พิธีแต่งงานชนเผ่าพื้นเมืองไทลื้อ

   ความงดงามของวัฒนธรรมประเพณีงานแต่งงานของชาวไทลื้อ ที่ชุมชนบ้านถิ่น อ.เมือง จ. แพร่ สำหรับที่นี่แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป หนุ่มสาวใช้ชีวิตตามวิถีคนเมือง แต่เมื่อถึงเวลามีคู่ครองบรรดาหนุ่มสาวชาวไทลื้อ ก็ยังคงสืบสานประเพณีการแต่งงานแบบดั้งเดิมเอาไว้

"ลื้อ" เป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท คือ "ไทลื้อ" หรือ "ไตลื้อ" มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขตสิบสองปันนาสำหรับประเทศไทย ชาวไทลื้อได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามหัวเมืองต่างๆในภาคเหนือตอนบน ในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน และ เชียงใหม่

แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่ลูกหลานชาวไทลื้อก็ยังคงไม่ลืมรากเหง้าและวัฒนธรรมประเพณี ที่บรรพบุรุษได้สืบทอดต่อกันมาช้านาน เมื่อตัดสินใจจะมีคู่ครอง ก็เลือกที่จะจัดงานแต่งตามแบบฉบับของชาวไทลื้อ ผู้ที่มาร่วมงานแต่งต่างก็แต่งตัวตามประเพณี



ผู้หญิงจะสวมเสื้อแขนยาวสีดำ หรือสีน้ำเงิน ที่เรียกว่า "เสื้อปั๊ด" นุ่งผ้าถุง โพกศีรษะด้วยผ้าฝ้ายสีขาวหรือสีชมพู ส่วนผู้ชายใส่เสื้อแขนยาว สวมเสื้อกั๊กปักลวดลาย สวมกางเกงม่อฮ่อมขายาวโพกศีรษะด้วยผ้าสีขาวหรือชมพู และสะพายถุงย่าม

ที่เห็นอยู่นี้นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของพิธีแต่งงาน พ่อแม่ของฝ่ายหญิงต้องมาที่บ้านฝ่ายชาย เพื่อบอกกล่าวขอลูกเขยจากพ่อแม่ฝ่ายของชายเสียก่อน สาเหตุที่ขั้นตอนนี้ที่สำคัญที่สุดก็เพราะหากพ่อแม่ฝ่ายชายไม่ยอมยกลูกชายให้ หนุ่มสาวก็ไม่สามารถแต่งงานกันได้นั่นเอง

หลังจากพ่อแม่ฝ่ายชายตอบตกลงก็จะตั้งขบวนแห่เขย โดยมีขบวนช่างฟ้อนและช่างสะล้อซอซึง บรรเลงดนตรีประกอบการร่ายรำแบบไทลื้อ นำขบวนผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย พร้อมด้วยญาติมิตร ที่ล้วนแต่งกายด้วยชุดไทลื้อ อย่างงดงามตามประเพณี ไปยังเรือนของเจ้าสาว

และเมื่อมาถึงเรือนเจ้าสาว ผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิงจะดักกั้นที่หน้าประตู ซักถามว่ามาทำอะไรกัน มีทองคำ เพชรพลอย มาให้เจ้าสาวหรือเปล่า เปรียบเทียบเหมือนกับการกั้นประตูเงินประตูทองนั่นเอง เมื่อได้คำตอบแล้ว จึงอนุญาตให้เจ้าสาวที่ซ่อนตัวอยู่ออกมาหาเจ้าบ่าวได้ โดยเจ้าบ่าวก็จะถูกพาไปซ่อนไว้เช่นกัน เจ้าสาวก็ต้องตามหาให้เจอเพื่อแสดงถึงความรักแท้ ก่อนจูงมือกันเข้าสู่เรือนหอ

พิธีเริ่มด้วยการกราบพ่อแม่ของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อขอบคุณที่อนุญาตให้ทั้งคู่แต่งงานกัน จากนั้นก็มอบสินสอดให้พ่อแม่ฝ่ายหญิง ประธานในพิธีคล้องมาลัยและสวมมงคลให้บ่าวสาว จากนั้นเป็นพิธีบายศรีสู่ขวัญ หรือตามภาษาไทลื้อเรียกว่าพิธี "สู่ข้าวเอาขวัญ" โดยผู้ทำพิธีก็จะบอกกล่าวบรรพบุรุษขอให้คุ้มครองให้บ่าวสาวครองเรือนอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข

ชนเผ่าพื้นเมืองลาหู่ [กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่]

