีการให้เกียรติภาษานั้นๆ การยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของกลุ่มเจ้าของภาษา มีการยอมรับภาษานั้นในทางกฎหมาย เก็บบันทึกอย่างเป็นระบบ อยู่ในระบบสื่อสารต่างๆ รวมถึงให้จัดอยู่ในการศึกษา


รัฐไทยและการจัดการศึกษา ส่งผลต่อวัฒนธรรมชนเผ่า

ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำอภิปรายในหัวข้อ “การจัดการศึกษาในระบบและผลที่มีต่อ ภาษาชาติพันธุ์”


ดร.ประสิทธิ์ ได้ชี้ให้เห็นถึงอำนาจของการผูกขาดจากส่วนกลางที่ได้พยายามแผ่ขยายไปทำลาย วัฒนธรรมท้องถิ่นในประเทศไทย โดยยัดเยียดวัฒนธรรมไทยกรุงเทพฯ เข้าไปแทนที่ โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือ ทั้ง นี้ในความหมายของการศึกษาในปัจจุบันนั้นนอกจากที่จะเป็นการเปิดโอกาสทางความ รู้ให้กลุ่มคนส่วนใหญ่ และการยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นแล้ว ในอีกแง่หนึ่งนั้นการศึกษาก็เหมือนกับให้มนุษย์คนหนึ่งกลายเป็นทุน


โดย ดร.ประสิทธิ์ กล่าวถึงประเด็นนโยบายของรัฐไทยในการจัดการศึกษาว่าตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมี การรวมศูนย์อำนาจ (ในสมัย ร.5 เป็นต้นมา) รัฐจะมองว่าวัฒนธรรมของเมืองหลวง (กรุงเทพมหานคร) จะต้องเป็นวัฒนธรรมหลักและส่งผ่านยัดเยียดไปให้ภูมิภาคต่างๆ ผ่านระบบการศึกษา


ซึ่งรัฐมักจะกล่าวเสมอว่า การจัดการศึกษานั้นก็คือการทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น แต่ถ้าลองมองอีกมุมจะพบว่า การศึกษานั้นยังพ่วงกับอุดมการณ์ชาตินิยม (ไทยส่วนกลาง) แฝงไว้ด้วย จะเห็นได้จากในช่วงยุคสมัยที่กระแสชาตินิยมแรงมากๆ นั้น ภาษาถิ่นต่างๆ จะไม่ถูกสนับสนุนโดยรัฐเลย ซึ่งบางครั้งรัฐไทยก็มองเหมือนกับว่าการใช้ภาษาถิ่นของคนท้องถิ่นนั้นเป็น การขัดขืนต่ออำนาจรัฐด้วยซ้ำ


รวมถึงการจัดการศึกษาของไทย ในสมัยใหม่ (ตั้งแต่ในสมัย ร.5 เป็นต้นมา) ที่มีโรงเรียน มีระบบเดียวรองรับทั่วทุกภูมิภาคนั้น ได้ลดทอนความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ด้อยลงไป เพราะการศึกษาจากส่วนกลางได้ยัดเยียดความเป็นไทยให้แก่ท้องถิ่นต่างๆ กรณีของกลุ่มชนเผ่าก็เช่น เดียวกัน


ดร.ประสิทธิ์ เห็นว่านโยบายการทำงานของรัฐระยะแรกคือการยัดเยียดภาษาไทยไปในท้องถิ่น แต่รัฐกลับไม่ได้เข้าไปศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มชนเผ่าอย่างจริงจังเสียก่อน กระบวนการเรียนการสอนนั้น ก็เห็นได้ชัดว่ามีการยัดเยียดความเป็นชาตินิยมไปให้กับกลุ่มชนเผ่า โดยมีการอบรมครูอาจารย์อย่างเป็นพิเศษ


นอกจากเรื่องชาตินิยมแล้ว การจัดการศึกษาของรัฐไทยนั้นยังเน้นให้ผู้เรียนมุ่งแต่ประสบความสำเร็จใน ชีวิต ทำให้ละเลยเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นไปเสีย


ดร.ประสิทธิ์ ได้ให้ความหวังถึงการสลัดจากการศึกษาแบบชาตินิยม รวมถึงการพลิกฟื้นนำภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ท้องถิ่น มาใช้กับการศึกษา เพราะปัจจุบัน ดร.ประสิทธิ์ ชี้ให้เห็นว่าเริ่มมีการกระจายอำนาจการปกครอง ที่อาจจะค่อยๆ ทำลายการผูกขาดจากส่วนกลาง, การกระจายงบประมาณทางด้านการศึกษา, เริ่มมีการจัดหลักสูตรท้องถิ่นไปในระบบการศึกษา, กลุ่ม NGOs ที่เข้าไปให้การสนับสนุนการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น รวมถึงปราชญ์ ผู้อาวุโส และคนในท้องถิ่น ที่เริ่มกลับไปนำวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของตนเอง มาสืบทอดให้แก่คนรุ่นใหม่ๆ 


ทั้งนี้ดร.ประสิทธิ์ ได้กล่าวปิดท้ายว่า โจทย์ที่ท้าทายที่สุดสำหรับตอนนี้ก็คือ จะนำสิ่งเหล่านั้นมาสร้างรูปแบบเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีระบบ ชัดเจน ได้อย่างไร


รัฐจะบูรณาการการศึกษา อย่างไร ?

ในหัวข้อ “ความพยายามของรัฐในการพัฒนาระบบการศึกษาที่บูรณาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น” นายสิริพงษ์ นวลแก้ว ศึกษานิเทศก์ สพท. 5 เขตอำเภออมก๋อย ได้เป็นผู้นำอภิปราย


โดยนายสิริพงษ์ ได้เสนอว่า การจะบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับการศึกษานั้น ต้องให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง มีครูอาจารย์ให้ความรู้ร่วมกับปราชญ์หรือผู้รู้ท้องถิ่น และตัวอย่างความพยายามบูรณาการในเขตอำเภออมก๋อยที่เขารับผิดชอบนั้น ก็คือมีการจัดการศึกษาให้เข้ากับรูปแบบของพื้นที่และเวลา มีสื่อการเรียนการสอนเหมาะสมกับพื้นที่ และสร้างครูให้เป็นนักวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของชุมชน ไปด้วย


ปัญหาของพี่น้องชนเผ่ากับ การจัดการศึกษาของรัฐ

ใน ช่วงที่เปิดให้ผู้เข้าร่วมงานได้แสดงความคิดเห็นนั้น มีหลายประเด็นที่กลุ่มพี่น้องชนเผ่าได้ตั้งประเด็นความสงสัยต่อคุณภาพและ ความจริงใจของภาครัฐ ในการจัดการศึกษาให้กับพี่น้องชนเผ่า


จอนิ โอ่โดเชา ปราชญ์ชาวบ้านอาวุโสและประธานกรรมการจัดงานฯ ได้กล่าวถึงเรื่อง ตารางเวลาการเรียนที่จัดให้ไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนชนเผ่าที่ยังประกอบ อาชีพกสิกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชน และได้กล่าวถึงระบบการศึกษาของไทย ที่ทำให้ผู้เรียนมีความคาดหวังสูงเกินไป แต่ในความเป็นจริงแล้วทุกคนอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเหมือนกันทุกคน รวมถึงระบบการศึกษาที่ผลิตคนสู่สังคมที่ใช้เรื่องอาชีพ การทำเงิน หรืออาชีพที่มีหน้ามีตา เป็นตัววัดว่าคนไหนดีไม่ดี ซึ่งเป็นการบิดเบือนความเชื่อเดิมของกลุ่มชนเผ่า