ประวัติความเป็นมาและการอพยพชนเผ่าพื้นเมืองลาหู่
            ชนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ลาหู่  หรือ ละหู่ (Lahu) ซึ่งแปลว่า คนมีเชื้อสายมาจากกลุ่มโลโล ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองอาศัยอยู่บนที่ราบสูงทิเบต-ชิงไห่ และได้รับการยอมรับจากจีนให้จัดการปกครองตนเองได้อย่างอิสระ บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของมณฑลยูนนานก่อนที่ชนชาติไทใหญ่และจีนจะเข้าไปครอบครอง ต่อมาได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นอยู่ตลอดเวลาในแถบประเทศจีน พม่า ลาว และไทย
      คนจีนในมณฑลยูนนานเรียกชนกลุ่มนี้ว่า หลอเหยส่วนที่มาของคำว่า มูเซอนั้น Frank M. Lebar สันนิษฐานว่าเป็นคำที่มาจากภาษาไทใหญ่ในรัฐฉานมีความหมายว่า นายพราน” (ถาวร 2543 : 41, โสฬส 2539 : 7) ขณะที่ จิตร ภูมิศักดิ์ (2529) อธิบายไว้ว่า อันที่จริงคำ มูเซอ ที่แปลว่าพรานป่านั้น มิใช่ภาษาไทใหญ่ หากเป็นคำที่ไทใหญ่ขอยืมมาจากภาษาพม่า ซึ่งเรียกนายพรานว่า มกโซ 
        
      โสฬส (2539) กล่าวว่าได้สัมภาษณ์ผู้รู้ชาวพม่า และได้รับคำอธิบายว่า คำว่า พราน ในภาษาพม่า ซึ่งเขียนว่า มุฉุยะแต่อ่านออกเสียงได้ว่า มกโซแต่ในวิถีชีวิตจริง เมื่อคนพม่าพูดถึงนายพราน จะออกเสียงว่า มูเซเมื่อคนไทใหญ่เรียกชื่อชนกลุ่มนี้ตามอย่างคนพม่า จึงอาจจะออกเสียงเป็น มูเซอ" Authony R.walker นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ได้กล่าวถึงบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับลาหู่ไว้ว่า (โปรดดู สมาคม IMPECT (2545), โสฬส (2539))

     ก่อนคริสตศตวรรษที่ 19 ลาหู่เคยเร่ร่อนมาก่อน ต่อมาจีนได้ให้อำนาจการปกครองตนเองแก่ลาหู่ โดยให้หัวหน้ากลุ่มเป็นผู้รับสาส์นตราตั้งจากพระเจ้าจักรพรรดิ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ลาหู่ยังคงยอมอยู่ใต้อำนาจการปกครองของจักรพรรดิ แต่ภายหลังจากที่จีนได้เปลี่ยนแปลงการปก ครอง จีนได้ส่งเจ้าหน้าที่ทางทหารเข้าไปปกครองท้องถิ่น รวมทั้งดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนในแถบมณฑลยูนนาน อันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวลาหู่ส่วนใหญ่ (ศาสตราจารย์ต้วน ลี เชิง นักมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้ให้ข้อมูลเพิ่มไว้ว่า ในปี 2525 มีลาหู่ 320,000 คน อยู่ในเขตอำเภอล้านช้างถึง 154,000 คน ฉะนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่า ชุมชนใหญ่ของลาหู่อยู่ที่อำเภอล้านช้าง ในแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน) ทำให้ชาวลาหู่ส่วนหนึ่งเกิดความไม่พอใจ พากันกระด้างกระเดื่องต่ออำนาจการปกครองของจีน

      ในที่สุดผู้นำทางศาสนาคนหนึ่งได้รวบรวมศาสนิกตั้งตัวขึ้นเป็นขบถ จับอาวุธขึ้นต่อสู้ และมีการบันทึกไว้ว่า (โสฬส, 2539) ชาวลาหู่พร้อมด้วยอาวุธซึ่งประกอบด้วยหน้าไม้และลูกธนูอาบยาพิษ ได้ทำการต่อต้านทหารจีนอย่างเข้มแข็ง แต่ในที่สุดก็ไม่สำเร็จ ลาหู่ส่วนใหญ่จำยอมอยู่ภายใต้อาณัติของจีน ยอมรับอำนาจการปกครองของจีนและยอมผสมผสานกับวัฒนธรรมจีนที่แผ่ขยายเข้ามาพร้อมกับอำนาจทางการเมืองจนกลายเป็นชาวจีน 
      แต่ก็ยังมีลาหู่อีกส่วนหนึ่งที่ปฏิเสธการครอบงำทางวัฒนธรรม และไม่ยอมถูกกดขี่ก็พากันอพยพลงมาทางใต้ของประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่ในมณฑลยูนนาน ลงไปถึงแคว้นเชียงตุงของพม่า    ในปี 2525 มีตัวเลขแสดงให้เห็นว่ามีจำนวนชาวลาหู่อยู่ถึง 474,000 คน (สมาคม IMPECT, 2545)


       ต่อมาเมื่อลาหู่ทนต่อการปกครองของทหารจีนไม่ไหว กลุ่มหนึ่งได้หนีอพยพลงมาอยู่ในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า ขณะที่มีการอพยพนั้นเขตเชียงตุงอยู่ในอำนาจการปกครองของอังกฤษ Walker ได้อ้างรายงานของร้อยเอก Mc Leod นายทหารฝ่ายข่าวกรองของอังกฤษ ซึ่งได้บันทึกไว้เมื่อปี ค.ศ. 1837 เกี่ยวกับลาหู่ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มที่อพยพมาจากจีนว่า (โสฬส, 2539) ลาหู่รับเอาวัฒนธรรมการปกครองจากชาวไทใหญ่ในรัฐฉาน โดยเรียกผู้นำที่มีฐานะทางสังคมสูงว่า พญา”  (Pha-ya)
เมื่อชาวลาหู่เข้ามาอยู่ในเขตเชียงตุง ประเทศพม่า ก็พบกับปัญหาสำคัญอีกหลายประการ โดยเฉพาะกับความพยายามของกลุ่มหมอสอนศาสนาชาวอังกฤษ ซึ่งพยายามโน้มน้าวให้ลาหู่ละทิ้งขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมแล้วหันไปนับถือศาสนาคริสต์ 

             ชาวลาหู่ซึ่งมีความศรัทธาต่อศาสนาดั้งเดิม ไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงเกิดการรวมกลุ่มขึ้น โดยมีผู้นำศาสนาดั้งเดิมคนหนึ่งชื่อ มะแฮได้ตั้งตนขึ้นเป็นผู้วิเศษ เพื่อรวบรวมบริวารต่อต้านการครอบงำจิตสำนึกของฝ่ายคริสตจักรอังกฤษ ซึ่งทำให้ชาวลาหู่จากที่ต่างๆ เดินทางไปแสวงบุญและมอบตัวเป็นบริวารกับปู่จองมะแฮเป็นจำนวนมาก จึงคิดวางแผนยึดเอาเมืองสาต (Hsat) เพื่อตั้งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรลาหู่ขึ้น ในที่สุดฝ่ายอังกฤษซึ่งปกครองพม่าอยู่ก็ต้องส่งกำลังเข้าปราบปราม แต่ฝ่ายของปู่จองมะแฮก็เตรียมรับมืออย่างแข็งขันด้วยการขุดคู ปักไม้ไผ่เสี้ยมปลายแหลมไว้รอบ ๆ ที่มั่น และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บริวารด้วยการแจกเทียนศักดิ์สิทธิ์ซึ่งปู่จองมะแฮอ้างว่า เป็นตัวแทนแห่งอำนาจของพระเจ้าที่จะช่วยปกป้องบริวารมิให้ได้รับอันตรายจากอาวุธของฝ่ายตรงกันข้าม 

ชนเผ่าพื้นเมือง มาชโค ปิโร [Mashco Piro] ในประเทศเปรู

ชนเผ่าพื้นเมือง มาชโค ปิโร [Mashco-Piro] อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติมานู ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเปรู ภาพถ่ายที่ปรากฏเห็นอยู่นี้ เป็นฝีมือของนักโบราณคดีที่ถ่ายได้ใกล้ชิดที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์

ชนเผ่าพื้นเมือง “มาชโค ปิโร” เป็นชนเผ่าที่แทบจะไม่ติดต่อกับโลกภายนอก พูดอีกแนวหนึ่งก็คือ ตัดขาดจากโลกภายนอกอย่างที่มนุษย์เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยที่ชนเผ่าพื้นเมืองนี้ยังคงใช้ชีวิตตามวิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมที่บรรพบุรุษสืบต่อกันมา การแต่งกายยังคงใช้วัสดุที่ทำจากไม้หรือฟันของสัตว์ ยิ่งไปกว่านั้น การสื่อสารกันและกันยังใช้สัญญาณบอกรหัส (Code)

ทั้งนี้จากภาพที่บันทึกได้ล่าสุด พบว่า ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างสวมเชือกวงกลมไว้ที่ข้อมือ หัวเข่าและศอก ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขนย้ายสิ่งของ ขณะที่ผู้หญิงจะสวมกระโปรงที่ทำจากเส้นใยของเปลือกไม้

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือน พฤศจิกายน ปีที่แล้ว [น่าจะปี 2554] นิโคลัส ชาโค ฟลอเรส [Nicolás ‘Shaco’ Flores] นักโบราณคดี ซึ่งสามารถสื่อสารกับชนเผ่านี้ได้ ถูกธนูยิงปักอกเสียชีวิต หลังจากพยายามเข้าไปศึกษาชีวิตของชนเผ่า คาดกันว่า เป็นเพราะเขาถืออาวุธขนาดใหญ่และหม้อ เข้าไปด้วย จึงเกิดการแย่งชิงจากชนเผ่า เพราะของ ทั้ง 2 สิ่งนั้น ถือเป็นสิ่งมีค่าของชนเผ่านี้ และการเสียชีวิตของเขาทำให้การศึกษาความเป็นอยู่ของชนเผ่านี้ยากลำบากมาขึ้นไปอีก





ที่มา mthai