นายไวยิ่ง ทองบือ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับบุคลากรที่มาให้การศึกษาแก่พี่น้องชนเผ่า ว่าที่ผ่านมานั้นคุณภาพยังไม่เพียงพอ บางคนติดเหล้า ติดยา มีคดีความติดตัว หรือละเลยหน้าที่การเรียนการสอน ทั้งนี้นายไวยิ่งได้เสริมว่าการที่จะตรวจสอบครูแต่ละคนว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ นั้นน่าจะมีหน่วยงานที่เป็นกลางจริงๆ ตรวจสอบ 


ทั้งนี้นายไวยิ่งกล่าวต่อ ว่า เรื่องการขึ้นค่าตอบแทนครู-อาจารย์ให้สูงๆ เท่ากับแพทย์หรือวิศวกรนั้น เขาเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณภาพของครูอาจารย์ที่จะขึ้นไปสอนบนดอยนั้น ควรจะมีคุณภาพให้เหมาะสมกับค่าตอบแทนสูงๆ นั้นด้วย


ส่วนนายปฏิภาณ วิริยะวนา ชาวบ้านจากอำเภอจอมทอง ได้กล่าวถึงประสบการณ์ในอดีตที่ตามมาหลอกหลอนเขาจนถึงทุกวันนี้ก็คือครั้ง หนึ่งเมื่อเขายังเป็นนักเรียน เขาได้พบกับแบบเรียนที่สอนว่าชาวเขาเป็นคนตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งมันขัดแย้งกับสภาพชีวิตจริงที่เขาเจอในชุมชน โดยนายปฏิภาณเห็นว่านี่เป็นการบิดเบือนจากแบบเรียนนั้น


นายปฏิภาณกล่าวต่อว่าไม่ อยากให้เด็กชนเผ่ารุ่นใหม่ๆ จะต้องมีฝันร้ายเช่นกับเขา ที่ในแบบเรียนมักจะมองกลุ่มชนเผ่าเป็นตัวร้าย ตัดไม้ หรือค้ายาเสพย์ติด ต่างๆ นานา


ทั้งนี้นายปฏิภาณยังกล่าว ถึงความคาดหวังและสิ่งที่มันต้องเกิดขึ้นว่ามันไม่อาจเป็นไปในทางเดียวกัน เสมอไป และอยากฝากบอกน้องๆ รุ่นหลังว่าจะต้องไปไกลกว่าการหาโอกาสทางการศึกษา ต้องไปกว่านั้นคือการเคลื่อนไหวให้เกิดความเท่าเทียมทางการศึกษา
นอกจากนี้มีประเด็นย่อยๆ ที่น่าสนใจจากผู้ร่วมฟังการเสวนาหลายคน ได้ตั้งคำถามต่อการศึกษาที่รัฐได้จัดให้กับพี่น้องชนเผ่าดังนี้
  • คุณภาพของครูที่ขึ้นไปสอนบนดอยกับครูในเมืองมีเท่ากันหรือไม่ ?
  • ครูที่ขึ้นไปสอนบนดอยมีองค์ความรู้เกี่ยวกับชุมชนที่จะไปหรือไม่ ?
  • การยัดเยียดภาษาไทยให้กับเด็กชนเผ่าในระบบการศึกษา จะทำให้เขารู้สึกว่าภาษาและวัฒนธรรมของเขาด้อยค่าหรือไม่ ?
ที่มา http://chonpaoforum.wordpress.com/

1 Comments:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

1.ปัญหาการเข้าไม่ถึงการศึกษาของเด็กชนเผ่าควรแก้ไขอย่างไร?
2.การศึกษาที่ไม่ฟรีจริง มีค่าใช้จ่าย เด็กชนเผ่าที่ยากจนต้องทำอย่างไร ไม่เรียนก็ผิดกฏหมาย
พอจะเรียนพ่อแม่ก็ไม่มีเงินส่ง
3.โรงเรียนบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่ จะส่งครูที่ไม่มีคุณภาพมาสอนเด็กชนเผ่าต้องแก้อย่างไร กับใคร
4.ขณะที่เด็กห่างไกลตัวเมืองไม่มีโรงเรียน แต่ มีนโยบายจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ ควรทำอย่างไร

แสดงความคิดเห็น